4. AC การวัดเส้นรอบท้อง (Abdominal Circumference)
สามารถนำมาใช้เพื่อประเมินอายุครรภ์ได้ดีพอสมควร แต่เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะโภชนาการของทารกได้จึงทำให้การทำนายอายุครรภ์คลาดเคลื่อนได้มากกว่าตัววัดอื่นๆ ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงนิยมนำมาใช้เพื่อประเมินการเจริญเติบโตและประเมินน้ำหนักทารกในครรภ์มากกว่าใช้เพื่อทำนายอายุครรภ์
ความถูกต้องแม่นยำ
การวัดเส้นรอบท้องเป็นการวัดที่มีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด เนื่องจากเทคนิคการวัดให้ได้ภาพที่ดีทำได้ยาก บางครั้งรูปร่างของท้องไม่กลม หรือบิดเบี้ยวไปจากการมีแขนขาทารกกดหน้าท้อง การใช้หัวตรวจกดหน้าท้องมารดาแรงเกินไป หรือวางหัวตรวจเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง เป็นต้น นอกจากนี้หากทารกอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม เช่น ทารกนอนคว่ำ ตำแหน่งของกระดูกไขสันหลังอยู่ที่ 12 นาฬิกา จะทำให้เกิดเงาดำ (acoustic shadow) บดบังอวัยวะภายในทำให้มองไม่เห็นลักษณะสำคัญต่างๆ ดังกล่าว
ทั้งนี้การวัดเส้นรอบท้อง อาจนำมาใช้ในการประเมินอายุครรภ์ได้ไม่ดีนัก แต่สามารถนำมาใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตและน้ำหนักของทารกในครรภ์ได้ดีเนื่องจากขนาดเส้นรอบท้องมีความสัมพันธ์โดยตรงกับขนาดตัวของทารก
5. FL การวัดความยาวกระดูกต้นขา (Femur Length)
กระดูกท่อนยาวทุกท่อนสามารถนำมาใช้เพื่อทำนายอายุครรภ์ได้ แต่กระดูกต้นขาเป็นกระดูกที่นิยมวัดเพื่อใช้ประเมินอายุครรภ์มากที่สุด
ความถูกต้องแม่นยำ
ความคลาดเคลื่อนในช่วงครึ่งแรกของการตั้งครรภ์เท่ากับ 1 – 2 สัปดาห์ และความคลาดเคลื่อนในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์เท่ากับ 2 – 3 สัปดาห์ แต่ในบางการศึกษาพบความคลาดเคลื่อน 2 – 3 สัปดาห์ตลอดทุกอายุครรภ์
ความคลาดเคลื่อนจากการวัดความยาวของกระดูกต้นขาอาจเกิดจากหัวตรวจที่วัดไม่ตั้งฉากกับแนวยาวของกระดูกต้นขา ทำให้ค่าที่ได้สั้นกว่าความเป็นจริง นอกจากนี้เชื้อชาติยังมีผลต่อค่าความยาวของกระดูกต้นขา ในคนไทยพบว่า FL สั้นกว่าชาวตะวันตกในทุกอายุครรภ์(14)
6. AFI การวัดน้ำคร่ำ (Amniotic Fluid Index)
คือการประเมินน้ำคร่ำในเชิงปริมาณ แตกต่างจากการประเมินด้วยความรู้สึก (subjective) หรือการใช้ประสบการณ์ของผู้ตรวจประเมินว่ามีน้ำคร่ำมาก น้อยหรือปกติ ซึ่งใช้เวลาน้อยแต่ต้องอาศัยทักษะและมีความแปรปรวนระหว่างบุคคลมาก และเมื่อรู้สึกว่าน้ำคร่ำผิดปกติต้องตรวจยืนยันด้วยการวัดน้ำคร่ำในเชิงปริมาณต่อไป
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : น้ำคร่ำน้อย อันตรายไหม
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีสังเกต! น้ำคร่ำแตก หรือ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่?
7. EFW การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ (Estimated Fetal Weight)
การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ใช้การวัดสัดส่วนต่างๆ ของทารกมาคำนวณ โดยมีสูตรที่ใช้ตัววัดหลายตัวร่วมกันดังต่อไปนี้
AC
AC, BPD
AC, HC
AC, FL
AC, BPD, FL
AC, HC, BPD, FL
โดยสามารถนำมาคำนวณโดยใช้สูตรที่มีในเครื่องตรวจอัลตร้าซาวด์ทั่วไป หรือใช้ตารางค่ามาตรฐานในการเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่าทุกสูตรจะใช้ค่าเส้นรอบท้องเป็นพื้นฐานในการคำนวณร่วมกับตัววัดมาตรฐานอื่นๆ ความแม่นยำในการคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์จึงขึ้นอยู่กับการวัดสัดส่วนทารกที่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดเส้นรอบท้อง, การวัดความกว้างของศีรษะ และการวัดเส้นรอบศีรษะ จะมีผลอย่างมากในการคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์
การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์มักจะทำนายน้ำหนักได้มากกว่าความเป็นจริงในกรณีทารกตัวโตกว่าอายุครรภ์ แต่ในกรณีทารกตัวเล็กหรือมีภาวะน้ำคร่ำเดินก่อนกำหนดมักจะทำนายน้ำหนักได้น้อยกว่าความเป็นจริง ปัจจัยหลักที่มีผลต่อความแม่นยำในการทำนายน้ำหนักทารกในครรภ์มีดังต่อไปนี้คือ
- ความผิดพลาดในการประเมินอายุครรภ์
- ความผิดพลาดในการวัด
ขีดจำกัดในการประเมินความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทารก (fetal density) อันเนื่องมาจากความหนาแน่นของเนื้อเยื่อทารกนี้จะมีค่าระหว่าง 0.8333 – 1.012 g/ml ทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำนายน้ำหนักทารกในครรภ์เนื่องจากความแตกต่างในความหนาแน่นดังกล่าวนี้ได้ถึง 8% – 21%
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ทารกในครรภ์เติบโตช้า ภาวะน่าเป็นห่วง
อ่านต่อ >> “ความหมายตัวย่ออักษร ต่างๆ บนผลอัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่