8. LMP วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย (Last Menstrual Period)
ประจำเดือนครั้งสุดท้าย หมายถึง อายุของลูกน้อยในครรภ์ ในสาขาวิชาคัพภวิทยาหรือวิชาที่ว่าด้วยการพัฒนาของตัวอ่อน จะเริ่มนับอายุของตัวอ่อนจากการปฏิสนธิ แต่ในสาขาวิชาสูติศาสตร์จะใช้วิธีการนับจากเวลา 14 วันก่อนการปฏิสนธิ หรือเวลาที่ปกติแล้วจะต้องมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (LMP) ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีที่สองในการนับอายุครรภ์เพราะว่ามักจะไม่รู้ เวลาของการปฏิสนธิที่แน่นอน
9. EDD หรือ EDC วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ (Expected date of delivery)
เมื่อไปตรวจครรภ์ คุณหมอจะแจ้งให้คุณแม่ท้องทราบว่าตอนนี้อายุครรภ์ของตัวเองนั้นกี่สัปดาห์แล้ว โดยจะมีการนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์และเศษของสัปดาห์เป็นวัน เช่น 4 สัปดาห์ 2 วัน ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ท้องนั่นเอง
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ตั้งครรภ์เกินกำหนด อย่าชะล่าใจ นั่นหมายถึง ครรภ์เสี่ยงสูง
หลังจากที่คุณหมอทราบข้อมูลในเบื้องต้นเกี่ยวกับประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่แล้ว คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ด้วยการคำนวณวันกำหนดคลอด หรือที่เรียกว่า Expected date of delivery = EDD หรือ Expected date of conifinement = EDC การคาดคะเนวันกำหนดคลอด คือ เอาวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย บวก 7 วัน ลบด้วย 3 เดือน ก็จะเป็นวันกำหนดคลอด เช่น ถ้าประจำเดือนครั้งสุดท้าย คือ วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 กำหนดคลอด จะเป็น 17 เมษายน 2559 ซึ่งคุณหมอจะมีการนับอายุครรภ์ให้คุณแม่ท้องได้ใน 2 ลักษณะ คือ
- วิธีนับอายุครรภ์จากประจำเดือนจะมากกว่าอายุของตัวอ่อนในครรภ์จริงๆ (Ovulatory Age) ประมาณ 2 สัปดาห์ สำหรับคุณแม่ท้องที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุก 28 วัน
- วิธีนับอายุครรภ์จากประจำเดือนที่มาไม่สม่ำเสมอ คือมีรอบเดือนนานกว่า 28 วันหรือในกรณีที่คุณแม่ท้องจำประจำเดือนครั้งสุดท้ายของตัวเองไม่ได้ คุณหมอก็จะนับอายุครรภ์ให้ด้วยการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) เพื่อวัดขนาดของถุงการตั้งครรภ์ หรือความยาวทารก แล้วคำนวณเป็นอายุครรภ์
ซึ่งสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ทั้งกับคุณหมอ และก็ตัวของคุณแม่ท้องเอง นั่นก็คือ การจดทุกรายละเอียดของการมีรอบเดือนในแต่ละครั้ง คือเริ่มมีวันไหนของเดือน มีรอบเดือนแต่ละครั้งกี่วัน และรอบเดือนมาวันสุดท้ายคือวันไหน เพราะข้อมูลที่ได้เหล่านี้จำเป็นต่อการที่คุณหมอจะใช้ในการนับอายุครรภ์นั่นเอง
10. GA การคำนวณอายุครรภ์
GA ย่อมาจาก Gestational age หมายถึงอายุครรภ์ ซึ่งในการคำนวณอายุครรภ์จากการวัดสัดส่วนทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงจะมีความแม่นยำมากในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และจะมีความคลาดเคลื่อนสูงมากขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ ดังนั้นหากไม่แน่ใจในอายุครรภ์ควรตรวจวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวัดความยาวของทารกในไตรมาสแรกซึ่งมีความแม่นยำในการคำนวณอายุครรภ์มากที่สุด
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วิธีนับอายุครรภ์ ที่ถูกต้องแม่นยำ ที่แม่ท้องควรรู้!
การเลือกใช้ตัววัดแต่ละตัวในการคำนวณอายุครรภ์มีความสำคัญ เนื่องจากตัววัดแต่ละตัวมีความถูกต้องแม่นยำในการคำนวณอายุครรภ์แต่ละช่วงแตกต่างกันไป
การคำนวณอายุครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ขึ้นไปควรประเมินจากตัววัดหลายตัวจะมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการประเมินจากตัววัดตัวเดียว แต่ตัววัดแต่ละตัวที่นำมาใช้ร่วมกันนั้นต้องมีความถูกต้องในด้านเทคนิคของการวัดและไม่ถูกกระทบจากความผิดปกติของทารก เช่นการนำค่าเส้นรอบท้องมาใช้ทำนายอายุครรภ์ในกรณีทารกตัวโตผิดปกติหรือมีภาวะโตช้าในครรภ์, การนำค่าความยาวกระดูกต้นขามาใช้คำนวณอายุครรภ์ในกรณีทารกเป็นโรค skeletal dysplasia หรือการนำค่าความกว้างศีรษะทารกและค่าเส้นรอบศีรษะทารกมาใช้คำนวณอายุครรภ์ในกรณีทารกมีภาวะ hydrocephalus จะทำให้การคำนวณอายุครรภ์ผิดพลาดได้
การคำนวณอายุครรภ์จากการวัดสัดส่วนทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น หากทราบอายุครรภ์จากการปฏิสนธิแน่นอนควรนับอายุครรภ์ตามนั้นไม่ควรเปลี่ยนแปลงอายุครรภ์ไปตามการวัดสัดส่วนทารกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง และหากเคยได้รับการคำนวณอายุครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์มาเป็นอย่างดีแล้ว ควรนับอายุครรภ์ตามนั้นไม่ควรเปลี่ยนแปลงอายุครรภ์ไปตามการวัดทางคลื่นเสียงความถี่สูงในครั้งต่อๆ มา เนื่องจากความคลาดเคลื่อนจากเทคนิคการวัดมีมากขึ้นและได้รับผลกระทบจากการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
ซึ่งทั้งหมดนี้ จากผลการอัลตร้าซาวด์ ในแต่ละครั้งโดยรวมแล้ว คุณหมอผู้ที่ทำการอัลตร้าซาวด์จะต้องอธิบายเพิ่มเติมด้วยอยู่แล้วในขณะตรวจค่ะ หากคุณแม่ท้องสงสัยอะไรก็สามารถสอบถามคุณหมอได้เลย ณ ขณะนั้น แต่หากกลับมาบ้านนั่งดูผลแล้วยังสงสัยหรือจำไม่ได้ว่าภาพนี้คุณหมอตรวจอะไรลูกในท้องของเราไปบ้าง ก็สามารถเช็กความหมาย คำอธิบาย ตามข้อมูลข้างต้นได้เลยนะคะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- ค่าใช้จ่ายอัลตร้าซาวด์สี่มิติ 20 โรงพยาบาลดังในกรุงเทพ
- ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงตอนคลอด ต้องจ่ายเท่าไร?
- Ultrasound ไตรมาส 1 / Ultrasound ไตรมาส 2 / Ultrasound ไตรมาส 3
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.medicine.cmu.ac.th
เอกสารอ้างอิง
Robinson HP, Fleming JE. A critical evaluation of sonar “crown-rump length” measurements. Br J Obstet Gynaecol 1975; 82: 702-10.
Hadlock FP, Harrist RB, Martinez-Poyer J. How accurate is second trimester fetal dating? J Ultrasound Med 1991; 10: 557-61.
Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal biparietal diameter: rational choice of plane of section for sonographic measurement. AJR Am J Roentgenol 1982; 138: 871-4.
Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal biparietal diameter: a critical re-evaluation of the relation to menstrual age by means of real-time ultrasound. J Ultrasound Med 1982; 1: 97-104.
Benson CB, Doubilet PM. Sonographic prediction of gestational age: accuracy of second- and third-trimester fetal measurements. AJR Am J Roentgenol 1991; 157: 1275-7.
Hadlock FP, Deter RL, Carpenter RJ, Park SK. Estimating fetal age: effect of head shape on BPD. AJR Am J Roentgenol 1981; 137: 83-5.
Jeanty P, Cousaert E, Hobbins JC, Tack B, Bracken M, Cantraine F. A longitudinal study of fetal head biometry. Am J Perinatol 1984; 1: 118-28.
Doubilet PM, Greenes RA. Improved prediction of gestational age from fetal head measurements. AJR Am J Roentgenol 1984; 142: 797-800.
Chitty LS, Altman DG, Henderson A, Campbell S. Charts of fetal size: 2. Head measurements. Br J Obstet Gynaecol 1994; 101: 35-43.
Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal head circumference: relation to menstrual age. AJR Am J Roentgenol 1982; 138: 649-53.
Hadlock FP, Deter RL, Harrist RB, Park SK. Fetal abdominal circumference as a predictor of menstrual age. AJR Am J Roentgenol 1982; 139: 367-70.
Hadlock FP, Harrist RB, Deter RL, Park SK. Fetal femur length as a predictor of menstrual age: sonographically measured. AJR Am J Roentgenol 1982; 138: 875-8.
Jeanty P, Rodesch F, Delbeke D, Dumont JE. Estimation of gestational age from measurements of fetal long bones. J Ultrasound Med 1984; 3: 75-9.
Tongsong T, Wanapirak C, Takapijitr A. Ultrasound fetal femur length in normal pregnant Thai women. Thai J Obstet Gynaecol 1991; 3: 79-83.
Manning FA. Dynamic ultrasound-based fetal assessment: the fetal biophysical profile score. Clin Obstet Gynecol 1995; 38: 26-44.
Hill LM, Breckle R, Thomas ML, Fries JK. Polyhydramnios: ultrasonically detected prevalence and neonatal outcome. Obstet Gynecol 1987; 69: 21-5.
Magann EF, Sanderson M, Martin JN, Chauhan S. The amniotic fluid index, single deepest pocket, and two-diameter pocket in normal human pregnancy. Am J Obstet Gynecol 2000; 182: 1581-8.
Phelan JP, Park YW, Ahn MO, Rutherford SE. Polyhydramnios and perinatal outcome. J Perinatol 1990; 10: 347-50.
Magann EF, Doherty DA, Chauhan SP, Busch FW, Mecacci F, Morrison JC. How well do the amniotic fluid index and single deepest pocket indices (below the 3rd and 5th and above the 95th and 97th percentiles) predict oligohydramnios and hydramnios? Am J Obstet Gynecol 2004; 190: 164-9.
Chau AC, Kjos SL, Kovacs BW. Ultrasonographic measurement of amniotic fluid volume in normal diamniotic twin pregnancies. Am J Obstet Gynecol 1996; 174: 1003-7.
Porter TF, Dildy GA, Blanchard JR, Kochenour NK, Clark SL. Normal values for amniotic fluid index during uncomplicated twin pregnancy. Obstet Gynecol 1996; 87: 699-702.
Hill LM, Krohn M, Lazebnik N, Tush B, Boyles D, Ursiny JJ. The amniotic fluid index in normal twin pregnancies. Am J Obstet Gynecol 2000; 182: 950-4.
Jeanty P. Fetal biometry. 6th ed. Fleischer A, Manning FA, Jeanty P, Romero R, editors. Stamford: McGraw-Hill; 2001.
Ben-Haroush A, Yogev Y, Bar J, Mashiach R, Kaplan B, Hod M, et al. Accuracy of sonographically estimated fetal weight in 840 women with different pregnancy complications prior to induction of labor. Ultrasound Obstet Gynecol 2004; 23: 172-6.
Thompson TR, Manning FA. Estimation of volume and weight of the perinate: relationship to morphometric measurement by ultrasonography. J Ultrasound Med 1983; 2: 113-6.
Manning FA. Intrauterine Growth Retardation-Etiology, Petrophysiology, Diagnosis, and Treatment. Stamford, Conn: Appleton and Lang; 1995.
Tongsong T, Piyamongkol W, Sreshthaputra O. Accuracy of ultrasonic fetal weight estimation: a comparison of three equations employed for estimating fetal weight. J Med Assoc Thai 1994; 77: 373-7.
Hadlock FP, Harrist RB, Sharman RS, Deter RL, Park SK. Estimation of fetal weight with the use of head, body, and femur measurements–a prospective study. Am J Obstet Gynecol 1985; 151: 333-7.