ภาวะน้ำคร่ำอุดตัน มีอาการอย่างไร
อาการผู้ป่วยจะแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยจะเริ่มจากระยะที่ 1 คือ ระยะภาวะไหลเวียนโลหิตล้มเหลว (Hemodynamic collapse) ระยะนี้คุณแม่จะเริ่มหายใจลำบาก เจ็บอก หนาวสั่น ปวดศีรษะ มีอาการตื่นตระหนก ปวดและชาตามปลายนิ้ว คลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้นาน 4 ชั่วโมง จากนั้นจะมีอาการชัก หัวใจและปอดหยุดทำงานทันที
ต่อมาในระยะที่ 2 จะมีภาวะการแข็งตัวของก้อนเลือดเล็กๆ กระจายทั่วร่างกาย ตามมาด้วยภาวะตกเลือดหลังคลอด และเสียชีวิตในที่สุด บางรายอาจจะไม่มีภาวะหายใจลำบาก หรือภาวะช็อกมาก่อน แต่จะมีภาวะเลือดไม่แข็งตัวอย่างรุนแรงเป็นภาวะหลักก็เป็นได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ภาวะน้ำคร่ำอุดตัน มีโอกาสเกิดมากน้อยแค่ไหน
โรคนี้มีอัตราการเกิด 1 ใน 8,000 – 30,000 ราย โดยคนไทยคลอดปีละกว่าเจ็ดแสนคน (เฉลี่ยวันละสองพันคน) จะเกิดโรคนี้ ปีละ 26-100 คน หรือ ราว 2-8 คนต่อเดือน และ แม้ว่าจะอยู่ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือครบถ้วน เช่น โรงเรียนแพทย์ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ทั้งที่มีหมอล้อมรอบเตียงคนไข้ และรักษาอย่างเต็มที่ท่ามกลางยาเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ช่วยชีวิตครบถ้วนก็ตาม
จากสถิติชี้ว่า แม่ 6 ใน 10 รายจะเสียชีวิต
3 ใน 10 รายพิการทางสมอง หรือเป็นเจ้าหญิงนิทรา
และมี 1 จาก10 รายเท่านั้น ที่รอดเป็นปกติ