พอได้ยินคำว่า น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตก ฟังดูน่ากลัวไม่น้อยสำหรับคุณแม่ท้องมือใหม่ เพราะนึกภาพไว้ว่าคงจะแตกเหมือนลูกโป่งที่บรรจุน้ำไว้เต็มแล้วแตกดังโพละ แต่ความจริงนั้น น้ำคร่ำแตก อย่างไร แบบไหน เราจะไขข้อสงสัยให้ค่ะ
น้ำเดิน น้ำคร่ำแตก อาการเป็นแบบไหน? และควรทำอย่างไร!!
คุณแม่ท้องเคยเห็นฉาก น้ำคร่ำแตก ในหนังกันไหมคะ ในหนังในละครมักจะทำให้ฉากนี้ดูตื่นเต้น และวุ่นวายไปหมด มีน้ำไหลนองเจิ่งพื้นดูน่ากลัว พร้อมเพลงประกอบแบบหนังสยองขวัญ แต่ในความเป็นจริงนั้นกลับตรงกันข้ามเลย เรามาดูกันว่า เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์น้ำคร่ำแตก จะเป็นอย่างไร และควรจะปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง
มีอะไรในน้ำคร่ำ
น้ำคร่ำ คือน้ำที่อยู่ล้อมรอบตัวลูกน้อยในครรภ์ เป็นน้ำที่บรรจุอยู่ในถุงน้ำคร่ำ โดยองค์ประกอบที่สำคัญของน้ำคร่ำก็คือ น้ำ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 98% และส่วนที่เป็นของแข็งประกอบด้วยสารต่างๆ ประมาณ 2% ซึ่งรวมทั้งขี้ไคลและปัสสาวะของลูกน้อยในครรภ์ และในระหว่างการตั้งครรภ์น้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวลูกนี้จะสร้างเพิ่มขึ้นมาทีละน้อย โดยมีปริมาณดังนี้
- ตั้งครรภ์ 3 เดือน จะมีน้ำคร่ำประมาณ 50-80 มิลลิลิตร
- ตั้งครรภ์ 4 เดือน จะมีน้ำคร่ำประมาณ 150-200 มิลลิลิตร
- เมื่อใกล้คลอดจะมีปริมาณน้ำคร่ำถึงประมาณ 1 ลิตร
- น้ำคร่ำที่มากหรือน้อยเกินไป สามารถเป็นตัวบ่งชี้ว่าลูกในท้องอาจมีความพิการหรือการเจริญเติบโตที่ผิดปกติหรือพิการได้
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่