น้ำเดิน

น้ำเดิน หรือ น้ำคร่ำแตก อาการเป็นแบบไหน? และควรทำอย่างไร!!

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำเดิน
น้ำเดิน

เมื่อ คุณแม่ ตั้งท้อง น้ำคร่ำไหล !!

6. เวลาที่ น้ำเดิน น้ำคร่ำแตก น้ำคร่ำจะค่อยๆ ไหลออกมาช้าๆ ดังนั้นคุณแม่จึงมีเวลาในการเตรียมตัวไปโรงพยาบาล เพราะอาการเจ็บท้องคลอดมักจะยังไม่เกิดขึ้นทันที แต่จะเกิดขึ้นหลังจากน้ำคร่ำแตกประมาณ 12-24 ชั่วโมง แต่หากเลยกว่านี้อาจจะเกิดการติดเชื้อได้ แพทย์จึงมักกระตุ้นให้คลอดภายใน 24 ชั่วโมงค่ะ

เมื่อน้ำเดิน น้ำคร่ำแตก ต้องเตรียมตัวไปโรงพยาบาล

7. ใส่ผ้าอนามัย ป้องกันน้ำคร่ำเลอะเทอะได้ระหว่างเตรียมตัวไปโรงพยาบาล หากกลัวว่าน้ำคร่ำจะไหลเลอะเทอะ ให้คุณแม่ทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยการเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง และใส่ผ้าอนามัย (ห้ามใช้แบบสอด) ก็จะช่วยป้องกันการเลอะเทอะได้

8. หมั่นสังเกตสีของน้ำคร่ำ คุณแม่ควรหมั่นสังเกตสีของน้ำคร่ำที่ออกมาด้วย เพื่อจะได้พบความผิดปกติต่างๆ โดยหากสังเกตว่าน้ำคร่ำมีสีที่ผิดปกติ เช่น มีสีเขียวหรือสีน้ำตาล เรียกว่า น้ำคร่ำขี้เทา แสดงว่าลูกในท้องได้มีการขับถ่ายกากอาหารออกมา ให้รีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงว่าลูกน้อยอาจสำลักน้ำคร่ำจนเป็นอันตรายได้

9. เช็กว่ามีสายสะดือออกมาหรือไม่อีกข้อสังเกตหนึ่งที่คุณแม่ควรสังเกตหลังน้ำคร่ำแตก คือมีสายสะดือออกมาจากช่องคลอดหรือไม่ หากเห็นว่ามีควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนค่ะ

น้ำเดิน น้ำคร่ำแตก เพราะถึงกำหนดคลอด

คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะรู้วันกำหนดคลอดจากแพทย์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้คลอดวันนั้นเป๊ะๆ บางคนอาจคลอดก่อน หรือหลายคนคลอดหลังจากกำหนดไปหลายวัน มีคุณแม่ท้องกว่าครึ่งหนึ่งที่คลอดหลังจาก 40 สัปดาห์ แต่คุณหมอมักไม่ปล่อยให้เลยไปเกิน 42 สัปดาห์ ดังนั้นเมื่อกลไกธรรมชาติได้เริ่มทำงาน มีน้ำคร่ำไหลออกมา แสดงว่าเจ้าหนูน้อยอยากจะออกมาให้คุณแม่กอดแล้วล่ะค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

17 ผลไม้คลายร้อน ลูกน้อยกินได้ แม่ท้องกินดี

คุณแม่ท้องห้ามกินอะไรบ้าง?

ทำนายเพศลูก ตำราจีน แม่นหรือไม่? แม่ท้องต้องลอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up