วิธีเพิ่มน้ำนม 5 STEPS! เรียกน้ำนมเพื่อลูกน้อย - amarinbabyandkids
น้ำนมไหลมาเทมา

วิธีเพิ่มน้ำนม 5 STEPS! เรียกน้ำนมง่ายๆ เพื่อลูกน้อย

event
น้ำนมไหลมาเทมา
น้ำนมไหลมาเทมา

วิธีเพิ่มน้ำนม

STEP 3 : สร้างสัญชาตญาณแม่ลูกตั้งแต่แรกคลอด

สัญชาตญาณตามธรรมชาติของเด็กแรกคลอด หากตัดสายสะดือแล้วคุณแม่นำลูกมาประคองวางไว้ที่หน้าท้องคุณแม่ ลูกน้อยจะสามารถค่อย ๆ ขยับ ค่อย ๆ เคลื่อนตัวตามกลิ่นมาหานมของคุณแม่ได้เอง แม้เด็กสายตาแรกคลอดจะสั้น เห็นชัดเพียงครึ่งฟุต และเห็นชัดเพียงสีขาวดำ แต่ฮอร์โมนตามธรรมชาติของคุณแม่ก็ปรับสีของหัวนมแม่ให้เข้มขึ้นไว้สำหรับลูกน้อยแล้ว นอกจากนี้หัวนมของคุณแม่ยังมีต่อมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นต่อมไขมันพิเศษที่มีทั้งกลิ่นน้ำคร่ำของคุณแม่ และคอยเพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ให้หัวนมแห้งผากเมื่อถูกน้ำลายลูกน้อยบ่อย ๆ ด้วย เมื่อธรรมชาติสร้างทุกอย่างไว้ให้สำหรับมนุษย์แม่อย่างเรา เพราะฉะนั้นหากคุณแม่คลอดตามธรรมชาติ ไม่ถูกฉีดยาชาหรือยาสลบ คุณหมอแนะนำให้ปล่อยลูกน้อยไว้บนท้องแม่ตามธรรมชาติ แล้วเขาจะสามารถเคลื่อนตัวมาหาหัวนมคุณแม่ได้เองภายใน 60 นาที

และหากลูกน้อยไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ต้องถูกแยกไประวังรักษา คุณแม่ก็สามารถกระตุ้นให้เขาเข้าเต้ากินนมทุก 1-3 ชั่วโมงได้ เพียงเท่านี้ลูกน้อยก็จะได้รับน้ำนมที่มีคุณค่าทางสารอาหารกว่า 200 ชนิดจากคุณแม่ตั้งแต่แรกคลอด โดยเฉพาะน้ำนมช่วงแรก ๆ ของคุณแม่จะเป็น “นมน้ำเหลือง” ที่มีความข้นและหนืดมาก ซึ่งมีภูมิคุ้มกันสูงเทียบเท่าวัคซีนถึง 3,000 เข็ม เป็นแหล่งจุลินทรีย์ชั้นดีที่จะเข้าไปอยู่ในลำไส้ของลูกน้อย และช่วยให้เขาสุขภาพแข็งแรงได้ในระยะยาว คุณหมอฝากเน้นย้ำมาว่าคุณแม่ไม่ควรพลาดเด็ดขาด ต้องให้ลูกดูดน้ำนมแรกให้ได้ ข้างละ 10-20 นาที คุณแม่บางคนอาจแย้งว่า เราใช้เครื่องปั๊มน้ำนมไปให้ลูกก็ได้ แต่คุณหมอฝากเตือนว่า นมน้ำเหลืองใช้เครื่องปั๊มไม่ออก เพราะมีความข้นและหนืดสูงมาก เครื่องปั๊มยังสู้แรงและวิธีการดูดนมตามธรรมชาติของลูกไม่ได้ แต่หากคุณแม่มีความจำเป็น เช่น ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด หรือมีอาการผิดปกติที่คุณหมอต้องแยกลูกน้อยไปดูแลรักษาทันที ขอให้ลองบีบนมน้ำเหลืองฝากพยาบาลไปป้ายปากลูกน้อย เขาก็จะได้ภูมิคุ้มกันนี้ไปด้วยเช่นกัน

♥ บทความแนะนำน่าอ่านสัญชาตญาณการดูดนมแม่ของทารก

√ เลือกโรงพยาบาลก็สำคัญ !

โรงพยาบาลที่มีนโยบายสนับสนุนการให้นมแม่มีส่วนช่วยกระตุ้นให้คุณแม่ให้นมลูกเองได้มาก แต่บางครั้งคุณแม่ก็อาจเลือกโรงพยาบาลเองไม่ได้ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ข้อแนะนำคือควรเลือกโรงพยาบาลใกล้บ้านดีที่สุด และลองศึกษาข้อมูลดูว่าโรงพยาบาลนั้นมีนโยบายเรื่องนมแม่อย่างไร แล้วค่อยพูดคุยกับทีมแพทย์ว่า หลังคลอดอยากให้ลูกเข้าเต้าเลย ไม่เอานมผง โรงพยาบาลหลายๆ แห่ง พยาบาลไม่มีเวลามาช่วยส่งลูกเข้าเต้าให้เราบ่อย คุณแม่ก็ต้องเดินไปที่เนิร์สเซอร์รี่เอง ในต่างประเทศจะนิยมทำแผนการคลอดหรือที่รู้จักกันว่า Birth Plan คุณแม่จะวางแผนว่าจะคลอดอย่างไร ใช้ยาระหว่างคลอดหรือไม่ หลังคลอดเสร็จแล้วจะให้ลูกเข้าเต้าตอนไหน โดยนำแผนนี้ไปให้คุณหมอสูติ แต่บ้านเรายังไม่นิยมมากนัก

♥ บทความแนะนำน่าอ่านรวม ค่าคลอด โรงพยาบาลรัฐ ปี 2560

STEP 4 : ใจเย็น ๆ ไม่รีบร้อน

คุณแม่บางท่านเครียดมากและใจร้อน พอเห็นว่าไม่มีน้ำนมให้ลูกกินตั้งแต่แรกคลอดก็กลัวลูกหิว จึงตัดสินใจให้นมทางเลือกอื่น ๆ แทนทันที แต่จริง ๆ แล้วคุณหมอบอกว่า เด็กเขามีพลังงานสำรองจากในท้องของคุณแม่มาเต็มเปี่ยม และน้ำหนักลดได้ 10% ก็ยังไม่เป็นอันตราย วันแรก ๆ แม้จะไม่มีน้ำนมให้ลูก ลูกน้อยก็ยังอยู่ได้ แต่ถึงน้ำนมจะยังไม่มาหรือมาน้อย ก็ต้องหมั่นจับลูกเข้าเต้าอยู่เสมอ เพราะแรงดูดน้ำนมของลูกคือตัวกระตุ้นชั้นดีที่จะช่วยให้ร่างกายผลิตน้ำนมออกมา ยกเว้นแต่กรณีที่เด็กเกิดมาไม่สมบูรณ์แข็งแรง 100% เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีภาวะเบาหวาน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ คุณหมอจะช่วยพิจารณาให้นมชงหรือนมสูตรพิเศษเป็นราย ๆ ไปค่ะ

อ่านต่อ >>”STEP 5 ปรับร่างกายตามกลไล “อุปสงค์-อุปทาน” ของนมแม่กับลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up