ลูกกัดหัวนม จนหัวนมแตกเป็นประสบการณ์ที่คุณแม่เกือบทุกคนเคยสัมผัสมาแล้ว จนอาจเรียกได้ว่า เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ให้นมต้องเจอเรื่องหนึ่ง แต่ปัญหา ลูกชอบกัดหัวนมแม่ นั้นแก้ไม่ยากหากรู้เทคนิค ซึ่ง Amarin Baby & Kids ได้รวบรวมมาฝากคุณแม่ลองนำไปใช้กันดูค่ะ รับรองเห็นผล ลูกเลิกกัดหัวนมแม่แน่นอน
คุณแม่รู้หรือไม่ ถ้าลูกกัดหัวนม แล้วแม่ทนอยู่อย่างนั้น ลูกจะกัดต่อไป ต่อไป และต่อไป การที่ลูกเกิดอาการมันเขี้ยว และแสดงอาการดีใจที่ได้กัดหัวนมแม่ (เพราะบางทีกัดแล้วยิ้มด้วย) เป็นความสุขอย่างหนึ่งตามพัฒนาการด้านการตอบสนองทางปากของวัยทารก แต่เด็กไม่รู้ว่านั่นทำให้แม่เจ็บ คุณแม่จึงควรค่อยๆ เพิ่มระดับการห้ามเพื่อหยุดลูกกัดหัวนม
สาเหตุที่ ลูกกัดหัวนม อาจเกิดขึ้นได้จาก 3 กรณี
- ท่าให้นมไม่ถูกต้อง หากคุณแม่อุ้มลูกกินนมไม่ถูกวิธี องศาไม่ได้ หรือให้ลูกดูดนมไม่ลึกถึงลานนม หรือลูกอ้าปากไม่กว้างพอ ทำให้ดูดเฉพาะหัวนม พอดูดไปซักพักปากก็จะหลุดจากหัวนม จึงงับหัวนมแรงจนทำให้แม่เจ็บ
- เริ่มสนใจสิ่งแวดล้อม ถ้ามีอะไรมาดึงความสนใจ เช่น มีคนเดินผ่าน หรือมีเสียงคุย ดังนั้น จึงควรให้นมลูกในที่สงบเงียบ
- อยู่ในช่วงที่ฟันกำลังจะขึ้น และต่อเนื่องจนเมื่อฟันขึ้นแล้ว เด็กจะมีอาการคันเหงือก อยากงับนู่นนี่ ทำให้อาจมีอาการเผลองับหัวนมแม่เข้าบ้าง อาจเป็นความรู้สึกรำคาญหรือไม่สบายเหงือก
เมื่อได้ทราบแล้วว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ ลูกชอบกัดหัวนม คุณแม่จึงควรทราบวิธีป้องกันและแก้ไข ไม่ให้ลูกกัดหัวนมอีก เพราะหากปล่อยให้ลูกกัดหัวนมบ่อยๆ อาจทำให้ หัวนมแตก และลุกลามเป็นแผลอักเสบได้
16 เทคนิครับมือ ลูกกัดหัวนม แม่ควรทำดังนี้
- ระหว่างที่ลูกกำลังดูดนม ให้ดึงความสนใจของลูกมาที่ตัวแม่ โดยการจ้องตา ลูบไล้ลูก หรือคุยกับลูก
2. เตรียมวางนิ้วมือไว้ใกล้ๆ ปากลูก เมื่อเวลาลูกกัด ก็รีบสอดนิ้วเข้ากันไม่ให้ลูกกัดหัวนม ยุติการดูดได้ทันที
3. เมื่อถูกกัดอย่าดึงลูกออกทันที หัวนมจะถูกดึงและลูกจะกัดแรงขึ้น
4. ขณะลูกกัด ให้คุณแม่ใช้มือลูบบริเวณกรามของลูก จากหูเลื่อนมาที่คางเบาๆ ลูกจะคลายอาการกัดหัวนมแม่ลง
5. เมื่อลูกกัดหัวนมให้ดันศีรษะลูกเข้าชิดกับเต้านม เพื่อให้หายใจไม่สะดวก หรือบีบจมูกลูกเบาๆ เพื่อให้อ้าปากคายหัวนมออก
6. แสดงปฏิกิริยาให้รู้ว่ากำลังทำให้แม่เจ็บ แม่ไม่ชอบ เช่น ดุลูก บอกลูกว่า กัดไม่ได้ แม่เจ็บ ทำสีหน้าให้นิ่งๆ มากที่สุด หากไม่ได้ผล ให้ปิดเสื้อไม่ให้ดูดต่อ เอาลูกออกจากเต้าโดยใช้นิ้วมือสอดเข้าที่มุมปากลูก และวางลูกลง แล้วเดินจากไป
7. หากลูกร้องไห้ก็ไม่เป็นไร ไม่ได้ทำให้เสียสุขภาพจิต สักพักค่อยเดินกลับมาใหม่ แต่จะไม่ให้ดูดนมต่อจนกว่าจะถึงนมมื้อต่อไป ทุกครั้งที่ลูกกัดให้ตอบสนองแบบนี้เสมอ ทำสัก 10-15 ครั้ง ลูกก็จะเรียนรู้ว่าถ้ากัดแล้วแม่จะหยุดให้นม แล้วเดินจากไป ลูกจะไม่กล้ากัดอีก
8. ก่อนให้นมครั้งต่อไป ควรพูดคุยกับลูก เช่น คุณแม่จะให้กินนมแล้วนะคะ หนูอ้าปากกว้างๆ อย่ากัดนะคะ คุณแม่เจ็บค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่