การเอาลูกเข้าเต้า และ ดูดขวด ถูกวิธี
สำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกน้อยด้วยตัวเอง โดยการเอาเข้าเต้าวิธีที่ถูกต้องเพื่อให้ลูกได้รับน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ คือ ให้คุณแม่อุ้มลูกโดยตะแคงลำตัวและศีรษะของลูกหันเข้าหาแม่ ลำตัวของลูกแนบชิดกับตัวแม่ ส่วนศีรษะ ไหล่ และสะโพกของลูกควรอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน โดยศีรษะสูงกว่าลำตัวเล็กน้อย ทั้งนี้ลูกน้อยก็ต้องได้รับการรองรับที่มั่นคงด้วย โดยให้คุณใช้มือหรือหมอนรองเอาไว้ ให้หัวนมตรงกับปาก ถ้าคุณแม่นั่งอุ้มลูกควรมีหมอนหลายๆ ใบไว้รองหลัง รองแขน หรือวางบนตักเพื่อรองรับตัวลูกน้อย และพยายามให้ลูกอ้าปากกว้างๆ ให้หัวนมแตะจมูก หรือปาก เพื่อกระตุ้นให้ลูกอ้าปาก อุ้มลูกเข้ามา
Must read : ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่
Must read : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : 10 เรื่องอะไร ควรทำ ไม่ควรทำ ช่วงให้นมลูก
ทั้งนี้ลูกน้อยเองต้องดูดและใช้เหงือกกดทับบนลานหัวนม เมื่อลูกขยับปากเป็นจังหวะ แสดงว่าลูกดูดนมได้แล้ว แต่ถ้าลูกงับเฉพาะหัวนม ลูกจะได้น้ำนมแม่น้อย ถ้าดูดในท่าที่ถูกต้อง คุณแม่จะไม่รู้สึกเจ็บ ซึ่งอย่าปล่อยให้ลูกดูดทั้งๆ ที่เจ็บ ลองให้ลูกดูดใหม่โดยใช้นิ้วก้อยช่วยอ้าปากลูก ป้องกันหัวนมแตก และเมื่อลูกกินนมอิ่มควรจับลูกเรอด้วย
Must read : อุ้มลูกเรอ ช่วยไล่ลม สบายท้อง
Must read : หลัก 3 ดูด + เข้าเต้า สูตรเด็ดให้นมแม่ได้สำเร็จและยาวนาน
วิธีป้อนนมลูกด้วยขวด
จับลูกนอนให้ติดกับตัวแม่หรือพ่อ โดยให้ศีรษะของลูกอยู่สูงกว่าส่วนที่เหลือของร่างกาย เพราะจะช่วยให้การกลืนง่ายขึ้น ถ้าส่วนหัวยืดตัวตั้งขึ้นเล็กน้อย จากนั้นการป้อนนมต้องให้ลูกกมองเห็นขวดนมอยู่ตลอด ค่อยๆ ให้จุกนมสัมผัสกับริมฝีปากลูก ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง และอ้าปากรับเอง แล้วค่อยให้ใส่จุกนมเข้าปากช้าๆ ควรเอียงขวดนมขึ้นในระหว่างการป้อนนม ทำให้น้ำนมไหลเข้าไปจนเต็มจุกนม เพื่อให้ทารกไม่กลืนกินอากาศเข้าไป
Must read : แม่ต้องรู้! 9 สัญญาณ บ่งบอกเมื่อ ลูกหิวนม
เมื่อลูกหยุดหรือดูดนมช้าลง ค่อยๆ ถอดจุกนมออก ลูกจะดูดจุกนมเองอีกครั้งหากลูกยังต้องการให้ป้อนนมต่อ หากลูกปล่อยจุกนมออกให้หยุดพักเพื่อทำให้ลูกเรอ ให้ดูดนมอีกครั้งหลังจากที่มีการเรอ หยุดป้อนทารกหากส่งสัญญาณว่าอิ่มแล้ว
ข้อควรระวังต่อวิธีการให้นมลูก
- อย่าปล่อยให้ทารกดูดขวดนมโดยเพียงลำพัง อาจทำให้ลูกสำลัก หายใจไม่ออก
- อย่าผสมอาหาร หรือยาใดๆ ก็ตาม ลงไปในนมผงให้ลูกดื่มเด็ดขาด
- อย่าบังคับให้ลูกดื่มนมให้หมด และอย่าเสียดายเมื่อเหลือทิ้ง ให้ทิ้งไป
- ระหว่างการป้อนนม ไม่ควรเคาะขวดนม หรือดันริมฝีปากของลูกด้วยจุกนม เพราะอาจทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด
- อย่าให้ลูกทารกนอนเผลอหลับไปพร้อมกับขวดนมในปาก ซึ่งจะส่งผลทำให้ฟันผุ และส่งผลเสียต่อนิสัยการนอนหลับที่ไม่ดี
สังเกตอาการสำลักนมของลูกน้อย
- ระหว่างที่กินนม แรกๆ เด็กจะไอ เหมือนขย้อนนมออกมา ถ้าสำลักมาหน้าจะเขียว มีเสียงหายใจผิดปกติ
- ถ้ามีอาหารอื่นร่วมด้วย เด็กอาจตัวเขียว และมีผลข้างเคียง เช่น ไอเรื้อรัง หายใจผิดปกติ ควรรีบไปหาหมอ
- อาจเกิดการสำลักขณะที่ลูกนอนหลับ เพราะหูรูดกระเพาะอาหารค่อยๆ ผ่อนคลาย ทำให้นมไหลย้อน
- ถ้าของเหลวเข้าไปในหลอดลม ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้ลูกขาดออกซิเจน พิการ และเสียชีวิตได้
ป้องกันลูกสำลักนม
- ควรให้ลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวช่วง 6 เดือนแรก และให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม
- สำหรับการจับลูกวัย 0-2 เดือนเรอหลังกินนม เนื่องจากคอลูกยังไม่แข็ง ควรให้นั่งตักและใช้มือประคองศีรษะ และมืออีกข้างลูบหลังหลังกินนมเสร็จทุกครั้ง
- ถ้าลูกคอแข็งดีแล้ว อาจทำให้เรอด้วยการอุ้มพาดบ่า ใช้มือประคองหลัง ลูบขึ้นเบาๆ หลังกินนมเสร็จ
รับมืออย่างไรเมื่อ ลูกสำลักนม?
วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น เมื่อ ลูกสำลักนม ให้จับเด็กนอนตะแคง ให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่อาจมีอยู่ในปาก ไหลย้อนกลับไปที่ปอด ที่สำคัญ ไม่ควรจับเด็กอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการสำลัก ทั้งนี้ขณะช่วยเหลือให้นำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจอาการโดยเร็วที่สุด
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :
- ตารางความถี่ในการให้นมลูก คัมภีร์ป้อนนม เพื่อแม่มือใหม่โดยเฉพาะ!
- ขนาดกระเพาะทารก จะจุปริมาณน้ำนมแม่ได้เท่าไหร่?
- เตือนแม่มือใหม่ทุกคน! “ป้อนน้ำให้ลูกทารก” เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต จากภาวะน้ำเป็นพิษ
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.dumex.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่