“ น้ำนมแม่ ” นั้นดีและแน่ที่สุดแล้ว-amarinbabyandkids

“ น้ำนมแม่ ” นั้นดีและแน่ที่สุดแล้ว

Alternative Textaccount_circle
event

น้ำนมแม่

 วิธีเข้าเต้าแบบง่ายๆ

  1. อุ้มลูกตะแคง ท้องลูกแนบท้องแม่ วางลูกบนท่อนแขน พยายามให้จมูกของลูกตรงกับหัวนมแม่

2. ใช้หัวนมเขี่ยริมฝีปากลูกจากริมฝีปากบนลงล่าง จะช่วยให้ปากของลูกเปิดแบะบานออก

3. เมื่อลูกอ้าปากแล้ว ค่อยๆ ใช้มือ หรือข้อศอกประคองส่งตัวลูกให้เข้าอมหัวนมของคุณแม่ในจังหวะที่ยังอ้าปากกว้างอยู่ (ลูกจะอ้าประมาณ 20-30 วินาที) ข้อสำคัญที่ห้ามลืม คือ ต้องให้ลูกอมลึกที่สุดถึงลานนมของคุณแม่ สังเกตเวลาลูกดูดนม ริมฝีปากของเขาต้องบานบน บานล่าง ระหว่างนั้นจับเต้าประคองไว้จนมั่นใจว่าลูกอมได้ลึกแล้ว จึงปล่อยมือที่ประคองเต้านมออก

4. อย่าลืมหาหมอนมารองแขนให้มั่นคง กระชับเพราะหากหมอนที่มารองไม่กระชับพอ เมื่อคุณแม่เมื่อยจะเผลอผ่อนมือลง ทำให้ปากลูกรูดลงมา ลูกก็จะอมได้ไม่ดี อาจเกิดอาการเจ็บหัวนมตามมา

รู้ได้อย่างไรว่าลูกอิ่ม

เริ่มแรกให้ดูว่าเขาได้น้ำนมหรือเปล่า โดยดูว่าเขาดูดนมอย่างต่อเนื่องหรือไม่ คล้ายกับเวลาเรา ดื่มน้ำ พอเขาดูดสัก 20-30 นาทีก็มักจะอิ่มแล้ว ซึ่งธรรมชาติของเด็กเวลาอิ่มเขาจะปล่อยเอง แต่บางคนจะชอบดูดแช่ไม่ยอมปล่อย วิธีคือ ให้ใช้นิ้วก้อยค่อยๆ แซะข้างมุมปากของลูก แต่หากลูกร้องไห้หลังเอาออกจากเต้าให้คุณแม่อุ้มโอ๋ต่อสักครู่ เขาก็จะหลับต่อได้เอง

การเก็บน้ำนม

น้ำนมแม่ หากตั้งไว้ในอุณหภูมิห้องที่มีแอร์ไม่ร้อนมาก จะเก็บได้ 2-4ชั่วโมง ในตู้เย็นช่องธรรมดาเก็บได้ประมาณ 2-3วัน ช่องฟรีซเก็บได้ประมาณ 3 เดือน และตู้แช่ที่มีอุณหภูมิ-18 องศาเซลเซียสจะเก็บได้นาน 6 เดือน – 1 ปี แต่คำแนะนำคือ ไม่ควรเก็บสต๊อกไว้นานจนเกินไป อย่างแรก เพราะนมแม่ยิ่งเก็บไว้นานยิ่งมีกลิ่น เด็กบางคนไม่ชอบกลิ่นก็จะไม่ยอมกินนมแม่ที่สต๊อกไว้เลย อย่างที่สอง หากไฟดับนมแม่ที่แช่ไว้ก็จะเสีย ดังนั้น ควรสต๊อกพอประมาณให้มีหมุนเวียนใช้ระยะหนึ่งก็พอ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

นมสดจากเต้า กับนมแม่ที่สต๊อกไว้ มีคุณค่าสารอาหารเท่ากันหรือไม่

นมสดๆ จากเต้ามีคุณค่าสารอาหารมากกว่าน้ำนมที่แช่แข็งไว้ แต่แบบแช่แข็งก็ยังมีประโยชน์มากกว่านมชนิดอื่นๆ หลายเท่า แม้น้ำนมที่แช่ฟรีซไว้จะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวและไลโซไซม์น้อยกว่านมสดๆ จากเต้า แต่ก็ไม่ได้ลดลงมากนัก

ใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแบบไหนดีสําหรับคุณแม่ที่ต้องไปทํางาน

แนะนำให้เลือกเครื่องปั๊มนมที่มีราคาปานกลาง ไม่ต้องแพงมาก และเลือกแบบปั๊มคู่จะสะดวกกว่า นอกจากนี้ เครื่องปั๊มควรมีรอบของการปั๊มอยู่ที่ 40-60 ครั้ง ต่อนาที ความดันที่ 200 มิลลิเมตรของปรอท และอย่าซื้อเครื่องใหญ่มากเพราะพกพาลำบาก

นมแม่นำมาทำอาหารได้หรือไม่

น้ำนมแม่ สามารถทำอาหารได้ แต่ไม่ควรนำไปต้มจนเดือด และห้ามใส่ ไมโครเวฟ เพราะจะทำให้คุณค่าทางอาหารเสียไปหมด วิธีคือ ให้นำนม ที่ต้องการใช้จากช่องฟรีซ มาตั้งในช่อง ธรรมดาให้ละลาย จากนั้นนำไปแกว่งใน น้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 60องศาเซลเซียส แล้วนำมาคลุกกับอาหาร

ติดตาม  น้ำนมแม่นั้นดีและแน่ที่สุดแล้ว คลิกต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up