5.ไม่จำเป็นต้องเช็ดถูทำความสะอาดหัวนมก่อนให้ลูกดูดนมแม่ แต่ควรจะดูว่า หัวนมตัวเองนั้นมีขนาดสั้นยาว หรือใหญ่ โดยดูขณะตั้งครรภ์ ทั้งนี้หากหัวนมแม่ มีความยาวหรือสั้นกว่าปกติจะได้แก้ไขในขณะที่ตั้งครรภ์ (ทั้งการใช้มือดึงหัวนม และอุปกรณ์ สำหรับวิธีการดึงทางโรงพยาบาลสามารถแนะนำให้กับคุณแม่ได้) เพื่อให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายหลังคลอด (ความยาวหัวนมปกติคือ 0.5-0.6เซนติเมตร)
6.แม่ที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่ควรให้ลูกกินนมแม่เพื่อลดโอกาสการผ่านเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก
7.การใช้มือบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกดีกว่าใช้เครื่องปั๊มนม เพราะนอกจากจะสะดวกและประหยัดแล้ว ยังได้ปริมาณน้ำนมที่มากกว่าการใช้เครื่องปั๊ม
8.แม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ รูปร่างและ น้ำหนักจะกลับมาเป็นปกติเหมือนตอนก่อนท้อง เมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน ดังนั้นแม่ จึงไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก แต่หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่จะทําให้อ้วนก็พอ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิถีนมแม่ ในแบบฉบับคนญี่ปุ่น
ถ้าพูดถึงชนชาติที่เลี้ยงลูกด้วยตัวเองอย่างเห็นได้ชัดที่สุด หนึ่งในนั้น ก็คือ ประเทศญี่ปุ่น คุณแม่ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เมื่อแต่งงานแล้วจะลาออกจากงานมาเป็นแม่บ้านเต็มตัว ซึ่งแน่นอนต้องเลี้ยงลูกด้วยตัวเอง และเลี้ยงด้วยนมแม่ เพราะคุณแม่ญี่ปุ่น ทราบดีว่า นมแม่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของลูก ช่วยสร้างทั้งภูมิ และเสริมความแข็งแรงให้เด็กมีพัฒนาการดี
จึงไม่น่าแปลกใจว่าอัตราการเสียชีวิตของทารกก่อนขวบจึงน้อยมากจนติดอันดับโลก เคล็ดลับของการสร้างน้ำนมของคุณแม่ชาวญี่ปุ่นคือ การรับประทานอาหาร ที่ทำมาจากถั่วเหลือง เน้นเนื้อปลา ผัก เช่น แครอท หัวไช้เท้า เหล่านี้ช่วยให้น้ำนมไหลดี และหลีกเลี่ยง อาหาร หรือ ขนมรสหวานจัด รวมถึงคาเฟอีน ที่ส่งผลกระทบทำให้น้ำนมลดน้อยลง
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
ไขข้อข้องใจ! “ผ่าคลอด น้ำนมไหลช้า” จริงหรือ? พร้อมเทคนิคนวดเปิดท่อน้ำนม (มีคลิป)
หวัดแดด โรคหน้าร้อน ที่ต้องระวังในเด็กเล็ก
3 โรคที่แม่ป่วย ต้องระวัง อยู่กับลูกอย่างไรไม่ให้ลูกติดเชื้อ