พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด ได้ให้คำแนะนำไว้ ดังนี้
1.อย่าหยุดให้นมข้างที่เป็น เพราะกลัวว่าลูกจะกินไม่ได้ ความจริงคือ ต้องให้ลูกดูดเป็นข้างแรกเสมอ ดูดให้บ่อยขึ้น ปั๊มให้บ่อยขึ้น นมที่ปั๊มอย่าทิ้ง เก็บได้ตามปกติ ให้คางลูกอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นก้อน อาจต้องตีลังกาดูด ถ้าก้อนอยู่ด้านบน ให้พ่อแปรงฟันให้สะอาด ลองช่วยดูดดู
2.การประคบอุ่นหรือร้อน ด้านนอก อาจไม่ช่วยอะไรมาก เพราะเป็น superficial heat แต่ไม่เสียหายที่จะลองทำดู วิธีที่ได้ผลคือ deep heat โดยการทำอัลตราซาวด์
3.ต้องใช้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย ถ้าเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงแล้ว ไม่เช่นนั้น อาจพัฒนาจนกลายเป็นฝีได้ ยาแก้อักเสบที่ใช้ ไม่มีปัญหากับการให้นม เช่น dicloxacillin ถ้าแพ้เพนนิซิลลิน ให้ใช้ clindamycin
4.ถ้ามี white dot ที่หัวนม ถ้าให้ลูกดูดขณะหิวจัดแล้วไม่หลุด ให้ใช้เข็มสะอาดอันใหญ่ๆจิ้มให้หลุด (เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ควรปรึกษาคลินิกนมแม่ถึงวิธีที่ถูกต้องและปลอดเชื้อ)
5.ถ้าเป็นฝีแล้ว ห้ามให้หมอกรีดแผลเด็ดขาด ขอลองให้ใช้เข็มเบอร์ใหญ่ พยายามดูดออกให้หมด อาจดูดซ้ำหลายๆ ครั้ง และยาแก้อักเสบให้เปลี่ยนเป็นชนิดฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าเส้นเลือดก็ได้ และห้ามหยุดให้นมลูกเด็ดขาด เมื่อคุณไม่มีแผลที่เต้า คุณก็ไม่เจ็บเวลาดูด ถ้ากรีดเป็นแผลแล้ว จะลงเอยด้วยการที่น้ำนมจะรั่วออกทางแผลตลอดเวลา ทำให้แผลไม่ปิด แล้วในที่สุด ต้องใช้ยาหยุดน้ำนม ที่ชื่อ parlodel
ถ้าคุณแม่แก้ไขปัญหาน้ำนมเป็นก้อนด้วยตัวเองแล้วไม่ได้ผล แนะนำให้คุณแม่รีบไปปรึกษากับคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขด้วยวิธีการที่ปลอดภัย เพื่อที่จะได้ไม่กระทบถึงการให้น้ำนมลูกน้อยค่ะ
เครดิต: พญ.นฤมล เปรมปราโมทย์, พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด