เต้านมเล็ก น้ำนมน้อย : ขนาดเต้านม มีผลต่อ ปริมาณน้ำนม จริงหรือ? - amarinbabyandkids
เต้านมเล็ก น้ำนมน้อย

เต้านมเล็ก ทำให้น้ำนมน้อย จริงหรือ?

Alternative Textaccount_circle
event
เต้านมเล็ก น้ำนมน้อย
เต้านมเล็ก น้ำนมน้อย

เต้านมเล็ก น้ำนมน้อย

ปริมาณน้ำนมขึ้นอยู่กับอะไร

ปริมาณน้ำนมมากหรือน้อยนั้น เกิดจากปัจจัยหลายประการ หากคุณแม่ทำความเข้าใจและปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง ก็จะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานอย่างที่ตั้งใจไว้ ปัจจัยที่ว่าประกอบด้วย

  1. ฮอร์โมนโปรแลคติน

โปรแลคติน (Prolactin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ผลิตน้ำนม จะหลั่งออกมามากขณะตั้งครรภ์ และหลังจากที่ให้ลูกดูดนม ดังนั้น คุณแม่ต้องพยายามให้ลูกดูดนมตามเวลาที่กำหนดอย่างสม่ำเสมอ โดยให้เข้าเต้าทุก ๆ 2-3 ชม. เพื่อกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนโปรแลคติน ที่สำคัญ คุณแม่ต้องไม่เครียดจนเกินไปด้วย เพราะความเครียดเป็นตัวการสำคัญทำให้ฮอร์โมนนี้ทำงานได้ไม่ดีนั่นเอง

  1. การกระตุ้นด้วยการดูดของลูก

การดูดของลูกเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้คุณแม่มีปริมาณน้ำนมมากเท่าที่ต้องการ ยิ่งพยายามนำน้ำนมออกจากร่างกายเร็วและบ่อยมากเท่าไหร่ น้ำนมก็จะผลิตได้มากขึ้นเท่านั้น คุณแม่จึงควรให้ลูกดูดเต้าภายใน 1-2 ชม. หลังคลอด เพราะการให้ลูกได้ดูดเร็วจะช่วยให้ต่อมน้ำนมทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ พร้อมที่จะผลิตน้ำนมออกมาอย่างเต็มที่

  1. ดูดให้เกลี้ยงเต้า

นอกจากการดูดเร็วและบ่อยจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมแล้ว การที่คุณแม่ให้ลูกดูดจนเกลี้ยงเต้าทั้ง 2 ข้าง หรือบีบด้วยมือหรือปั๊มด้วยเครื่องต่อหลังจากให้นมเสร็จก็จะช่วยให้น้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะกลไกของร่างกายจะสั่งการให้ต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมมาเติมให้เต็มเต้าอยู่เสมอ จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้คุณแม่มีน้ำนมเพียงพอในการเลี้ยงลูกน้อย

  1. ท่าเข้าเต้าที่ถูกต้อง

ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คุณแม่มือใหม่หลายคนพบเจอ เพราะท่าให้นมที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้น้ำนมผลิตได้น้อย เนื่องจากต่อมน้ำนมไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเต็มที่ ตัวลูกก็ได้รับนมน้อยหรือไม่ได้รับเลย จนเกิดอาการหิว ร้องไห้งอแง ทั้งตัวคุณแม่เองก็อาจเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตกจากการดูดที่ผิดวิธีอีกด้วย ดังนั้น คุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการเข้าเต้าที่ถูกต้อง หรือขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในคลินิกนมแม่ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ เพื่อให้สามารถผลิตน้ำนมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และลูกได้รับน้ำนมอย่างมีคุณภาพไปพร้อม ๆ กัน

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ>> เคล็ดลับพิชิต ผลิตน้ำนมดีเยี่ยม คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up