หมอเผย!! เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ให้มีความสุข ทำอย่างไร? - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

หมอเผย!! เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ให้มีความสุข ทำอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
คุณสุภาพร เรียงหา ร่วมให้ความรู้ในงานสัมนาเรื่อง เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ให้มีความสุข
คุณสุภาพร เรียงหา ร่วมให้ความรู้ในงานสัมนาเรื่อง เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ให้มีความสุข

คุณสุภาพร เรียงหา หรือพยาบาลโบว์ ได้ให้ความรู้เรื่องน้ำนมแม่ง่ายๆและมีความสุขดังนี้

น้ำนมน้อย แม่ต้องทำอย่างไร

  • หากคลอดแล้วน้ำนมน้อยให้ทำการกระตุ้นเต้านม ไม่ว่าจะเป็นการบีบมือ ลูกดูดเต้า หรือปั๊ม ทำอย่างไรก็ได้เพื่อนำน้ำนมออกมาจากเต้า จะทำให้มีการสร้างน้ำนมเกิดขึ้น หากต้องการให้มีน้ำนมเยอะๆ ควรเอาน้ำนมออกบ่อยๆ
  • หากคุณแม่ให้นมมาสักพักแล้วน้ำนมน้อยลง อาจเนื่องจากคุณแม่เจ็บป่วย รับประทานยาบางชนิดทำให้ลดน้ำนมของแม่ ความเครียด นมคัด ท่อนมตัน อักเสบ เป็นฝี หรือคุณแม่กลับไปทำงานแล้วไม่มีเวลาปั๊มนม

เริ่มปั๊มนม เมื่อไหร่ดีที่สุด

หากไม่สามารถเอาลูกเข้าเต้าได้จริงๆ อาจใช้มือบีบ หรือใช้เครื่องปั๊มนมได้ หลังคลอดมีความมีความรู้สึกไวมาก จะรู้สึกเจ็บหากมีอะไรมากระตุ้น จึงแนะนำว่าควรใช้เครื่องปั๊ม 7 วันหลังคลอด หรือเริ่มเมื่อคุณแม่พร้อม

เครื่องปั๊มนมที่ใช่ เลือกอย่างไร

ควรเป็นเครื่องที่ได้มาตรฐาน แรงดูดมากกว่า 200 มิลลิเมตรปรอท มีโหมดกระตุ้น โหมดรีดน้ำนม สามารถรีดน้ำนมได้เกลี้ยงเต้า เสียงไม่ดังรบกวนลูกเวลานอน น้ำนมสองข้างมีน้ำนมไม่เท่ากัน หากเป็นเครื่องที่มีระบบแยกการทำงานอิสระซ้าย ขวา ก็จะเป็นการดี กรวยปั๊มนมควรมีขนาดกว้างกว่าหัวนม 3-4 มิลลิเมตร เลือกเครื่องที่เหมาะกับตัวเรา ปั๊มแล้วรู้สึกสบาย น้ำนมไหลดี ดูดลึก แต่ไม่เจ็บ

น้ำนมแม่ กับการปั๊มนม เทคนิคการปั๊ม

ต้องมีการระบายน้ำนมออก ปั๊มออกหลังจากลูกดูดเต้าแล้ว เอาน้ำนมออกบ่อยๆ ไม่เกินทุกๆ 4 ชั่วโมง หนึ่งวันให้ได้ 6-8 ครั้งต่อวัน ต้องระบายออกให้เกลี้ยงเต้า เกลี้ยงเต้าได้เท่าไหร่ก็จะมีพื้นที่ในการเก็บน้ำนมได้เท่านั้น

เริ่มปั๊มนมด้วยโหมดปั่นจี๊ดก่อน แล้วตามด้วยโหมดกระตุ้น หากเครื่องไม่มีโหมดปั่นจี๊ด สามารถเริ่มโดยใช้โหมดกระตุ้น แล้วเปลี่ยนเป็นโหมดรีดน้ำนม แล้วจบด้วยโหมดรีดน้ำนมออกให้เกลี้ยงเต้า

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เมื่อแม่ให้นมลูก

นมคัด ระบายนมออกบ่อยๆ เพื่อจะได้มีน้ำนมครบส่วน ทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง อย่าปล่อยให้นมคัด เพราะจะทำให้การสร้างน้ำนมลดน้อยลง หากนมคัด มีอาการปวดเต้า ให้ประคบเย็น แล้วตามด้วยประคบอุ่น แล้วนวดคลึงเต้า แล้วระบายน้ำนมออก จะให้ลูกดูดหรือปั๊มก็ได้ให้เกลี้ยงเต้า หากแก้อาการนมคัดไม่ได้จะกลายเป็นท่อน้ำนมอุดตัน

ท่อน้ำนมอุดตัน สาเหตุเกิดจากการระบายน้ำนมออกไม่เกลี้ยงเต้า ค้างนมในเต้านาน หรือใส่เสื้อชั้นในแบบมีโครงไปกดทับท่อน้ำนม และการหยุดให้นมแบบกะทันหัน การมีก้อนไตที่เต้านมการมีจุดขาวหรือwhite dotที่หัวนม เป็นสัญญาณว่าท่อน้ำนมจะตัน

เข้าเต้าถูกวิธี ลดอาการบาดเจ็บ

คุณแม่นั่งให้สบาย ผ่อนคลาย ควรมีหมอนรองให้นม เพื่อรองตัวลูกและอุ้มเข้าเต้าได้โดยไม่เกิดอาการเมื่อย อุ้มลูกได้อย่างถูกต้อง อุ้มลูกให้ถูกท่าเหมาะกับเรา เช่น คุณแม่ที่ผ่าคลอดมีแผลที่หน้าท้อง ลูกตัวเล็ก หรือเต้านมแม่ใหญ่ ควรเอาลูกเข้าเต้าทางด้านข้าง จะทำให้ลูกดูดงับนมได้ดีขึ้น ลูกจะต้องดูดทั้งหัวนมและลานนม เพราะหัวนมไม่มีท่อน้ำนม เอาลูกเข้าเต้าเมื่อลูกเริ่มหิว ใช้มือประคองเต้า เอาหัวนมเขี่ยปากให้ลูกเปิดปาก แล้วค่อยๆเอาหัวนมใส่ปาก หากลูกดูดถูกวิธีจะเห็นปากล่างของลูกจะบานออก จมูกจะเชิดขึ้น มองเห็นลานหัวนมด้านบนมากกว่าด้านล่าง ช่วงแรกลูกดูดกระตุ้นแบบถี่ๆ พอได้น้ำนมจังหวะการดูดจะเปลี่ยนเป็นแบบรีดน้ำนม และกลืนน้ำนม การให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธีจะทำให้คุณแม่ไม่รู้สึกเจ็บหัวนม

แจกของรางวัลแกผู้เข้าร่วมฟังสัมนา
แจกของรางวัลแก่ผู้เข้าร่วมฟังสัมนา

นมแม่ มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของทารก ช่วยพัฒนาระบบประสาทและสมอง อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างความฉลาดทางสติปัญญา(IQ) และความฉลาดทางอารมณ์(EQ) อีกด้วย

 

การได้ร่วมฟังสัมมนาของ ทีมกองบรรณาธิการ ABK เรื่องการ เลี้ยงลูกด้วย นมแม่ ในวันนี้ ได้รับความรู้มากมาย หากคุณแม่อยากร่วมฟังสัมนาดี ๆ แบบนี้ แถมยังได้ช๊อปสินค้าดี ๆ มีคุณภาพ ในราคาพิเศษ ให้ตัวเองและลูกน้อยไปด้วย สามารถเข้าร่วมฟังได้ภายในงาน Amarin Baby & Kids Fair ซึ่งในครั้งถัดไปจะจัดในเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ แน่นอนว่าจะต้องมีสัมมนาที่มีความรู้ดี ๆ สำหรับแม่ ๆ ให้นำไปปรับใช้กับลูกน้อยอย่างได้ผล คุณแม่สามารถอัพเดทหัวข้อสัมมนาได้ที่เพจ Amarin Baby & Kids นะคะ

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

กัญชากับคนท้อง กัญชากับแม่ให้นม อันตรายต่อเด็กหรือไม่?

Hypothyroidism ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งป้องกันได้ ลูกไม่เอ๋อ!

เด็กทารก พัฒนาการแต่ละช่วงวัย จากแรกเกิด – อายุ 1 ปี

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.กัลย์สุดา อริยะวัตรกุล จากเพจ เลี้ยงลูกโตไปด้วยกันกับหมออร และ คุณสุภาพร เรียงหา พยาบาลนมแม่และเด็ก เพจแม่โบ พยาบาลนมแม่และเด็ก หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด NurseKids

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up