อยาก ให้นมแม่ สำเร็จ แม่ต้องสตรอง และห้ามท้อ - amarinbabyandkids
ให้นมแม่

อยาก ให้นมแม่ สำเร็จ แม่ต้องสตรอง และห้ามท้อ

Alternative Textaccount_circle
event
ให้นมแม่
ให้นมแม่

ให้นมแม่ สำเร็จ

กังวลเรื่องปริมาณน้ำนม

การสร้างน้ำนมให้เพียงพอ แม่จำเป็นต้องรับประทานอาหาร หรือ ดื่มน้ำให้เพียงพอ นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ และให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อยๆ การให้เด็กดูดนมช่วงกลางคืนจะช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเวลากลางวันแม่ควรได้นอนพักบ้าง เพื่อตื่นมาให้นมตอนกลางคืน ที่สำคัญ ควรให้ลูกดูดนมให้เกลี้ยงเต้าเพื่อกระตุ้นให้สร้างน้ำนมเพิ่ม หากดูดไม่หมดควรบีบออกให้หมดด้วยมือ หรือเครื่องปั๊มนม

ปกติน้ำหนักของเด็กจะลดลงประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักแรกเกิดในช่วงสัปดาห์แรก และเพิ่มขึ้น 20-30 กรัมต่อวัน หากเด็กมีปัญหาน้ำหนักตัวขึ้นน้อย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำก่อนตัดสินใจให้นมผง เพราะบางครั้งปัญหาอาจเกิดจากท่าดูดไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้ให้ดูดบ่อยเท่าที่ควร

บางกรณีอาจต้องใช้การเสริมน้ำนม โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าสายเสริมให้น้ำนม เป็นสายพลาสติกเล็กๆ แปะติดกับหัวนมแม่ ปลายอีกด้านจุ่มลงในถ้วยใส่นมเสริม เวลาที่เด็กดูด น้ำนมจะไหลเข้าปาก ทำให้เด็กยอมดูดกระตุ้นที่หัวนม หลังดูดเสร็จ แม่ต้องปั๊มนมออกให้เกลี้ยงเต้าเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม

ให้นมแม่ไม่สำเร็จ

มาจากความคิดที่ว่าตัวเองมีน้ำนมไม่พอ ไม่มั่นใจ เวลาที่ลูกร้องไห้มาก จะมีคำถามตามมาทันทีว่า สงสัยนมแม่ไม่พอ หรือ ลูกปวดท้อง ซึ่งความกังวลนี้ทำให้แม่หลายคนต้องหันมาใช้นมผงเป็นตัวแก้ เพราะหาง่าย และอยู่ใกล้มือ

อีกหนึ่งสาเหตุก็คือ แม่ต้องกลับไปทำงาน ข้อนี้เป็นอุปสรรคไม่น้อยของเวิร์คกิ้งมัม และหลายครั้งก็เป็นสาเหตุแรกที่ทำให้แม่หลายคนตัดสินใจไม่ให้นมแม่ตั้งแต่แรก เพราะกลัวจะเลิกยาก แต่ความจริงหากมีการวางแผนที่ดี การปั๊มนมจะช่วยให้แม่ที่ต้องกลับไปทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้อีกนาน การให้นมที่ปั๊มทิ้งไว้ แล้วค่อยกลับมาให้ลูกดูดจากเต้าก่อนและหลังกลับจากทำงาน รวมถึงให้ดูดตอนกลางคืน จะช่วยให้แม่ผลิตน้ำนมได้อย่างเพียงพอ


บทความจาก คัมภีร์เลี้ยงลูก วัยแรกเกิด-วัยรุ่นตอนปลาย นายแพทย์เบนจามิน สป็อก เขียน แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ แปล สำนักพิมพ์ Amarin Health

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่

12ข้อคิด กับวิธีเลี้ยงลูกให้เป็นผู้มีปัญญา

ลำไส้อักเสบในเด็ก! กับวิธีสังเกตและดูแลรักษาเมื่อลูกน้อยเป็นลำไส้อักเสบ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up