13 คำถามยอดฮิต “การให้นมแม่” สำหรับคุณแม่มือใหม่

13 คำถามยอดฮิต “การให้นมแม่” สำหรับคุณแม่มือใหม่

Alternative Textaccount_circle
event

นอกจากวันที่ 12 สิงหาคมจะเป็นวันแม่แห่งชาติแล้ว วันที่ 1-7 สิงหาคมยังเป็นสัปดาห์การให้นมแม่แห่งโลก (World Breastfeeding Week) อีกด้วย เราจึงรวมคำถาม-คำตอบยอดนิยมเกี่ยวกับ “การให้นมแม่” โดย พญ. ปวินทรา หะริณสุต สมนึกพร้อมเทคนิคในการให้นมแม่ของ คุณเปิ้ล-ธันยาธนัส วงษ์สวัสดิ์ปภา(ภารดี วงศ์สวัสดิ์) คุณแม่ยังสวยของน้องกาย่า-ลูกสาววัย 9 เดือน มาฝากด้วยค่ะ

ple parateeple paratee

1.ก่อนคลอด คุณแม่ควรเตรียมตัวให้นมลูกอย่างไร?

* พญ. ปวินทราสิ่งแรกที่ต้องมีคือ ความตั้งใจว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือนมของเราเองก่อน หลังจากนั้นคุณแม่สามารถตรวจลักษณะของเต้านม หัวนมของตนเอง โดยสามารถปรึกษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากครรภ์ นอกจากนี้ยังสามารถหาความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไว้ก่อน เพื่อช่วยให้มีข้อมูลพื้นฐานในช่วงระหว่างตั้งครรภ์

* คุณเปิ้ลเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ก็ตั้งใจไว้ว่าจะให้นมลูกเอง ทั้งที่ไม่รู้ว่าเราจะมีน้ำนมมากหรือน้อย เมื่อมีเวลาว่างจะหาข้อมูลหรือถามผู้ที่มีความรู้ตลอดค่ะ

 

2.ทำอย่างไร?ให้มีน้ำนมให้ลูกเพียงพอ

* พญ. ปวินทรา อันดับแรกต้องมั่นใจในตัวเองว่าเราจะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูก อันดับสอง การกระตุ้นให้มีน้ำนมคือให้ลูกดูดบ่อยและดูดเร็ว ดูดเร็วคือหลังคลอดให้นำลูกมาดูดนมให้เร็วที่สุด โรงพยาบาลที่ส่งเสริมนมแม่จะทำแบบนี้อยู่แล้ว หากคลอดเองคือ 1-2 ชั่วโมงหลังคลอด หากผ่าคลอดก็ 2-3 ชั่วโมง เน้นให้ลูกดูดบ่อยๆ และดูดถูกวิธี

*คุณเปิ้ลคิดว่ามีพอสำหรับน้องแต่ไม่มากพอสำหรับเก็บสต็อก ช่วงหลังคลอดใหม่ๆ คุณแม่จะบำรุงให้เราเยอะมาก เปิ้ลมีน้ำนมมากพอควรแต่ไม่ได้ปั๊มเก็บไว้ เพราะคุณแม่จะให้เข้าเต้าตลอดเวลาคนโบราณเชื่อว่าให้เข้าเต้าดีที่สุด2 เดือนแรกจึงให้น้องเข้าเต้าตลอดจนอายุ 5-6 เดือนเขาก็ไม่เอาเต้าเอง คงเพราะน้ำนมไหลไม่ทันใจ ดูดขวดเร็วกว่า ตอนนี้น้อง 9 เดือนแล้วยังให้นมแม่ล้วนค่ะ คุณตาคุณยายบอกว่าเสริมนมผงได้แล้ว แต่เราก็หาข้อมูลและปรึกษาคุณหมอหลายท่านเพราะกลัวว่าจะไม่พอ แต่คุณหมอบอกว่าถ้าทำได้ควรให้เขากินนมแม่ต่อไป

*พญ. ปวินทรา ความจริงเราแนะนำนมแม่ล้วนถึงอายุ 6 เดือน แต่ช่วงหลัง 6 เดือนที่ทานอาหารเสริมแล้ว ซึ่งหมายถึง ข้าวบด ข้าวตุ๋น เป็นต้น ถ้าคุณแม่มีเวลาและยังมีน้ำนมอยู่ก็ยังแนะนำให้กินนมแม่ต่อไปจนลูกอายุ 1-2 ปีหรือนานกว่านั้น ไม่อยากให้เสริมนมผสมค่ะ

 

3.ทำอย่างไร?จึงจะรู้ว่าลูกได้กินนมแม่เพียงพอแล้ว

*พญ. ปวินทรา วิธีการดูว่าลูกได้กินนมแม่พอไหม หนึ่งคือสังเกตการกลืนของลูก จะเห็นการกลืนชัดเจน สองคือดูว่าลูกปัสสาวะและอุจจาระตามเกณฑ์ปกติไหม คือ ปัสสาวะมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน และอุจจาระมากกว่า 3-4 ครั้งต่อวัน ในเดือนแรกลูกจะอุจจาระบ่อย ดังนั้นช่วง 4-6 สัปดาห์แรกลูกอาจถ่าย 6-8 ครั้งต่อวันหรือมากกว่านั้นหลัง 1 เดือนจะลดลงเหลือ 2-4 ครั้งต่อวัน

ไม่ต้องกำหนดเวลาว่าต้องให้นมลูกบ่อยแค่ไหน ลูกหิวเมื่อไรก็เมื่อนั้น หลังคลอดใหม่ๆ อาจให้ลูกดูดนมข้างละ 15 นาที เพื่อกระตุ้นเต้านมทั้งสองข้างให้มีน้ำนมเมื่อน้ำนมมาแล้วจึงให้ลูกดูดต่อข้างนานขึ้น เมื่อเขาอิ่มก็จะผละจากเต้าไปเองและหลับได้เองหากลูกอิ่ม หลับสบาย ไม่ร้องกวน งอแง ก็บ่งบอกว่าลูกได้รับน้ำนมเพียงพอเช่นกัน

*คุณเปิ้ลต้องสังเกตนิสัยลูกเราด้วย ตอนแรกเปิ้ลให้ลูกดูดข้างหนึ่ง 15-20 นาทีแล้วก็เปลี่ยน แต่พอให้นอนเขาก็ตื่นมาร้อง ลองทำทุกวิธีก็ไม่หยุดร้องจึงลองเอาเขาเข้าเต้าเขาก็ดูดนมต่อ เลยสงสัยว่าเขาอาจจะยังไม่อิ่ม หลังจากนั้นจึงปล่อยให้เขาผละจากเต้าเอง เขาเหมือนรู้ว่าตัวเองอิ่มแล้ว ก็หลับสบายแล้วไม่ร้องอีกเลยค่ะ

 

4.กินนมแม่แล้วต้องให้ลูกดื่มน้ำอีกหรือไม่ ?

*พญ. ปวินทรา ไม่แนะนำให้ดื่มน้ำเพราะนมแม่มีน้ำเยอะอยู่แล้ว ไม่เหมือนนมผสมที่เราสังเกตได้ว่าเนื้อข้นกว่า จะให้ลูกดื่มน้ำตอนที่เริ่มกินอาหารเสริมเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เราอยากให้ได้นมแม่มากที่สุดโดยไม่มีสารอื่นไปเจือปนกับนมแม่เข้าไปในตัวลูกเลยค่ะ เพราะนมแม่ล้วนๆ นั้นจะเคลือบลำไส้ ช่วยลดการเกิดภูมิแพ้ ทำให้ลำไส้แข็งแรง ลดการติดเชื้อในทางเดินอาหาร งานวิจัยใหม่ๆ ยังบอกว่าการให้นมแม่ล้วนสามารถลดภาวะโรคอ้วนได้ในอนาคตซึ่งปัจจุบันเป็นปัญหาที่เราเจอบ่อยมากขึ้นทุกวัน

เด็กที่กินนมแม่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยอ้วนมากตอนเล็กๆ ทำให้ผู้ใหญ่กังวลว่าทำไมตัวเล็ก แต่จริงๆ แล้วเขาได้อาหารเพียงพอ หากเทียบกับกราฟปกติเขาอาจตัวเล็กแต่เขาแข็งแรง เมื่อเริ่มกินอาหารเสริมเขาจะโตทันคนอื่นเอง

 

5.ให้นมลูกแล้วเต้านมจะเสียทรงไหม?

*คุณเปิ้ล ในความรู้สึกของเปิ้ล การเป็นแม่คนคือการเสียสละอยู่แล้ว ดังนั้นตรงนี้จึงปล่อยให้เป็นเรื่องธรรมชาติไปค่ะ

*พญ. ปวินทรา ความจริงแล้วไม่เสียทรงนะคะ หัวนมอาจยืดกว่าปกติเล็กน้อย แต่หลังจากหยุดให้นมก็จะกลับมาเป็นปกติ

 

6.ถ้าตั้งครรภ์ลูกคนถัดไป จะให้นมลูกคนโตต่อไปได้ไหม?

*พญ. ปวินทรา ที่เรากังวลคือหากให้ลูกดูดนมหรือปั๊มนมถี่ๆ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการแท้งมากกว่าปกติ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังแนะนำให้คุณแม่ให้นมลูกต่อไป แต่อาจลดความถี่ในการปั๊มลงและควรปรึกษาสูติแพทย์ร่วมด้วยค่ะ

 

อ่านเรื่อง “13 คำถามยอดฮิต “การให้นมแม่” สำหรับคุณแม่มือใหม่” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up