ปัญหาใหญ่ที่สุดของคุณแม่เวิร์คกิ้งมัม ที่ทำงานนอกบ้านต้องพบเจอ คือ ความยากลำบากในการให้นมลูก เพราะถึงแม้ว่าจะมีการรณรงค์ให้ลูกทุกคนควรได้กินนมแม่ ในช่วง 6 เดือนแรก แต่ด้วยปัจจัยอะไรหลายๆ อย่างทำให้คุณแม่หลายคนต้องล้มพับโครงการนี้ไป และได้แต่โทษตัวเองว่าฉันเป็นแม่ที่ไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย เพียงเพราะไม่มี มุมนมแม่ ในที่ทำงาน
มุมนมแม่ ในที่ทำงาน สำคัญอย่างไร
Happy Workplace = Happy Together
หลายคนอาจไม่เข้าใจว่า ทําไมการให้นมลูกถึง 6 เดือน จึงสําคัญและส่งผลดีต่อการทํางาน เรามีแผนผังอธิบายง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ
ลูกกินนมแม่นาน 6 เดือนขึ้นไป ลูกแข็งแรง➜พร้อมเรียนรู้ สมองดี อารมณ์ดี➜เด็กมีคุณภาพ = ครอบครัว Happy
แม่แข็งแรง (นมไม่คัด)➜แม่ไม่เครียด เพราะลูกไม่ป่วย ไม่มีหนี้➜แม่มีสมาธิทํางาน งานมีประสิทธิภาพ= แม่ Happy
ลูกจ้างไม่หยุดบ่อย ไม่ลาออก➜ลูกจ้างซื่อสัตย์ต่อองค์กร➜ลูกจ้างทํางานดี ได้ตามเป้า รายได้เพิ่ม = องค์กร Happy
ซึ่งทั้งหมด ทั้งมวลนี้ทำให้ สังคม Happy
ทั้งนี้ จากรายงาน การสํารวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 พบว่า อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เมื่อแรกเกิดสูงถึง 91.2เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเวลา 3 เดือน จำนวนกลับลดลงไปกว่าครึ่ง
ยิ่ง 6 เดือนด้วยแล้ว ยิ่งน้อยลง โดยเหลือเพียงแค่ 7.1 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นั่นหมายความว่า มีคุณแม่คนไทยที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเวลา 6 เดือนอย่างที่รณรงค์กันนั้นจํานวนน้อยมาก จนน่าใจหาย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คําถาม คือ ปัญหาเกิดจากอะไร
คงต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีมาตรการอะไรที่แข็งแรงพอสำหรับการรองรับเรื่องสิทธิของแม่ในการให้นมลูก ถึงแม้ว่าเราจะมีกฎหมายคุ้มครองให้สิทธิลาคลอดได้ไม่เกิน 90 วันก็ตาม แต่ด้วยความจำเป็นคุณแม่หลายคนต้องหยุดการให้นมลูกไปโดยปริยาย ไม่ว่าจะเป็น
- รายได้ครอบครัวหายไป จึงต้องรีบกลับมาทำงาน
- วัฒนธรรมองค์กรบางที่ไม่ยอมรับกับการลาหยุดนานๆ
- ทํางานไกลบ้าน เช่นแม่กับลูก อยู่กันคนละจังหวัด
- ไม่มีสถานที่สําหรับปั๊มนมให้ลูกในที่ทํางาน