แต่หลายครั้ง คุณแม่ๆก็มีคำถามว่า บางราย ลูกอ้วน จากการกินนมแม่ ทำให้คุณแม่หลายท่านเป็นกังวลว่า จะเป็นอันตรายกับลูกน้อยหรือไม่
พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ หรือป้าหมอ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด จากโรงพยาบาล BNH มีคำตอบเรื่องนี้ค่ะ
ลูกกินนมแม่ น้ำหนักตัวเยอะ อันตรายหรือไม่?
พญ. สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ หรือป้าหมอ เผยว่า ลูกกินนมแม่ มีทั้งเด็กน้ำหนักตัวปานกลาง น้ำหนักตัวน้อย และน้ำหนักตัวมาก ไม่แตกต่างจากเด็กที่กินนมผงที่มีทั้งน้ำหนักตัวปานกลาง น้อย และมาก แต่ความแตกต่าง คือ
ลูกอ้วน จากนมแม่ส่วนใหญ่เกิดจาก คุณแม่ที่มีปริมาณน้ำนมมากและน้ำนมข้น มีส่วนของไขมันมากกว่าคนอื่น แต่ไขมันที่อยู่ในนมแม่ เป็นไขมันชนิดดี ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ไม่เหมือนกับไขมันในนมผง เป็นไขมันที่อุดตันเส้นเลือด ทำให้เกิดภาวะโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง ถ้ากินมากเกินไป
เด็กที่เคยอ้วนตอน 1-2 ขวบ เมื่อโตขึ้นหุ่นจะยืดขึ้น จนหุ่นเข้าที่สมส่วนได้เอง ดังนั้นถ้า ลูกอ้วนจากนมแม่ ไม่ต้องเครียดค่ะ เพียงแต่คอยดูว่า ไม่ให้อ้วนจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ถ้ากินนมผงร่วมด้วยก็ให้ลดการใช้นมผงลง อย่าให้กินอาหารปริมาณมากเกินไป อย่ากินขนม น้ำหวาน อาหารขยะ กินจุบจิบ อย่ากินนมแม่พร่ำเพรื่อ พยายามเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกเล่นออกกำลังกาย หรือ ทำกิจกรรมอื่นๆบ้าง จะได้ไม่หมกมุ่นกับการกินมากเกินไป ในที่สุด เด็กอ้วนนมแม่ จะกลายเป็นเด็กโต และ เป็นผู้ใหญ่ที่หุ่นสมส่วนได้เอง”
Overfeeding คืออะไร คุณแม่ๆต้องรู้
Overfeeding คือ การที่ลูกกินนมเยอะเกินไป หรือกินจนล้นกระเพาะ จนแสดงอาการดังต่อไปนี้
- นอนร้องเสียงเป็นแพะ เป็นแกะ แอะๆ แอะๆ
- บิดตัวเยอะ ร้องเสียงเอี๊ยดอ๊าด คล้ายเสียงประตูไม่หยอดน้ำมัน
- มีเสียงครืดคราดในคอ คล้ายเสมหะในคอ แต่เป็นเสียงของนมที่ล้นขึ้นมาที่คอหอยแล้ว
- แหวะนม อาเจียนบ่อย ออกมาทางปากหรือจมูก
- พุงกางเป็นทรงน้ำเต้าตลอดเวลา
คุณแม่ๆ สามารถสังเกตลูกน้อยได้จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยน้ำหนักของทารกปกติในแต่ละเดือนควรเพิ่มขึ้น ดังนี้
- 0-3 เดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 600-900 กรัม/เดือน
- 4-6 เดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 450-600 กรัม/เดือน
- 7-12 เดือนน้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 300 กรัม/เดือน
Overfeeding เป็นอันตรายหรือไม่?
หากลูกกินนมแม่ การถูกOverfeeding นั้นไม่อันตราย แต่ลูกจะรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว นอกจากนี้การปล่อยให้ลูกอาเจียนบ่อยๆ กรดจากกระเพาะอาหารย้อนออกมาทำให้หลอดอาหารเป็นแผลได้ เพราะเป็นเยื่อบุที่ไม่ได้ทนทานต่อกรดเหมือนเยื่อบุที่กระเพาะอาหาร
หากลูกกินนมผง นอกจากลูกจะอึดอัด ไม่สบายตัว และอาเจียนบ่อย จากการถูกOverfeeding ยังจะทำให้ลูกมีพฤติกรรมกินจุ และนำไปสู่โรคอ้วนได้ในอนาคต
Overfeeding ป้องกันได้อย่างไร?
- การที่ลูกไม่ยอมหลับไม่ยอมนอน หรือทำท่าขยับปากอยากดูดตลอดเวลาไม่ได้เป็นเพราะหิวเสมอไปคุณแม่ไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินนมทุกครั้งที่ลูกร้อง ถ้าเห็นลูกพุงกางเป็นน้ำเต้าแล้ว ให้เบี่ยงเบนความสนใจลูกไปที่อื่น เช่น เล่นกับลูก อุ้มเดิน เคลื่อนไหวไปมา ใช้เปลไกว ดูดจุกหลอก ไม่ต้องกลัวติดมือ ติดเปล หรือติดจุกหลอก เพราะจะใช้แค่ช่วง 3-4 เดือนแรก ซึ่งลูกอยู่ในช่วงปรับตัวเท่านั้น
- อย่าให้ลูกกินเยอะเกินไปหลักการให้นมแม่ คือชั่วโมงละ 1 ออนซ์ ถ้าให้ 4 ออนซ์แล้ว ลูกควรจะอิ่มท้องอยู่ไปได้ราว 4 ชั่วโมง
- ให้ประเมินว่าลูกอึครบ 2 ครั้งโดยที่แต่ละครั้งมีปริมาณอึกว้างเท่ากับแกนของม้วนกระดาษชำระ คือ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. หรือจำนวนฉี่ครบ 6 ครั้ง ในหนึ่งวัน (24 ชม.) แสดงว่าได้รับนมเพียงพอ
- หากลูกต้องการดูดเต้าให้ได้ ควรปั๊มนมออกก่อนเพื่อจะได้ไม่ได้รับปริมาณนมเข้าไปมากเกินไป เพราะจริงๆ แล้วลูกไม่ได้หิว แต่ต้องการดูดเพื่อความพึงพอใจ และรู้สึกผ่อนคลาย
อ่านต่อหน้า3 ลูกที่กินนมแม่แล้ว น้ำหนักน้อยล่ะ เป็นอันตรายไหม?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่