ลูกซัด คือสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์แผนโบราณมาอย่างยาวนาน แต่เชื่อว่ายังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่ไม่รู้จักว่าสมุนไพรลูกซัดว่ามีสรรพคุณเด่นในเรื่องใดบ้าง รวมถึงมีข้อสงสัยว่าสมุนไพรลูกซัดจะปลอดภัยต่อสุขภาพหรือไม่ เราลองไปดูข้อมูลเหล่านี้พร้อมกันค่ะ
ลูกซัด คืออะไร?
เชื่อว่ายังมีคุณแม่ส่วนหนึ่งที่รู้จักสมุนไพรชนิดนี้มากันบ้างแล้ว แต่อีกส่วนหนึ่งอาจไม่รู้จักเลยว่าคืออะไร ลูกซัด เป็นสมุนไพร ชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเป็นเมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองทอง เมล็ดจะขนาดเล็ก ขนาดความกว้างของเมล็ดลูกซัดจะ ประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาว 4 มิลลิเมตร และหนา 1 มิลลิเมตร มีร่องตรงกลางเมล็ด มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว เมล็ดมีรสฝาด สุขม หอม[11]
สรรพคุณของ “ลูกซัด” คืออะไร?
มีบันทึกการรับรองจาก ฮิปพอคราทีส (Hippocrates) ซึ่งเป็นแพทย์ที่ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก” และบันทึก จากแพทย์กรีก โรมันอื่นๆ ในสมัยโบราณ[1] พบว่า ลูกซัด (Fenugreek) อ่านออกเสียงว่า “ฟีนูกรีก” หรือ เฟนูกรีก เป็นหนึ่ง ในสมุนไพรที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งแพทย์โบราณได้ผสมเมล็ดด้วยน้ำแล้วทำเป็นขี้ผึ้งในการรักษาบาดแผลภายนอก เช่น ฝี หรือ แผลภายใน เช่น แผลในกระเพาะอาหาร และโรคลำไส้อักเสบ[2]
สมุนไพรลูกซัด กับแม่ที่ให้นมลูก
ในผู้หญิงชาวอินเดีย และยุโรป จะใช้เมล็ดลูกซัดมาเป็นส่วนผสมในอาหาร เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำนม ซึ่งลูกซัดได้ถูกจัดเป็นยาพื้นบ้านมาแต่โบราณของชาวยุโรป และถูกใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยนิยมนำมาใช้เป็นสมุนไพรเพิ่มน้ำนมในมารดาที่ต้องให้นมบุตร
ทั้งนี้จากงานวิจัยในต่างประเทศ ได้มีการทดสอบพบว่า ลูกซัด หรือ Fenugreek(Trigonella foenum-graecum L.) มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำนมเเม่หลังคลอด อย่างมีนัยยะสำคัญ[3] เเละมีงานวิจัยในต่างประเทศอีกหลายฉบับที่ วิจัยถึงสรรพคุณของลูกซัด กับการเพิ่มขึ้นของปริมาณน้ำนมเเม่ นอกจากนี้ ลูกซัด หรือFenugreek ยังได้ถูกพิจารณาจัดอยู่ในฐานข้อมูลกลุ่มอาหารทั่วไปที่มีความปลอดภัย “U.S. Food and Drug Administration’s GRAS list (Generally Recognized As Safe)”[4] เเละในประเทศไทย ได้มีเอกสารวิชาการ กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ รพ.ราชวิถี โดย พญ.ยุรี ยานาเซะ[5] ได้ระบุข้อมูล Dose หรือ ปริมาณการใช้สมุนไพรลูกซัดในหัวข้อ “การใช้สารกระตุ้นน้ำนมในการเริ่มต้นการให้นมแม่หรือเพิ่มปริมาณนมแม่” (หน้าที่4) ว่า ลูกซัด มีขนาดที่เเนะนำในการใช้คือ 1-4 เเคปซูล(580-610 มก.) ทานวันละ 3-4 ครั้งต่อวัน
นอกจากนี้ ยังมีการรวบรวมผลวิจัยลูกซัดจากฐานข้อมูลของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[6] เช่น ฤทธิ์ลดระดับ คอเลสเตอรอลและต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารจากเมล็ดของลูกซัด ฤทธิ์สมานแผลของลูกซัด ผลการวิจัยลูกซัดกับโรคพาร์กินสัน เป็นต้น
สมุนไพรลูกซัด กินอย่างไรให้ปลอดภัย?
สำหรับผู้ที่ต้องการทานสมุนไพรชนิดนี้ รวมถึงแม่ที่ให้นมลูก ที่ถ้ามีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือดในร่างกาย ไม่แนะนำให้รับประทาน เนื่องจากมีรายงานพบสาร กลุ่มคูมาริน จึงควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากเสริมฤทธิ์กัน อาจทำให้เลือดแข็งตัวช้า และเลือดไหลหยุดยากได้[12] แต่หากสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี และไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคเลือดแข็งตัวช้า หรือเลือดไหลหยุดยากเวลาที่มีบาดแผล ก็สามารถทานสมุนไพรชนิดนี้ได้อย่างมั่นใจ(ภายใต้คำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเท่านั้น)
สำหรับในประเทศไทยได้มีการนำเอาสมุนไพรชนิดนี้มาสกัดในรูปแบบแคปซูล เพื่อสะดวกในการรับประทาน ในแบ รนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม “ฟีนูแคปพลัส” จากบริษัทสมุนไพรบ้านอาจารย์ ที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี [7] ได้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ฟีนูแคปพลัสเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้าประกวดแข่งขันในงาน “ International Invention , Innovation & Technology Exhibition “ หรือ ITEX 2016 ณ ประเทศมาเลเซีย[8]
โดยผลิตภัณฑ์ ฟีนูแคปพลัส คว้ารางวัลเหรียญทองในกลุ่ม special care & child care เป็นผลสำเร็จ ซึ่งมีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมากกว่า 1200 ผลงาน จาก 24 ประเทศทั่วโลก[9]
ไม่เพียงเท่านี้ ยังคว้ารางวัลเหรียญเงิน ในการแข่งขันนวตกรรม “ Seoul International Invention Fair “ หรือ SIIF 2016 ณ สาธารณรัฐเกาหลี มาอีกหนึ่งรางวัล สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยอีกครั้ง
นอกจากนี้ บริษัทสมุนไพรบ้านอาจารย์ ยังได้รับรางวัล “เพชรน้ำหนึ่ง” ในฐานะผู้สนับสนุนการดำเนินงานยุทธศาสตร์การ พัฒนาเด็กในสถานรองรับ : เพชรน้ำหนึ่ง จากท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว[10] ด้วยการนำรายได้ส่วนหนึ่งจากยอดขายในแต่ละเดือน จัดกิจกรรมช่วยเหลือและส่งเสริมด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิต ของเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสในแต่ละจังหวัดมาโดยตลอด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
ข้อมูลเอกสารอ้างอิง
[1] Kathleen Phalen 1998, Integrative Medicine: Achieving Wellness Through the Best of Eastern and Western Medical, ISBN-10: 1885203616
[2] German botanist 1580, Cytisus Fenugreek herbal Lonicer Kreuterbuch, 16th century german herbal by Adam Lonicer.
[3] Turkyilmaz C, Onal E, Hirfanoglu IM, Turan O, Koc E, Ergenekon E, et al. The effect of galactagogue herbal tea on breast milk production and short-term catch-up of birth weight in the first week of life. J Altern Complement Med. 2011;17(2):139–42. doi: 10.1089/acm.2010.0090.
[4] U.S. Food and Drug Administration’s https://www.fda.gov/food/IngredientspackagingLabeling/GRAS/
[5]เอกสารวิชาการโดย พญ.ยุรี ยานาเซะ, http://www.rtcog.or.th/html/photo/bulletinfile_914728.pdf
[6]ฐานข้อมูล สมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.medplant.mahidol.ac.th/active/news.asp?strSearch=%C5%D9%A1%AB%D1%B4
[7] ผลิตภัณฑ์ Fenucaps แปรรูปลูกซัด website กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ www.most.go.th/main/th/443-news/innovation4smes/5014-smes_5014
[8] รางวัลนวัตกรรม สมุนไพรเพิ่มน้ำนม สนับสนุนโดย สวทช. www.nstda.or.th/th/news/4983-siif-2016
[9] ฟีนูแคป ตัวเเทนประเทศไทยคว้ารางวัลนวัตกรรมระดับนานาชาติ ที่มา ครอบครัวข่าว3, ช่อง3 https://goo.gl/MVicLF
[10] กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มอบรางวัล “เพชรน้ำหนึ่ง” แก่ บริษัทสมุนไพรบ้านอาจารย์ 2016 https://www.facebook.com/FenuCap/, www.fenucap.com, www.thai108herb.com,
[11],[12]ลูกซัด.ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. www.thaicrudedrug.com