Q&A แม่ถาม หมอตอบ
ใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแบบไหนดี สำหรับคุณแม่ที่ต้องไปทำงาน?
แนะนำให้เลือกเครื่องปั๊มนมที่มีราคาปานกลาง ไม่ต้องแพงมาก และเลือกแบบปั๊มคู่จะสะดวกกว่า นอกจากนี้เครื่องปั๊มควรมีรอบของการปั๊มอยู่ที่ 40-60 ครั้งต่อนาที ความดันที่ 200 มิลลิเมตรของปรอท และอย่าซื้อเครื่องใหญ่มากเพราะพกพาลำบาก
Must read : กู้น้ำนมแม่ กู้โลก!!!
นมแม่นำมาทำอาหารได้หรือไม่?
นมแม่สามารถทำอาหารได้ แต่ไม่ควรนำไปต้มจนเดือด และห้ามใส่ไมโครเวฟ เพราะจะทำให้คุณค่าทางอาหารเสียไปหมด วิธีคือให้นำนมที่ต้องการใช้จากช่องฟรีซมาตั้งในช่องธรรมดาให้ละลาย จากนั้นนำไปแกว่งในน้ำอุ่นอุณหภูมิไม่เกิน 60 องศาเซลเซียส แล้วนำมาคลุกกับอาหาร
Must read : Milk food เมนูอาหารเสริมที่ทำจากนมแม่
นมสดจากเต้ากับนมแม่ที่สต๊อกไว้ มีคุณค่าสารอาหารเท่ากันหรือไม่?
น้ำนมสดๆ จากเต้ามีคุณค่าสารอาหารมากกว่าน้ำนมที่แช่แข็งไว้ แต่แบบแช่แข็งก็ยังมีประโยชน์มากกว่านมชนิดอื่นๆ หลายเท่า แม้น้ำนมที่แช่ฟรีซไว้จะมีปริมาณเม็ดเลือดขาวและไลโซโซม์น้อยกว่านมสดๆ จากเต้า แต่ก็ไม่ได้ลดลงมากนัก
Must read : CDC แนะนำการเก็บรักษาสต๊อกนมแม่แบบใหม่
Must read : Stock milk เคล็ดลับการจัดเก็บสต็อกนมแม่
รู้หรือไม่ องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่า ควรให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน ในขณะที่ American Academy of Pediatrics แนะนำว่าควรให้นมแม่อย่างน้อย 1 ปี แต่โดยทั่วไปคือ ให้นมแม่จนกว่าลูกจะมีน้ำหนักตัว 4 เท่าของแรกคลอด เช่น แรกคลอดมีน้ำหนัก 3 กิโลกรัม 4 เท่าก็คือ 12 กิโลกรัม ซึ่งเฉลี่ยแล้วเท่ากับอายุ 2 ขวบ
อาการจี๊ดที่เต้านมตอนลูกดูดนมในช่วงแรกเกิดจากอะไร?
อาการจี๊ดที่เต้านมเกิดจากฮอร์โมนหลังคลอดที่ชื่อว่า โพรแลคติน ซึ่งจะผลิตออกมามากในช่วงเดือนแรกหลังคลอด เพราะร่างกายไม่รู้ว่าลูกต้องการนมในปริมาณมากน้อยแค่ไหน จึงผลิตน้ำนมออกมามาก เมื่อน้ำนมวิ่งผ่านท่อน้ำนมจึงเกิดการพุ่งออกมา ทำให้เกิดอาการเจ็บจี๊ดนั่นเอง อาการนี้จะค่อยๆ หายไปเอง ไม่ต้องกังวล
Must read : เคล็ดลับ ทำจี๊ด !!เพิ่มน้ำนมคุณแม่ให้ไหลมาเทมา (มีคลิป)
ลูกแฝด น้ำนมจะมาเพิ่มเป็นสองเท่าหรือไม่?
เป็นไปตามกลไกทางธรรมชาติ ร่างกายจะเรียนรู้เองว่ามีน้ำนมพอสำหรับลูกหนึ่งหรือสองคน แต่หากเป็นแฝดสาม สี่ หรือห้า อาจต้องปรึกษาศูนย์น้ำนมแม่ตามโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อขอคำแนะนำการให้น้ำนมให้เพียงพอต่อลูกแต่ละคน
Must read : อยากได้ลูกแฝดต้องทำอย่างไร?
ปัญหาจากการให้นมลูกมีอะไรบ้าง?
เวลาให้นมลูกอาจมีปัญหา เช่น เต้านมคัด ท่อน้ำนมอุดตัน เต้านมอักเสบ หัวนมแตก สาเหตุส่วนมากเกิดจากการให้นมไม่ถูกท่า หรือปล่อยให้น้ำนมค้างอยู่ในเต้านานเกินไป วิธีป้องกันคือควรปั๊มนมทุก 2-3 ชั่วโมง ต้องมีวินัย อย่าปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด หากมีอาการไม่มากแพทย์มักแนะนำให้ประคบร้อนและนวดบ่อยๆ แต่หากเป็นมากก็อาจต้องใช้คลื่นความถี่ที่ทำให้เกิดความร้อนประมาณ 42 องศาเซลเซียสจากเครื่องอัลตร้าซาวด์ช่วยรักษาร่วมกับการนวด อีกอาการที่คุณแม่เป็นกันมากคือ white dot ซึ่งก็คือการมีน้ำนมอุดคาอยู่ตรงหัวนม ทำให้น้ำนมไม่ไหลและจับตัวเป็นก้อน ต้องใช้การสะกิดออกจึงจะหาย แต่ทั้งนี้ควรมาพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องจะดีที่สุด
รู้หรอไม่
การดูดนมจากเต้าช่วยลดการเกิดภาวะฟันสบกันไม่ดีของลูก และการใส่เหล็กดัดเพื่อจัดฟันใหม่ในเด็กโต
การให้นมแม่ด้วยตัวของเราเองสำคัญมาก เพราะลูกจะได้รับสิ่งที่หาจากที่อื่นไม่ได้ สำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกที่เกิดขึ้นระหว่างให้นม การกินนมแม่อาจไม่เห็นผลวันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่ในอนาคตเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ คุณแม่ต้องอดทนและผ่านความยากลำบากไปให้ได้ การให้นมแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละคนก็มีปัญหาต่างๆ มากมาย แต่ถ้าคุณแม่ทำได้ สิ่งที่ลูกของเราได้รับนั้นคุ้มค่าจริงๆ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่ พิสูจน์แล้วจากการวิจัย
- สัญชาตญาณการดูดนมแม่ของทารก
- เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : 10 เรื่องอะไร ควรทำ ไม่ควรทำ ช่วงให้นมลูก
- ประโยชน์คับเต้านมแม่ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.nommaeshop.com