เทคนิคการเก็บรักษานมสต็อกในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็ง
- ก่อนปั๊มนมทุกครั้ง คุณแม่ควรล้างมือ และตรวจสอบความสะอาดของอุปกรณ์ปั๊มนม เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียหรือเชื้อโรคต่าง ๆ ปะปนลงไปในน้ำนมแม่
- หลังจากปั๊มนมเสร็จแล้ว ให้บรรจุลงในถุงเก็บน้ำนม ขวดนม หรือภาชนะพลาสติกที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ไม่ควรใส่ในภาชนะที่เป็นแก้ว เพราะจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีคุณสมบัติช่วยป้องกันการติดเชื้อให้แก่ลูกติดอยู่ตามภาชนะได้
- กรณีที่ต้องการเก็บรักษานมสต็อกในตู้แช่แข็ง คุณแม่ควรตรวจสอบสภาพรอบถุงเก็บน้ำนมให้ดีก่อนว่ามีรอยฉีกขาด หรือรูรั่วหรือไม่ และไม่ควรบรรจุน้ำนมจนเต็มถุง เพราะเมื่อแช่แข็งแล้วน้ำนมจะขยายตัวเพิ่มอีก อาจทำให้ถุงแตกได้
- เขียนวันที่ เวลา และปริมาณที่เก็บไว้อย่างละเอียดบนขวดหรือถุงเก็บน้ำนมทุกครั้ง สำหรับคุณแม่ที่เก็บในถุงเก็บน้ำนม หากได้จำนวนหนึ่งแล้ว ควรนำมาจัดเรียงตามวันที่ในถุงซิปหรือถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกครั้ง เพื่อความสะดวกในการนำออกมาใช้ตามลำดับก่อนหลัง
- ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ปั๊มนมด้วยผลิตภัณฑ์ล้างขวดนมโดยเฉพาะ และอบหรือต้มในน้ำร้อนทุกครั้ง เพื่อฆ่าเชื้อ
Tips to Know…แม้การแช่แข็งจะเป็นการเก็บน้ำนมได้ยาวนานที่สุด แต่สารอาหารหรือคุณค่าบางอย่างในน้ำนมอาจลดลงได้ตามระยะเวลาที่เก็บ คุณแม่จึงควรหมุนเวียนนมสต็อกมาใช้ในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน และก่อนให้ลูกกินทุกครั้ง คุณแม่ควรชิมเพื่อทดสอบว่า น้ำนมนั้นบูด เสีย หรือมีรสเปรี้ยวหรือไม่ด้วย
การเก็บรักษานมสต็อก ไม่ใช่เรื่องยาก ในระยะแรกคุณแม่ควรต้องศึกษาข้อมูล และทำความเข้าใจเทคนิคต่าง ๆ ให้กระจ่างและชัดเจน แล้วปฏิบัติตามอย่างมีวินัย โดยเลือกวิธีการเก็บรักษาที่เหมาะสมกับการใช้ แม้จะมีสต็อกนมแม่ไม่มากมาย แต่ขอให้มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นานจนถึง 2 ขวบหรือมากกว่าตามที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอนค่ะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
Stock milk เคล็ดลับการจัดเก็บสต็อกนมแม่
รับมือนมแม่สต็อกในตู้เย็นละลาย ขณะฝนตกไฟดับ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
www.breastfeedingthai.com .วิธีเก็บรักษานมแม่.
Facebook : พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่