ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้ - amarinbabyandkids

ถึงเป็น เวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้

Alternative Textaccount_circle
event

เวิร์คกิ้งมัม

6. ฝึกลูกล่วงหน้า ควรมีเวลาฝึกให้ลูกชินกับการดื่มนมแม่จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ และควรให้ลูกดูดนมแม่ตั้งแต่เริ่มรู้สึกหิวใหม่ๆ จะได้ไม่โมโหหิว และให้ดูดก่อนเวลานอน จะได้ไม่งอแงเพราะง่วงนอน

7. อุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่

– ถุงเก็บน้ำนมแม่

– ที่ปั๊มนม มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบปั๊มมือ และปั๊มไฟฟ้า ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน

– อุปกรณ์การป้อน แก้วยาเล็กๆ ช้อนชา หลอดป้อนยา ขวดนม จุกนม

– ตู้เย็น ซึ่งแบบสองประตูมีประสิทธิภาพดีกว่า เพราะมีการเปิดปิดในส่วนของช่องแช่แข็งน้อยกว่า (การเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อยๆ ส่งผลให้อุณหภูมิในตู้เย็นไม่คงที่ อาจทำให้ระยะเวลาในการเก็บสั้นลง) กระติก หรือ กระเป๋าเก็บความเย็น สำหรับใช้ในการเดินทางระหว่างที่ทำงานกับที่บ้าน

– อุปกรณ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาล้างขวดนม ที่นึ่งขวดนม ภาชนะสำหรับลวกอุปกรณ์

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

8. เทคนิคการบีบนมด้วยมือ

– ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดก่อนบีบนมเสมอ

– เช็ดหัวนมด้วยสำลีชุบน้ำสุกให้สะอาดก่อนทุกครั้ง

– ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางตรงบริเวณลานนม หรือ ห่างจากหัวนม 3 เซนติเมตร

– กดนิ้วทั้งสองเข้าหาลำตัว บีบนิ้วทั้งสองเข้าหากันเหมือนก้ามปู

– คลายนิ้ว แล้วเริ่มทำซ้ำใหม่ โดยกด-บีบ-ปล่อย ให้เป็นจังหวะ และเปลี่ยนตำแหน่งไปจนรอบลานนม

– นำภาชนะที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อแล้วมารองรับน้ำนม เสร็จแล้วปิดฝาให้สนิท เขียน วัน เวลา ติดไว้ที่ขวด หรือถุง

– สวมเสื้อชั้นในสำหรับคุณแม่ให้นม เพื่อความสะดวกในการบีบน้ำนม ไม่ควรสวมเสื้อชั้นในปกติ เพราะอาจเกิดการกดทับบริเวณเต้านม จนทำให้ทางเดินน้ำนมไหลไม่สะดวก

เลือกสถานที่ที่เหมาะสม หาที่นั่งสบาย สะอาด และถูกสุขอนามัย

เตรียมตัว และเตรียมใจ ทำใจให้สบายก่อนบีบ ไม่เครียด และดื่มน้ำอุ่นจัดทั้งก่อน หลัง และ ระหว่างที่บีบ

บีบจนเกลี้ยงเต้า (บีบจนเต้านมนิ่ม) อย่าลืมคลึงส่วนที่เป็นก้อนด้วย ซึ่งอาจทำได้โดยการถูมือให้ร้อนๆ แล้วนำไปคลึงบริเวณที่เป็นก้อนแข็ง หรือจะให้ดีนำผ้าขนหนูมามัดเป็นก้อน ชุบน้ำอุ่น ไม่ก็ใช้ แผ่นร้อนมาคลึงจุดที่เป็นก้อนแล้วบีบต่อจนเกลี้ยงเต้า

บีบให้บ่อย เพื่อลดอาการคัดนมเพราะอะไร ลูกไม่ยอมดูดนมแม่? ควรบีบทุก 3 ชั่วโมง และ/หรือตามเวลาที่ลูกเคยดูด

ทำใจให้สบาย อย่าเครียด อย่าจริงจังมากเกินไป พยายามคิดถึงหน้าลูก โดยไม่ต้องพะวงว่าทำได้กี่ออนซ์ ระหว่างทำหาอะไรดู หรือ ฟังเพลงเพลินๆ

ติดตาม ถึงเป็นเวิร์คกิ้งมัม ก็บริหารจัดการนมแม่ได้ คลิกต่อหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up