ลูกดิ้น ลูกสะอึก มีความต่างกันอย่างไร? เชื่อว่าคุณแม่ตั้งครรภ์คงจะเคยมีคำถามสงสัยว่าลูกควรจะดิ้นแค่ไหน สังเกตอย่างไร และในบางครั้งลูกในครรภ์มีอาการสะอึกขึ้นมาคุณแม่ก็อาจจะแยกไม่ได้ รวมทั้งอยากรู้ว่าเมื่อลูกในท้องสะอึกขึ้นมาจะมีอันตรายหรือไม่อย่างไรบ้าง เราจึงมีความรู้เรื่องนี้มาอธิบายให้เข้าใจกันค่ะ
ลูกดิ้น ลูกสะอึก มีความต่างกันอย่างไร?
ลูกในท้องดิ้นอย่างไร
การดิ้น ก็คือการเคลื่อนไหวของลูกน้อยในครรภ์ ซึ่งจะมีทั้งขยับ ถีบ เบาบ้าง แรงบ้าง โดยคุณแม่จะรับรู้การดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ได้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 20 เป็นต้นไป โดยในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 20–28 สัปดาห์คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกถึงการดิ้นของลูกทุกวัน บางวันคุณแม่อาจจะไม่รู้สึกว่าลูกดิ้นเลย แต่จริงๆ แล้ว ลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวและแข็งแรงปกติ เพราะในช่วงตั้งครรภ์ 20-28 สัปดาห์ ลูกน้อยยังตัวเล็กลอยอยู่ในน้ำคร่ำ ไม่ตัวโตคับครรภ์เหมือนช่วงอายุครรภ์เยอะๆ ทำให้บางวันลูกอาจจะดิ้นเบาเกินกว่าที่คุณแม่จะรับรู้หรือรู้สึกได้ค่ะ
ชวนคุณแม่นับลูกดิ้น
การนับหรือสังเกตการดิ้นของลูกควรนับหลังอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไปหรือนับช่วงท้องเข้าเดือนที่ 7 ค่ะ วิธีนับง่ายๆ คือ สังเกตการดิ้นหลังจากที่คุณแม่รับประทานอาหารเสร็จ จะเป็นมื้อไหนก็ได้ ควรเลือกมื้อที่คุณแม่รู้สึกสบายๆ มีเวลานั่งพักสักครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง พอคุณแม่รับประทานอาหารเสร็จลูกก็จะได้รับสารอาหารจากที่คุณแม่รับประทานเข้าไป ลูกจะรู้สึกสดชื่นทำให้มีการเคลื่อนไหว จากนั้นจึงให้คุณแม่นับการเคลื่อนไหวช่วงนั้น คืออย่างน้อยลูกจะดิ้น 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมงถ้าเวลาผ่านไปสัก10-15นาทีหลังรับประทานอาหารลูกดิ้นเกิน3ครั้งก็หยุดนับได้ค่ะแสดงว่าลูกน้อยแข็งแรงดี
การนับลูกดิ้น หากคุณแม่ทําทุกวันได้และในมื้ออาหารเดียวกัน จะช่วยให้คุณแม่เฝ้าระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น สายสะดือพันคอ ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้น้อย แต่ก็เกิดขึ้นได้โดยที่เราไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้า หากคุณแม่รู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งในหนึ่งชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร คุณแม่ต้องรีบไปโรงพยาบาลพบสูติแพทย์ทันทีเพราะหากมีอันตรายกับลูก คุณหมอจะได้ให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงทีค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่