ลูกดิ้น ลูกสะอึก มีความต่างกันอย่างไร? - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ลูกดิ้น ลูกสะอึก

ลูกดิ้น ลูกสะอึก มีความต่างกันอย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกดิ้น ลูกสะอึก
ลูกดิ้น ลูกสะอึก

ลูกดิ้น ลูกสะอึก มีความต่างกันอย่างไร?

แม่ท้องเสี่ยงสูง หมั่นจดและนับลูกดิ้น

ทางการแพทย์จะแนะนำให้นับลูกดิ้นเมื่อแม่มีความเสี่ยงสูงเช่นเป็นเบาหวานหรือมีโรคประจําตัวแต่อย่างไรก็ตามถ้ารู้สึกว่าไม่ดิ้นทั้งวันเลยก็น่าจะผิดปกติแล้วลูกควรดิ้นอย่างน้อย 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง หรืออาจจะ 10 ครั้งในระยะ 2 ชั่วโมงซึ่งส่วนมากภายในครึ่งชั่วโมงก็ดิ้นแล้วแต่หากรู้สึกว่าลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้งหรือใช้เวลานานมากกว่าจะดิ้นควรปรึกษาหมอค่ะนอกจากนี้ในกรณีที่คุณแม่มีครรภ์ความเสี่ยงสูงก็ควรจะจดบันทึกการดิ้นของลูกน้อยทุกวันด้วยนะคะ

ลูกน้อยในท้องสะอึกอย่างไร

การสะอึกของลูกน้อยในครรภ์ จะทำให้คุณแม่รู้สึกเหมือนท้องกระตุก ตุบๆ เป็นจังหวะ เหมือน ๆ กับเวลาที่ผู้ใหญ่สะอึกกันค่ะ ในขณะที่การดิ้นจะเป็นการเคลื่อนไหวของลูกที่ซับซ้อนกว่า ดิ้นเบาบ้างแรงบ้าง ถีบตรงนั้น ถีบตรงนี้ไม่มีจังหวะ   ส่วนมากคุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกได้ว่า ลูกในท้องสะอึก ก็มักจะเป็นตอนที่อายุครรภ์อยู่ในช่วงไตรมาสที่สามหรือใกล้คลอดแล้ว เพราะลูกจะตัวโตทำให้คุณแม่รู้สึกกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่คุณแม่จะรู้สึกว่า ลูกในท้องสะอึกอยู่ครั้งละประมาณ10-15 นาที 10-20 นาทีบ้าง หรือบางครั้งอาจรู้สึกว่าลูกสะอึกอยู่นานถึงครึ่งชั่วโมง

สะอึกคือพัฒนาการการหายใจ

การสะอึกของลูกน้อยในครรภ์จะเกิดขึ้นเป็นจังหวะๆทำให้คุณแม่บางคนสงสัยว่าเอ๊ะ…ลูกชักหรือเปล่า แต่ความจริงแล้วเป็นการสะอึกปกติซึ่งการสะอึกของลูกน้อยในครรภ์ไม่ได้มีอันตรายอะไรเรียกได้ว่าเป็นพัฒนาการการหายใจของลูกน้อยในครรภ์แบบหนึ่งค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ลูกดิ้น ลูกสะอึก มีความต่างกันอย่างไร?

เพราะลูกน้อยซึ่งเป็นทารกในครรภ์จะมีพัฒนาการด้านการหายใจที่พัฒนาได้ตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่แล้ว โดยลูกน้อยจะหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าและออกซึ่งจะช่วยเรื่องพัฒนาการของปอดลูกน้อยด้วยคือทําให้ถุงลมมีความพร้อมสําหรับรองรับอากาศตอนถึงเวลาทํางานจริงๆ หรือตอนหลังคลอดนั่นเอง โดยพบว่าหากเกิดน้ำคร่ำไม่มีหรือน้อยตั้งแต่อายุครรภ์แรกๆหรือในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก จะทำให้ปอดไม่พัฒนาและมีปัญหาค่อนข้างมากหลังคลอดเพราะฉะนั้นการฝึกหายใจในน้ำคร่ำของเขาจึงมีความสําคัญรวมไปถึงปริมาณน้ำคร่ำในครรภ์คุณแม่ด้วย

นอกจากนี้การสะอึกของลูกน้อยในครรภ์ ยังเป็นพัฒนาการด้านการหายใจเพื่อฝึกการทํางานของกะบังลมให้ยืดหดอย่างหนึ่ง รวมถึงยังมีข้อมูลบางส่วนที่คุณแม่ได้ยินมาว่าการสะอึกของลูกน้อยในครรภ์ทําให้สายสะดือพันคอซึ่งความจริงแล้วคือยังไม่มีข้อมูลชัดเจนในทางการแพทย์ดังนั้นการสะอึกของลูกน้อยในครรภ์จึงเป็นเรื่องปกติเมื่อลูกน้อยสะอึกแล้วสักพักเขาจะหายได้เอง

ยกเว้น กรณีที่คุณแม่รู้สึกว่าลูกน้อยในครรภ์มีอาการสะอึกบ่อยมาก และรู้สึกว่าผิดปกติ ก็ควรแจ้งคุณหมอหรือไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์อาจจะอัลตราซาวนด์ ดูสายสะดือ ดูปริมาณน้ำคร่ำ ส่วนสายสะดือพันคอนั้น แทบจะตรวจล่วงหน้าไม่ได้เลย หากคุณแม่มีน้ำคร่ำปกติโอกาสที่สายสะดือจะพันแน่นมีน้อยแต่แม้น้ำคร่ำปกติก็อาจจะพันได้

ฉะนั้น กรณีสายสะดือพันคอเด็ก เป็นเหตุสุดวิสัย เราไม่มีทางรู้ได้เลยถือเป็นอุบัติเหตุที่คาดการณ์ไม่ได้ค่ะ


ข้อมูลโดย : อาจารย์ นพ.สกิทา ม่วงไหมทองสูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลศิริราช และ นาวาตรีพญ.ณัฐยารัชตะวรรณสูตินรีแพทย์ประจําศูนย์สุขภาพสตรีโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up