นอกจากเลขศาสตร์ในการตั้งชื่อที่นำมาฝากกันแล้ว ยังไม่พลาดที่จะนำตัวอักษรต่างๆ ที่ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เลือกว่า ตัวอักษรใดเป็นตัวอักษรมงคล หรือตัวอักษรกาลกิณีต่อวันเกิดของเจ้าตัวน้อยมาฝากกันอีกด้วย
อักษรทักษา กับความหมาย
ตารางอักษรทักษาที่เป็นบริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ และมนตรี เป็นศาสตร์แห่งการตั้งชื่อลูกโดยยึดหลักตัวอักษรตามวันเดือนปีเกิดของลูก ซึ่งมีความหมายดังนี้
- บริวาร : มีบารมีมาก บารมีแผ่ไพศาล มีผู้ใต้บังคับบัญชา มีสามี ภรรยา มิตร ญาติ คอยให้การสนับสนุน
- อายุ : ความอุดมสมบูรณ์ สุขภาพพลานามัยแข็งแรง สดชื่น ความเป็นอยู่ร่มเย็น ไร้อุปสรรคใดรบกวน
- เดช : มีกาย วาจา และใจที่เป็นศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจ วาสนา เกียรติยศ ชื่อเสียง รวมถึงอิทธิพลบารมี
- ศรี : มีความเจริญในการอุปถัมภ์ของผู้ใหญ่ ได้รับความเมตตาเอ็นดูตลอดเวลา มีชะตาชีวิตดี
- มูละ : ความมั่งคั่ง ร่ำรวย ประสบความสำเร็จ มีทรัพย์ และมรดกที่เกิดใหม่ให้กับชีวิต
- อุตสาหะ : ประสบความสำเร็จในสิ่งที่มุ่งหวัง การลงทุนสมปรารถนา เป็นเจ้าคนนายคน เรียนดี เรียนเก่ง
- มนตรี : มีผู้คอยให้การช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้าเร็วกว่าผู้อื่น
- กาลกิณี : ปัญหา และอุปสรรคที่มีมาให้แก้กันตลอดเวลา อัปมงคล อัปโชค
ตัวอักษรที่เป็นมงคลของแต่ละวัน
- เกิดวันอาทิตย์: สระทั้งหมด เป็นบริวาร
- เกิดวันจันทร์ : ก ข ค ฆ ง เป็นบริวาร
- เกิดวันอังคาร: จ ฉ ช ซ ฌ ญ เป็นบริวาร
- เกิดวันพุธ: ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เป็นบริวาร
- เกิดวันพฤหัสบดี: บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม เป็นบริวาร
- เกิดวันศุกร์ : ศ ษ ส ห ฬ ฮ เป็นบริวาร
- เกิดวันเสาร์ : ด ต ถ ท ธ น เป็นบริวาร
- เกิดวันพุธกลางคืน : ย ร ล ว เป็นบริวาร
ตัวอักษรที่เป็นกาลกิณีของแต่ละวัน (ความเชื่อส่วนบุคคล)
- เกิดวันอาทิตย์: ศ ษ ส ห ฬ ฮ
- เกิดวันจันทร์ : สระทั้งหมด
- เกิดวันอังคาร: ก ข ค ฆ ง
- เกิดวันพุธ: จ ฉ ช ซ ฌ ญ
- เกิดวันพฤหัสบดี: ด ต ถ ท ธ น
- เกิดวันศุกร์ : ย ร ล ว
- เกิดวันเสาร์ : ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
- เกิดวันพุธกลางคืน : บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
พ.ร.บ. กฏหมายการตั้งชื่อบุคคล พ.ศ. ๒๕๐๕/๒๕๓๐.๑๒.๒๘
นอกจากเรื่องทางความเชื่อแล้ว หลักการตั้งชื่อลูกอีกเรื่องหนึ่งที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย และสมควรรู้ก่อนการตั้งชื่อ นั่นคือ พระราชบัญญัติชื่อบุคคล ที่เป็นเรื่องของกฏหมายการตั้งชื่ออีกด้วย โดยมีข้อมูลดังต่อไปนี้
- ชื่อที่จะตั้งต้องไม่พ้อง หรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม
- ห้ามไม่ให้มีคำ หรือความหมายที่หยาบคาย
- ผู้ที่ได้รับ หรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอน จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัว หรือชื่อรองก็ได้
- ชื่อหนึ่งให้มีคำรวมกันไม่เกิน 5 พยางค์ (เดิมกำหนดให้ไม่เกิน 3 พยางค์)
- ต้องมีที่มา หรือมีความหมายที่ดี ซึ่งความหมายในที่นี้มิได้จำกัดเฉพาะที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงพจนานุกรมที่ใช้กันอยู่ทั่วไป และเป็นชื่อที่ตรงตามเพศของเจ้าของ เช่น หากเป็นผู้ชายก็ไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่เมื่ออ่าน หรือฟังแล้วทำให้เข้าใจว่าเป็นเพศหญิง หรือหากเป็นเพศหญิงก็ไม่ควรตั้งชื่อที่เมื่ออ่านแล้วทำให้เข้าใจว่าเป็นเพศชาย เป็นต้น
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://simplymommynote.net/https://www.mahamongkol.com
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่