เพราะคุณแม่ทุกคนย่อมอยากมอบที่สิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกน้อยอยู่แล้ว ซึ่งหากการให้นมแม่กับลูกให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่เมื่อมีความจำเป็นของร่างกาย ที่ต้องได้รับยาบางชนิด เกิดการติดเชื้อ หรือโรคภัย ทำให้ความตั้งใจในการให้นมลูกได้นานที่สุดไม่สำเร็จ ซึ่งคุณแม่กลุ่มที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงไม่สามารถให้นมลูกได้ จึงควรต้องหลีกเลี่ยงไปก่อน
หากแม่ได้รับยาบางชนิดหรือมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ อาจจะมีผลต่อลูกโดยตรง
- คุณแม่ที่ได้รับยากลุ่มเคมีบำบัดเพราะยากลุ่มจะมีผลต่อการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายของลูกได้
- คุณแม่ที่เสพสารเสพติดแอมเฟตามีน เฮโรอีน โคเคน ถ้าลูกได้รับผ่านทางน้ำนม จะตื่นบ่อย และหลับแค่ช่วงเวลาสั้นๆมีผลทางด้านอารมณ์
- คุณแม่ที่ต้องได้รับสารกัมมันตรังสีในการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา
- คุณแม่ที่ได้รับรังสีไอโอดีน-131 ในการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา
- คุณแม่ที่ติดสารนิโคตินทำให้ลูกติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจง่าย
- คุณแม่ที่ดื่มสุราในน้ำนมมีแอลกอฮอล์มากทำให้เด็ก อ่อนเพลีย มีอาการซึมหลับง่าย มีผลต่อการเจริญเติบโต
7 โรคที่แม่เป็นหรือติดเชื้อทำให้ไม่สามารถ ให้นมลูก ได้
- ติดเชื้อไวรัส HTLV-1สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลิวคีเมีย (Leukemia) ซึ่งอาจติดต่อไปสู่ลูกได้
- วัณโรคถ้ายังไม่ได้รับการรักษา หรือมีอาการอยู่ ไม่ควรให้นมลูก จนกว่าแพทย์จะทำการรักษาเรียบร้อยแล้ว
- ติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Herpes simplex หรือ เริมหากไม่ได้ติดเชื้อเริมบริเวณห้วนม เต้านม สามารถให้นมลูกได้
- อีสุกอีใสถ้ายังเป็นอยู่ ควรงดให้นมลูกทันที และอยู่ให้ห่างลูกมากที่สุดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ จนแน่ใจว่าไม่มีเชื้ออีสุกอีใสเหลืออยู่แล้ว จึงจะกลับมาให้นมลูกได้อีกครั้ง
- ไวรัสตับอักเสบบีคุณแม่ที่เป็นโรคนี้ทารกคลอดมาจะต้องได้รับ ยาต้านไวรัส hepatitis B immunoglobulin (HBIG) และฉีดวัคซีนตับอักเสบบีทันที จึงจะสามารถให้นมแม่ได้ตามปกติ
- ไวรัสตับอักเสบเอต้องได้รับการรักษาให้หายขาด จึงให้นมลูกได้
- ติดเชื้อไวรัส CMV ทารกจะได้รับเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ อาจทำให้ลูกตัวเล็กหรืออวัยวะบางส่วนมีความผิดปกติ รวมไปถึงระบบประสาทและสมอง ควรงดให้นมลูก
- โรคเอดส์HIV เชื้อที่อยู่ในตัวแม่อาจส่งผ่านไปสู่ลูกผ่านน้ำนมได้ จึงห้ามให้นมลูก
Tips : เมื่อไม่สามารถให้นมลูกได้ จึงทำให้เกิดปัญหาเต้านมคัดตามมา พยายามไม่ให้เต้านมมีการผลิตน้ำนม ด้วยการเลือกใส่ชุดชั้นในที่กระชับมากๆ หลีกเลี่ยงการกระตุ้นที่บริเวณหัวนม และจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ในการยับยั้งกระบวนการสร้างน้ำนมได้
ปกติแม่ควรให้ลูกดูดนมแม่เพราะนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูก แต่ก็ยังมีบางกรณีที่ไม่สามารถให้ลูกดูดนมแม่ได้เช่น แม่ติดเชื้อ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ซึ่งเชื้อโรคอาจปนออกมากับน้ำนมแม่ได้และอาจติดไปถึงลูกค่ะ เชื้อโรคที่พบว่าสามารถติดไปสู่ลูกได้ ได้แก่ เชื้อ เอชไอวี (โรคเอดส์) เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งคือ เชื้อเฮอร์ปี่ ซิมเพลก (Herpes Simplex) ซึ่งเกิดที่ผิวหนังบริเวณหัวนมของแม่ เชื้อตับอักเสบบีและซี เป็นต้น นอกจากนี้ยาบางชนิดที่คุณแม่กินเข้าไประหว่างช่วงที่ให้นมลูกอาจจะส่งผลข้างเคียงไปสู่ลูกได้เช่น ยาที่ใช้รักษามะเร็งต่างๆ
โดยสรุปแล้วหากคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกจำเป็นต้องทานยาใดๆ จะต้องปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีที่สุดค่ะ
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- แม่มือใหม่ ให้นมลูก อย่างไร ถึงจะเวิร์ค?
- แม่ให้นมลูก ดื่มน้ำร้อน น้ำเย็น ได้ไหม ?
- อาหารแม่ท้องและให้นมลูก กินอย่างไร? ไม่ให้ลูกแพ้อาหาร
- ผักผลไม้ต้องห้าม สำหรับแม่ท้อง และให้นมลูก
ขอบคุณข้อมูลจาก facebook คุณหมอสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ www.breastfeedingthai.com