แม่หลังคลอด เสี่ยง โรคจิตระยะสั้น เกิดเฉียบพลัน - Amarin Baby & Kids
โรคจิตระยะสั้น

แม่หลังคลอด เสี่ยง โรคจิตระยะสั้น เกิดเฉียบพลัน

Alternative Textaccount_circle
event
โรคจิตระยะสั้น
โรคจิตระยะสั้น

แม่หลังคลอด เสี่ยง โรคจิตระยะสั้น เกิดเฉียบพลัน

หลังจากที่ตั้งท้องมาครบ 9 เดือน ก็ถึงเวลาที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลก ชีวิตของแม่หลังคลอดและครอบครัวต่างเฝ้ารอวันนี้ แต่เมื่อคลอดลูกแล้ว สิ่งที่แม่หลังคลอดต้องเผชิญนั้นมีหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นความใหม่ในการเลี้ยงลูก อาการป่วยของลูก และที่สำคัญคืออาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นกับแม่ ซึ่งอาการหนึ่งที่เราไม่่อยทราบกันก็คือ โรคจิตระยะสั้น ที่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันค่ะ อาการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร และใรเป็นผู้มีความเสี่ยงบ้าง กองบรรณาธิการ ABK นำข้อมูลมาฝากค่ะ

โรคจิตระยะสั้น คืออะไร 

โรคจิตระยะสั้นหรือ Brief psychotic disorder  หรือ โรคจิตเฉียบพลัน  มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

  • ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนจากเดิมที่ปกติดี ไปสู่ภาวะที่มีโรคจิตชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์ (sudden onset)
  • มักเป็นหลังจากประสบเหตุการณ์กดดันรุนแรง (อาจเป็นจากหลายเหตุการณ์ร่วมกัน)
  • ผู้ป่วยจะมีอาการพูดจาสับสน วกวน ไม่ปะติดปะต่อ  เรียกอีกอย่างว่า formal thought disorder เป็นความสับสนทางความคิดที่รู้ได้โดยคำพูด รวมถึงการเปลี่ยนประเด็นไปเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว
  • พบบ่อยว่ามีประสาทหลอน
  • หลงผิดอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง คือมีความรู้สึกมั่นใจในเรื่องผิด ๆ อย่างไม่ลดละแม้จะมีหลักฐานที่แสดงว่าไม่จริง
  • พฤติกรรมสับสนวุ่นวาย
  • เคลื่อนไหวน้อยเกินไป หรือมากเกินไป
  • นอกจากนี้ อาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีท่าทีงุนงง สับสน
  • ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ นานอย่างน้อย 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 เดือน อาการทั้งหมดจะสงบไป และจะกลับไปใช้ชีวิตได้เหมือนเดิม
โรคจิตระยะสั้น
แม่หลังคลอด เสี่ยง โรคจิตระยะสั้น เกิดเฉียบพลัน

รูปแบบของโรคจิตระยะสั้น

โรค Brief psychotic disorder มีรูปแบบ 3 อย่าง คือ

  • แบบมีตัวทำให้เครียด (Brief psychotic disorder with a stressor ) เช่น ความบาดเจ็บหรือความตายในครอบครัว
  • แบบไร้ตัวทำให้เครียด (Brief psychotic disorder without a stressor )
  • แบบเกิดหลังคลอด  (Brief psychotic disorder with postpartum onset) ปกติเกิดประมาณ 4 สัปดาห์ หลังคลอด

ความชุกของโรคจิตระยะสั้น

อุบัติการณ์ และความชุกของโรคนี้ ยังไม่ชัดเจน แต่ทั่วไปมักเกิดในหญิงเป็น 2 เท่าของชาย ปกติจะเกิดในช่วงปลายช่วงอายุ 30-40 ปี และต้นช่วงอายุ 40-50 ปี ส่วนสาเหตุยังไม่ชัดเจน

  • ทฤษฎีหนึ่ง ระบุว่าเกิดจาก กรรมพันธุ์ เพราะโรคสามัญกว่าในบุคคลที่สมาชิกครอบครัวมีความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) เช่น โรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว
  • อีกทฤษฎีหนึ่งระบุว่า เกิดจากทักษะการรับมือกับเหตุการ์ที่ไม่ดี (poor coping skill) คือ เกิดอาการโรคโดยเป็นการป้องกัน หรือหนีจากเหตุการณ์ที่น่ากลัว หรือก่อความเครียด

อาการโรคจิตระยะสั้นที่พบในผู้หญิง

หญิงในภาวะที่มีฮอร์โมนเพศ คือ Estrogen น้อย อาจเกิดอาการนี้ จะมีภาวะนี้ในช่วง

  • ก่อนมีประจำเดือน
  • หลังคลอด
  • ในช่วงระยะ วัยทอง

โดยอาการโรคจิต บ่อยครั้งสัมพันธ์กับ โรคอารมณ์สองขั้วหรือโรคจิตเภท ที่เป็นมูลฐานอาการโรคจิตเช่นนี้ บ่อยครั้งจัดเป็น premenstrual exacerbation (อาการก่อนประจำเดือนที่เกิดเพิ่ม), menstrual psychosis (อาการโรคจิตตามรอบประจำเดือน) หรือ postpartum psychosis (อาการโรคจิตหลังคลอด)

การคลอดบุตรอาจก่อโรคนี้ในหญิงบางคน หญิงประมาณ 1 ใน 10,000 คน ประสบกับอาการนี้ หลังจากคลอดบุตรไม่นาน

พิจารณาร่วมกับโรคอื่นๆ 

มีโรค หรืออาการทางแพทยอื่น ๆ ที่เป็นเหตุของอาการ ซึ่งแพทย์ต้องพิจารณารวม ได้แก่

  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
  • เอชไอวีและเอดส์
  • มาลาเรีย
  • ซิฟิลิส
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคพาร์คินสัน
  • ภาวะเลือดมีกลูโคสน้อย (hypoglycaemia)
  • โรคลูปัส
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
  • เนื้องอกในสมอง

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรุงเทพธุรกิจ , wikipedia

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทความ ดี ๆ คลิก

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดลูก คุณแม่มือใหม่ต้องพร้อมรับมือ

หมอตอบชัดทุกข้อ! 10 ปัญหาสุขภาพที่แม่ต้องเจอ? ทั้ง ปัญหาคนท้อง และหลังคลอดลูก

ปวดหลังหลังคลอด สัญญาณร้าย “โรคโครงสร้างผิดปกติ”

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up