-
น้ำเดิน
น้ำเดิน หรือ ถุงน้ำคร่ำแตก จะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ คล้ายปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอด ไม่มีกลิ่น อาจจะขุ่นเล็กน้อย เป็นอาการที่แสดงว่า ถึงเวลาที่คุณแม่จะคลอดแล้ว
เมื่อถุงน้ำคร่ำแตก มดลูกจะหดตัวเล็กลง บีบหัวเด็กให้เคลื่อนต่ำลงสู่อุ้งเชิงกรานเพื่อจะคลอด หากคุณแม่มีน้ำเดินช่วงเริ่มต้นของการเจ็บท้องคลอด คุณแม่อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อได้
คุณแม่ควรรักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอด ไม่ควรใส่ผ้าอนามัยแบบสอด หรือมีเพศสัมพันธ์ หรือลงแช่ในน้ำอุ่น เมื่อคุณแม่เกิดอาการน้ำเดินหรือถุงน้ำคร่ำแตก ควรติดต่อคุณหมอสูติที่ฝากครรภ์ หรือเตรียมตัวไปโรงพยาบาลได้ เพราะโดยทั่วไปมักจะคลอดภายใน 24 ชั่วโมงหลังน้ำเดิน
ถ้ารู้สึกว่ามีอะไรดันช่องคลอดหลังถุงน้ำคร่ำแตก อาจเป็นสายสะดือยื่นออกมา ต้องติดต่อโรงพยาบาลทันที
(อ่านเพิ่มเติม บทความน่าสนใจ สายสะดือพันคอทารกในครรภ์ แม่จะรู้ได้อย่างไร)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
-
เจ็บท้องคลอด
การเจ็บท้องคลอดจะเริ่มที่หลัง แล้วปวดร้าวมาถึงด้านหน้าบริเวณหัวหน่าวและท้องน้อย บางครั้งจะปวดร้าวลงขา มีความรู้สึกปวดหน่วงๆ เหมือนปวดท้องเวลามีประจำเดือน หรืออาจจะปวดคล้ายปวดท้องอึ
คุณแม่ที่เคยเจ็บท้องเตือน เคยปวดเล็กปวดน้อย ก็จะกลายเป็นปวดแรงขึ้นเป็นจังหวะ ในระยะแรกมดลูกจะหดรัดตัวนานครั้งละ 30-60 วินาที ทุก 10-15 นาที แล้วจะถี่ขึ้นเป็นทุก 5 นาที
อาการเจ็บท้องคลอด หรือที่เรียกว่า เจ็บท้องจริง ในคุณแม่ท้องแรกมักจะเจ็บครรภ์นานประมาณ 12-14 ชั่วโมง (แต่ถ้าเป็นท้องต่อไปจะคลอดง่ายกว่าท้องแรก) จะเจ็บถี่ขึ้นทุกๆ 2-4 นาที เจ็บนานครั้งละ 60-90 วินาที เมื่อใกล้คลอดจะมีอาการเจ็บถี่ขึ้น แม้ว่าคุณแม่จะเปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถ หรือนอนพักอาการก็ไม่ดีขึ้น
การเจ็บท้องคลอดของคุณแม่แต่ละท่านนั้นจะมีอาการแตกต่างกันออกไป เมื่อมีอาการเจ็บท้อง คุณแม่อาจโทรหาคุณหมอสูติที่ฝากครรภ์หรือโรงพยาบาลเพื่อให้ประเมินว่า ถึงเวลาที่คุณแม่ควรไปโรงพยาบาลแล้วหรือยัง หากเป็นท้องแรก คุณแม่ควรโทรหาคุณหมอสูติเมื่อมดลูกหดรัดตัวเป็นจังหวะทุกๆ 5 นาที ครั้งละ 30-40 วินาที เพราะเป็นสัญญาณเตือนว่าใกล้คลอดแล้ว แต่ถ้าไม่ใช่ท้องแรก คุณแม่ควรโทรหาคุณหมอสูติเมื่อมดลูกหดรัดตัวเป็นจังหวะทุกๆ 7 นาทีค่ะ
อาการที่คุณแม่ควรรีบไปโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ได้ -อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ แต่มีความรู้สึกว่ามดลูกบีบรัดตัวเป็นจังหวะ -มีความรู้สึกว่าลูกไม่ดิ้นนานถึง 8-10 ชั่วโมง หรือดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง -คุณแม่มีความรู้สึกว่าเจ็บท้องคลอดอย่างรุนแรง ไม่สามารถที่จะทนได้ -มีเลือดสด ๆ ออกมาทางช่องคลอด อาจจะไม่ใช่การเจ็บท้องคลอดธรรมดา อาจจะมีรกเกาะต่ำหรือรกขวางทางคลอด
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก
ประทับใจ! ภาพวินาทีแรกคลอด ความงดงามที่แม่ไม่เคยได้เห็น
10 เทคนิคดี๊ดี ช่วยคุณแม่บรรเทาอาการเจ็บครรภ์คลอด
ขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ เตรียมตัวก่อนคลอด. “สังเกตสารพัดอาการบ่งชี้ เมื่อถึงเวลาคลอด”. พญ.ภักษะ เมธากูล. หน้า 24-31.