วิธีการ คลอดลูก หมอตำแย ไทยโบราณ
สำหรับขั้นตอนการคลอดลูกนั้น อยู่ที่เด็กทารกด้วยนะคะว่า เอาส่วนไหนออกมาก่อน ยกตัวอย่างเช่น เด็กบางคนเอาหัวออกมาก่อน บางเด็กก็ขามาก่อน บางเด็กก็มือมาก่อน แต่เด็กที่ขากับมือออกมาก่อนนี้ยากหน่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารกขาดนี้ยากมากเลยค่ะ ถ้าหมอตำแยไม่ชำนาญก็จะเป็นอันตรายกับชีวิตของทารกได้ ส่วนในรกต้องจับรีดให้คนเขาดูด้วยว่ามีขาดไหม ถ้าไม่ขาดก็ดี แต่ถ้ามีขาด ต้องหายาให้กินเดี๋ยวนั้น โดยเอามาคั่วรวมกันให้มันไหม้สักหน่อย แล้วละลายในน้ำให้กิน ยาที่ว่าก็คือ
1.ซเมาอั๊จม์แซ๊ะ (หญ้าหนวดแมว) ๗ ส่วน
2.ดินปืนดินพลุประมาณ ๑ ช้อน
3.สน๊อกปั๊วะ (คราบงูที่ลอกคราบ) ๗ ส่วน
4.ปิงวาย (แมงมุม) ๗ ส่วน
5.มะเร็งพเลิง (เจตมูลเพลิง) ๗ ส่วน
ส่วนเด็กที่คลอดมาใหม่นั้นก็ตัดสะดือแล้วมัดกับด้ายสีดำ ด้ายนั้นพันมัดสองจุด เวลาตัดไม่ใช้มีด แต่ตัดกับหอยกาบ แล้วก็อาบน้ำให้ ล้างมือ ถูตัว แล้วก็ให้นอนกับกระด้งหรือฉะเนียง จวมบูน (บายศรีเชิญครู) เอากะลามะพร้าวใส่ขี้เถ้า หมาก ๔ ลูก ใบพลู ถ้าไม่มีให้เอาใบขนุนวางไว้ ๔ ทิศ ทิศละใบ ส่วนธูปเอาต้นหญ้าคาแทน เทียน ๒ เล่ม
หลังจากที่แม่เมื่อคลอดลูกแล้ว ก็ให้นอนราบกับพื้น รออาบน้ำร้อน หม้อที่ต้มน้ำต้องใช้หม้อดินใหญ่ หรือหม้อที่ใช้สาวไหม ซึ่งต้องใส่รากทมึ๊ย (ต้นป่าน) เกลือ ใบมะขาม เปลือกมะขาม ใส่ในหม้อต้มพอเดือด แล้วก็ตักให้คนคลอดกินและอาบ ส่วนใต้ถุนบ้านนั้นมีหลุมอยู่ ๑ หลุม หลุมนี้ใช้สำหรับรองน้ำที่อาบเวลาอาบน้ำก็ไหลตกลงไปในหลุม ในหลุมก็ใส่ซังเคิร (กิ่งเล็บเหยี่ยว) ใส่หัวไพล เอาแหปิดล้อมรอบบริเวณหลุม เพื่อป้องกันผีปอบ อย่าให้มันเขาไปได้ ถ้ามันเข้าไปได้แล้วมันจะไปกินเลือดหรือรกที่อยู่ในหลุม ส่วนสามีก็เอาฟืนท่อนใหญ่ๆ มาก่อไฟให้ภรรยาที่นอนราบกับพื้นอยู่บนบ้าน ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำการยกครูให้หมอตำแยโดย
1.จวมบูน (บายศรีเชิญครู) ประกอบด้วยใบพลูหรือใบขนุนทิศละ ๔ ใบ ธูป ๒ ดอก เทียน ๔ เล่ม กรวยดอกไม้ ๕ กรวย ใส่จานไว้
2.บายศรีปากชาม ๑ คู่ แต่ละจานประกอบด้วย กล้วย ๔ ลูก ข้าวต้มมัด ๔ มัด หมาก ๔ ลูก เงิน ๔ บาท
นอกจากนี้ก็มีของไหว้พระพิษณุ เรียกว่า “พิษณุการ” คือมีข้าวเปลือก ๑ กระเชอ ตรงกลางวาหัวขวานถาก ๑ เล่ม ข้างๆ
วางไข่ต้ม ๑ ฟอง ถ้วยใส่ข้าวสาร ๒ ถ้วย หมาก ๑ ลูก เทียน ๒ เล่ม (ปักในถ้วยข้าวสาร) กรวยดอกไม้ ๕ กรวย กรรไกร มีดโกน หวี แป้ง ด้ายชุบน้ำขมิ้น แล้วเอาใบหญ้าคาปักไว้ ไก่ต้ม ๑ ตัว ใส่ถาดวางไว้ข้างๆ กระเชอ
อย่าไรก็ตาม ภายหลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐ มีระเบียบจากทางราชการบังคับให้หมอตำแยทั่วประเทศต้องผ่านการอบรมขึ้นทะเบียน หมอตำแยเจอระเบียบหยุมหยิบของราชการก็เลยลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ และนับแต่นั้นคนทั่วไปก็เริ่มหันไปคลอดลูกยังอนามัยสถานผดุงครรภ์ และโรงพยาบาล ด้วยความนิยมในความสะดวก สะอาด และน่าจะปลอดภัยได้มากกว่า หมอตำแยก็เลยค่อย ๆ หายไป ส่วนอดีตหมอตำแยรุ่นคุณย่า คุณยายก็จะนำวิชาเหล่านี้มาใช้กดจุด นวดแผนโบราณ เพราะการเป็นหมอตำแยนั้น ต้องรู้จักเส้นและจุดต่าง ๆ ในร่างกายเป็นอย่างดี
มาถึงตอนนี้คุณแม่ ๆ ก็คงทราบกันดีแล้วใช่ไหมคะว่าการ คลอดลูก หมอตำแย โบราณของคนไทยในสมัยก่อนนั้นเป็นอย่างไร ทีนี้ก็คงเหลือแต่รอดูแม่หญิงคลอดลูกแฝดให้ท่านหมื่นก็พอ เตรียมตัวฟินต่อไปพร้อม ๆ กันเลยนะคะ
ขอบคุณที่มา: MGR Online
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่