10 ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ของ การผ่าคลอด
แพทย์จะพิจารณาถึงความจำเป็นในการผ่าตัดคลอด ในกรณีที่มารดาไม่สามารถคลอดบุตรทางช่องคลอดได้อย่างปลอดภัย ซึ่งโดยทั่วไป มีข้อบ่งชี้ดังต่อไปนี้
- ทารกอยู่ในภาวะคับขัน มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
- ทารกมีภาวะสายสะดือย้อย
- ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง (อ่าน ทำคลอดทารกท่าก้น ทารกไม่กลับหัว สัญญาณอันตรายหรือไม่?)
- การผิดสัดส่วนระหว่างทารกกับอุ้งเชิงกรานของมารดา ทำให้การคลอดไม่สามารถดำเนินได้ตามปกติ (อ่าน คลอดยาก สาเหตุที่ทำให้คลอดยาก ทรมานระหว่างคลอด)
- ครรภ์แฝดที่ทารกคนแรกไม่อยู่ในท่าศีรษะ
- มารดามีเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน ปากมดลูกหรือช่องคลอด ที่ขัดขวางช่องทางคลอด
- มารดาที่เคยผ่าตัดคลอดบุตรหรือผ่าตัดมดลูก
- มารดาติดเชื้อเอดส์
- มารดาเป็นเริมที่อวัยวะเพศในช่วงเจ็บครรภ์คลอด
- มีภาวะรกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด (อ่าน รกเกาะต่ำ ภาวะรุนแรงที่สุดของการตั้งครรภ์)
ข้อดีและข้อเสียของ การผ่าคลอด
ข้อดีของการผ่าตัดคลอด
- ลดอัตราการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ซึ่งมีผลต่อการกลั้นปัสสาวะในช่วง 1 ปีแรกหลังคลอด
- โอกาสตกเลือดหลังคลอดน้อยกว่าการคลอดทางช่องคลอด
ข้อเสียของการผ่าตัดคลอด
- มารดามีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยาระงับความรู้สึก (อ่าน ผ่าคลอด ภาวะแทรกซ้อน เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้!)
- มารดามีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น บาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง แผลผ่าตัดติดเชื้อ เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ
- เพิ่มอัตราตายและภาวะทุพพลภาพของมารดามากกว่าการคลอดทางช่องคลอดประมาณ 3 เท่า
- เจ็บแผลมากกว่า การฟื้นตัวช้า ทำให้การเริ่มต้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช้าออกไป
- เพิ่มภาวะแทรกซ้อนในครรภ์ถัดไป เช่น มดลูกแตก รกติดแน่น รกเกาะต่ำ ภาวะตกเลือดหลังคลอด ซึ่งอาจจำเป็นต้องตัดมดลูก เกิดการบาดเจ็บต่อลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ
- มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระยะยาว เช่น เกิดพังผืดในช่องท้องทำให้ปวดท้องเรื้อรังหรือลำไส้อุดตัน
- ทารกมีโอกาสเกิดปัญหาการหายใจช่วงหลังคลอดเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว กลุ่มอาการหายใจลำบาก ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (อ่าน ภาวะน้ำท่วมปอด ในเด็กแรกเกิด เพราะผ่าคลอดตามฤกษ์)
- เพิ่มค่าใช้จ่าย
จริงอยู่ว่าผู้หญิงทุกคนสามารถคลอดลูกได้เองตามธรรมชาติ คือการคลอดทางช่องคลอด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน สำหรับแม่ท้องบางคน อาจมีปัจจัยที่ทำให้มีความจำเป็นในการผ่าตัดคลอด ซึ่ง การผ่าคลอด ที่มีข้อบ่งชี้ แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องทำเพราะมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการคลอดลูก ดังนั้น แม่ ๆ ที่ผ่าคลอดโดยมีข้อบ่งชี้ ก็ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใดค่ะ เพราะจริง ๆ แล้วการผ่าคลอด มีประโยชน์มากกว่าคลอดธรรมชาติในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
คลอด ธรรมชาติ หายใจและเบ่งอย่างไรให้ถูกวิธี?
“เตียงคลอดลูก” แบบใหม่ ดึงขื่อเบ่งคลอดแบบโบราณ
รวมสิทธิพิเศษ “แพคเกจคลอด 2562” จากทุกบัตรเครดิต
แชร์ประสบการณ์ผ่าคลอดลูก เกือบตาย คุณแม่ต่างแดนเล่าระทึก!!!
ขอบคุณข้อมูลจาก : ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย, ผศ.พญ. อภิรดี จิรัฐิติกาลโชต
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่