ใครที่ต้องตรวจอุ้งเชิงกราน
เมื่ออุ้งเชิงกรานมีความสำคัญต่อการตั้งครรภ์และการคลอด คุณแม่จึงควรใส่ใจและให้ความร่วมมือกับคุณหมอตรวจอุ้งเชิงกรานทุกครั้งเมื่อถึงเวลา โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีกรณีดังต่อไปนี้
- มีความสูงไม่เกิน 150 เซนติเมตร เนื่องจากผู้หญิงที่มีรูปร่างเตี้ย มักจะมีอุ้งเชิงกรานเล็ก และสอบเข้าหากัน ทำให้ช่องคลอดแคบตามไปด้วย
- ตั้งครรภ์แรกทุกราย
- เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนดทุกครรภ์ และลูกมีน้ำหนักน้อยกว่า 3,000 กรัม
- เคยคลอดยาก จนต้องใช้เครื่องมือช่วย
- มีประวัติคลอดแล้วลูกเสียชีวิต
- เคยตั้งครรภ์ลูกท่าผิดปกติ
อย่าตกใจ! อุ้งเชิงกรานแคบ ก็คลอดเองได้
เมื่อถึงระยะใกล้คลอด คุณแม่ควรให้คุณหมอที่รับฝากครรภ์ตรวจวินิจฉัยภายในเพื่อพิจารณาความพร้อมก่อนคลอด โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 3 ที่อุ้งเชิงกรานจะเริ่มขยายตัวออก แต่เมื่อตรวจแล้วพบว่า มีอุ้งเชิงกรานแคบ คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลใจ เพราะยังสามารถคลอดได้เองตามธรรมชาติ เพียงแต่ต้องรักษาน้ำหนักตัวของลูกให้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 3,000 กรัม ตัวคุณแม่เองก็ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อให้มีลมเบ่งที่ดี มีความอดทนในการคลอด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือความเสี่ยงใด ๆ ระหว่างคลอด และท่าของลูกในครรภ์จะต้องเป็นท่าปกติ ไม่เป็นท่าก้น นอนขวางท้อง แหงนหน้า หรือเอียงตัว ซึ่งจะทำให้คลอดยากขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้ ควรขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ฝากครรภ์ด้วยว่า คุณแม่จะสามารถคลอดเองได้หรือไม่ด้วย
อ่านต่อ>> เคล็ดลับคลอดง่าย…คุณแม่เชิงกรานแคบ คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่