กระเพาะปัสสาวะอักเสบในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้องต้องระวัง - amarinbabyandkids
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้อง ต้องระวัง

Alternative Textaccount_circle
event
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ รักษาได้อย่างไร

สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการฝากครรภ์ เพื่อตรวจสุขภาพครรภ์ และปัญหาสุขภาพอื่นๆ ซึ่งรวมไปถึงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบด้วย  โดยแพทย์จะเก็บตัวอย่างปัสสาวะ และนำไปตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย หากพบว่ามีกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แพทย์จะสั่งจ่ายยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยเป็นระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งวิธีีนี้เป็นวิธีการรักษาที่ปลอดภัยทั้งคุณแม่ และทารกในครรภ์

แต่อย่างไรก็ตาม ตัวคุณแม่ท้องเอง ก็ควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของตัวเองร่วมด้วย และหากยังรู้สึกแสบร้อนขณะปัสสาวะหรือมีอาการอื่น ๆ ได้แก่ ไข้ขึ้น ปวดท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หนาวสั่น หรือมดลูกบีบตัว ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อรักษาทันท่วงที และหมั่นพบแพทย์ เพื่อตรวจซ้ำอย่างสม่ำเสมอ กระเพาะปัสสาวะอักเสบในสตรีมีครรภ์ป้องกันได้อย่างไร

 

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ป้องกันได้ แค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน

  • พยายามดื่มน้ำเปล่าให้ได้ วันละ 6-8 แก้ว หรือ หมั่นจิบน้ำตลอดวัน
  • รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสังกะสี เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ
  • เลี่ยงบริโภคอาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน หรือปรุงแต่งด้วยน้ำตาล

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ และควรปัสสาวะให้สุด
  • ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้ง หลังปัสสาวะเสร็จ
  • ไม่ควรใช้สบู่ที่มีค่าความเป็นกรด หรือด่างสูง รวมถึงน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น และไม่ใช้แป้งทาบริเวณอวัยวะเพศ
  • เปลี่ยนกางเกงในทุกวัน และควรเลือกใช้กางเกงในที่ทำจากผ้าฝ้าย
  • หลังถ่ายหนัก ควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียในอุจจาระเข้าสู่ท่อไต
  • ไม่ควรแช่น้ำในอ่างอาบน้ำ นานเกิน 30 นาที หรือมากกว่าวันละ 2 ครั้ง
  • ไม่ควรสวมกางเกง หรือกระโปรงที่รัดแน่นจนเกินไป

เชื่อว่า คงไม่มีคุณแม่ๆคนไหนอยากจะให้ลูกน้อบในครรภืเป็นอันตราย ซึ่งดูแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยนะคะ ที่จะหันมาดูแลตัวเองให้มากขึ้น ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเท่านั้น เพื่อสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง ปลอดภัยของคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน รวมถึง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์ด้วย ลูกน้อยจะได้เกิดมาอย่างปลอดภัย มีความสุขทั้งครอบครัวนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูล www.pobpad.com

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

ปวดท้องบอกโรค กับ 7 ตำแหน่งทั่วท้องที่ต้องระวัง!

พบกับทารก คลอดก่อนกำหนด น้ำหนัก 400 ก. ต่อสู้ชีวิตจนรอด

รวม 12 อุบัติเหตุที่แม่ท้อง ต้องระวัง!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up