น้ำหนักที่ดีของแม่ท้อง
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเหมาะสมตามน้ำหนักรูปร่างและอายุครรภ์ตลอด 9 เดือน เพื่อไม่ให้ลูกน้อยและคุณแม่เองมีปัญหาสุขภาพและอื่นๆ มาดูกันว่าหากคุณแม่น้ำหนักไม่เหมาะสม จะส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
- น้ำหนักที่ขึ้นน้อยเกินไป ทำให้ลูกน้อยขาดสารอาหาร ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการพัฒนาร่างกาย คุณแม่เองก็จะเจ็บป่วย สุขภาพไม่ดี หรือไม่แข็งแรงพร้อมต่อการคลอดลูกน้อย จนเกิดปัญหาในอนาคตได้
- น้ำหนักที่เพิ่มมากเกินไป ทำให้ลูกตัวใหญ่มากเกินไป คลอดเองยาก มีโอกาสผ่าตัดคลอด
- น้ำหนักที่เพิ่มมากเกินไป ทำให้ลูกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย และสัมพันธ์กับการเสี่ยงต่อโอกาสคลอดก่อนกำหนด
- น้ำหนักที่เพิ่มมากเกินไป ทำให้คุณแม่อ้วน หลังคลอดก็ยังมีน้ำหนักตัวเกินและคงค้างอยู่สูง ลดน้ำหนักและกลับมารูปร่างสวยงามเหมือนก่อนคลอดได้ยากตามมาด้วย
เพื่อให้ลูกน้อยและคุณแม่สุขภาพดีไม่เสี่ยงโรคภัย มาดูกันว่าขณะตั้งครรภ์คุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเท่าไรดี
น้ำหนักตัวแม่ท้องตลอด 9 เดือน
ก่อนที่จะรู้ว่าน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ควรเพิ่มขึ้นเท่าไร คุณแม่ต้องมาคำนวณดัชนีมวลกาย(BMI) กันก่อนค่ะ
ดัชนีมวลกาย(BMI) =น้ำหนักคุณแม่ (กก.) หาร/ ความสูง (เมตร2)
ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
ก็นำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย
= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38
ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ
เมื่อคุณแม่คำนวณแล้ว มาดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไรตลอดการตั้งครรภ์ ?
- ค่า BMI น้อยกว่า 5 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่าปกติ
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5 – 18 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.51 กิโลกรัม
- ค่า BMI 18.5 – 22.9 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์ปกติหรือสมส่วน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 – 16 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.42 กิโลกรัม
- ค่า BMI 23 – 29.9 >คุณแม่มีน้ำหนักตัวก่อนตั้งครรภ์เกินมาตรฐาน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 – 11.5 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัม
- ค่า BMI 30 >คุณแม่มีภาวะอ้วน
ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 – 9 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.22 กิโลกรัม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่