3. Psyche สาเหตุทางด้านจิตใจของแม่ท้อง
เมื่อแม่ท้องรู้สึกกังวลและกลัวการคลอด ก็สามารถส่งผลให้คลอดยากได้เช่นกัน เพราะเมื่อแม่ท้องกลัวหรือกังวล ร่างกายก็จะหลั่งสารที่ไปยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ทำให้ใช้เวลาในการคลอดยาวนานขึ้น
4. Power ความผิดปกติจากแรงเบ่งและการหดรัดตัวของมดลูก
- มดลูกหดรัดตัวรุนแรงกว่าปกติ ไม่เป็นจังหวะ ไม่ประสานงานกัน การหดรัดตัวไม่ได้เริ่มที่ยอดมดลูก หรือ มดลูกส่วนกลางมีการหดรัดตัวมากกว่าส่วนยอด ส่งผลให้เกิดอันตรายดังต่อไปนี้
- มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ ทำให้ทารกไม่สามารถดันตัวออกมาได้
- แม่ท้องหมดหรือขาดแรงเบ่ง อาจเป็นเพราะเบ่งไม่เป็น หรืออ่อนเพลียเกินไปที่จะเบ่ง หรือ อยู่ในภาวะขาดน้ำ หรือ ได้รับยาแก้ปวดมากจนเกินไปจนไม่รู้สึกถึงการปวดเบ่ง สาเหตุนี้ส่งผลให้เกิดอันตรายดังต่อไปนี้
จะเกิดอะไรขึ้นหากแม่ท้องคลอดยาก?
ภาวะคลอดยากที่ก่อให้เกิดอันตรายกับแม่ท้อง
- ทำให้ช่องทางคลอดฉีกขาด แม่ท้องเสียเลือดมาก
- เสี่ยงต่อการติดเชื้อแผลที่ช่องคลอดมาก เพราะเสียเลือดมาก เย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บใช้เวลานาน เนื้อเยื่ออวัยวะเพศชอกช้ำมาก จึงติดเชื้อง่าย
- หากเสียเลือดมากและให้เลือดทดแทนจำนวนมาก หรือไม่เพียงพอ อาจเกิดภาวะเลือดออกทั่วร่างกาย
- เสี่ยงต่อการได้รับการใช้เครื่องมือช่วยคลอด ได้แก่ คีมช่วยคลอด เครื่องดูดสุญญากาศ
- เสี่ยงต่อการได้รับการผ่าตัดคลอด
- หากทารกตัวโต จะทำให้กล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี ทำให้เสียเลือดมาก และเพิ่มโอกาสตกเลือดหลังคลอด
- เสี่ยงต่อมดลูกแตก
ภาวะคลอดยาก ที่ทำให้เกิดอันตรายกับลูกในท้อง
- ร่างกายทารกชอกช้ำจากการคลอดยาก หรือจากหัตถการช่วยคลอดต่างๆ
- การคลอดติดไหล่ (Shoulder dystocia) ทำให้มีภยันตรายต่อเส้นประสาทของแขน(Brachial plexus injury)ทารกจากกระบวนการช่วยคลอด ทำให้ทารกยกแขนหรือกำมือไม่ได้
- เกิดความพิการทางสมองของทารกเนื่องจากคลอดยาก ส่งผลทำให้สมองขาดออกซิเจน ซึ่งความรุนแรงของอาการทางสมองขึ้นกับว่าขาดออกซิเจนนานเพียงใด
- ทารกมีโอกาสเสียชีวิตได้
ภาวะคลอดยาก ป้องกันได้อย่างไรบ้าง?
ภาวะคลอดยาก ไม่ได้เกิดจากการที่แม่ท้องไม่ระวังตัว หรือ เกิดจากการกระทำของแม่ท้องเพียงอย่างเดียว บางเหตุการณ์ก็เป็นเรื่องที่สุดวิสัย ที่ทำให้คลอดยาก ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้ สิ่งที่แม่ท้องควรทำคือ
- ฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ และไปหาหมอทุกครั้งตามนัด
- ดูแลสุขภาพตนเองระหว่างตั้งครรภ์ตามคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาล เช่น ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ไม่ควรให้น้ำหนักตัวมารดาเพิ่มมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ และหากมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาล แต่ ในกรณีที่มีปัญหาเรื่อง ช่องเชิงกราน เนื้องอกต่างๆ เช่น เนื้องอกในอุ้งเชิงกราน เนื้องอกมดลูก เป็นสิ่งที่ป้องกันไมได้ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีการคลอดที่เหมาะสมต่อไป
แม้ว่าการคลอด เป็นประสบการณ์ที่น่ากลัวสำหรับแม่ท้อง ไม่มีแม่ท้องคนไหนที่ไม่กลัวการคลอด แต่สิ่งที่ได้รับหลังคลอดนั้นกลับสวยงามและเป็นสิ่งที่แม่ท้องรอคอย ดังนั้น แนะนำให้ทำใจให้สบาย ผ่อนคลาย และเชื่อมั่นในฝีมือของคุณหมอ และพยาบาลที่ทำคลอดค่ะ
อ่านบทความที่น่าสนใจได้ที่นี่
วิธีเร่งคลอด มีกี่แบบ? จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเร่ง
ท้องแข็งใกล้คลอด เป็นแบบไหน? ท้องแข็งแบบไหนอันตราย
คลอดธรรมชาติแบบบล็อคหลัง อีกหนึ่งทางเลือกของคุณแม่
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : haamor.com, afairgo.net, babycenter.com, tobepregnant.net
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่