ลักษณะการดิ้นของทารกในครรภ์แต่ละช่วงสัปดาห์
- สัปดาห์ที่ 16-19 การรับรู้การดิ้นของลูกจะยังไม่ชัดเจน เพราะแม่ท้องจะยังแยกไม่ค่อยออกว่าเป็นเพราะลมในกระเพาะหรือเป็นเพราะลูกดิ้น (สำหรับแม่ท้องสองขึ้นไปนั้น จะมีประสบการณ์ในการแยกแยะแล้วว่าลักษณะไหนเป็นการดิ้นของลูก จึงรับรู้การดิ้นครั้งแรกของลูกได้เร็วกว่า)
- ในสัปดาห์ที่ 20-23 การดิ้นของลูกในท้องจะเริ่มชัดเจนขึ้น แม่ท้องจะเริ่มรับรู้การเคลี่ยนไหวเบา ๆ ภายในท้อง ซึ่งอาจจะเกิดจากการสะอึก เตะ หมุนตัว ตีลังกา แม่ท้องจะรู้สึกว่าลูกดิ้นบ่อยและแรงในช่วงที่คุณแม่กำลังผ่อนคลายหรือหลังจากการทานอาหาร (นั่นหมายถึงลูกกำลังมีความสุขอยู่นั่นเองค่ะ)
- สัปดาห์ที่ 24-28 ในช่วงวัยของทารกในท้องช่วงนี้ จะมีของเหลวในถุงน้ำคร่ำเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกในท้องมีพื้นที่ที่จะซนมากขึ้น ทำให้แม่ท้องรู้สึกได้ว่าทำไมในช่วงนี้ลูกถึงดิ้นบ่อยขึ้น
- ช่วงสัปดาห์ที่ 29-31 การดิ้นของลูกในช่วงนี้จะสม่ำเสมอและคงที่ ชัดเจนและแรงมากขึ้น สำหรับเจ้าหนูนักสู้ ก็จะเริ่ม เตะและต่อยแรงขึ้น ในช่วงอายุครรภ์ช่วงนี้เป็นต้นไป คุณหมอจะเริ่มให้คุณแม่เริ่มนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นแล้ว ซึ่งการนับลูกดิ้นในช่วงอายุครรภ์ช่วงนี้ มีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับการประเมินสุขภาพของลูกในท้อง
- สัปดาห์ที่ 32-35 เป็นช่วงเวลาสนุกของแม่ท้องเลยล่ะค่ะ เพราะลูกจะดิ้นบ่อยที่สุดในช่วงนี้
- สัปดาห์ที่ 36-40 ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้คลอดแล้ว ลูกจะเริ่มเอาหัวลงกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานของแม่เพื่อเตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว และลูกก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้มีพื้นที่ในการดิ้นแคบลง ดังนั้นลูกจึงดิ้นน้อยลงในช่วงนี้ แต่ทุกครั้งที่ดิ้น แม่ท้องจะรับรู้ได้อย่างชัดเจน และในบางครั้งด้วยขนาดตัวที่ใหญ่ การดิ้นของลูกในช่วงนี้อาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวหรือเจ็บได้
ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน
โดยปกติแล้วลูกจะดิ้นประมาณ 200 ครั้งต่อวัน เมื่แม่ท้องมีอายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ และลูกจะดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะมีการพัฒนาระบบประสาทและกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง จนลูกสามารถดิ้นได้สูงสุดเมื่อแม่ท้องมีอายุครรภ์ประมาณ 30-32 สัปดาห์ ซึ่งอัตราการดิ้นอาจสูงถึง 375-700 ครั้งต่อวัน แต่หลังจากนั้นลูกจะดิ้นน้อยลง เนื่องจากลูกตัวโตขึ้นจนเต็มโพรงมดลูก ทำให้มีพื้นที่ในการดิ้นน้อยลง
6 วิธีดี๊ดีในการนับลูกดิ้น
การจดบันทึกว่าลูกดิ้นไปกี่ครั้งแล้วใน 1 วันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนับลูกดิ้น แต่ในความเป็นจริง จะให้แม่ท้องมาจดบันทึกตลอดเวลานั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะหากแม่ท้องที่ต้องทำงาน ในช่วงเวลาที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่นั้นอาจจะไม่ทันรู้สึกว่าลูกกำลังดิ้นอยู่ ดังนั้นคุณหมอจึงมีหลักในการจดบันทึกลูกดิ้นอยู่ 6 วิธีด้วยกัน ดังนี้
- จดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นตลอด 24 ชั่วโมง หรือจดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นในช่วงที่คุณแม่ตื่น คือ ช่วง 9 โมงเช้า จนถึงบ่าย 3 โมงเย็น วิธีนี้ในทางปฏิบัติ คุณแม่มักจะไม่ค่อยสะดวกมากนัก
- จดบันทึกจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นหลังแม่ท้องทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่แม่ท้องจะมีน้ำตาลในเลือดสูง จึงทำให้ลูกได้รับพลังงานมากขึ้นและดิ้นบ่อยเป็นพิเศษ โดยภายใน 1 ชั่วโมง หลังมื้ออาหารลูกควรดิ้นไม่ต่ำกว่า 3 ครั้ง เมื่อรวมกัน 3 มื้อใน 1 วัน ลูกจึงควรดิ้นรวมกันต้องมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน หากหลังมื้ออาหารใดมื้ออาหารหนึ่ง ลูกดิ้นน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 ชั่วโมง ให้นับต่ออีก 1 ชั่วโมง และหากยังน้อยกว่า 3 ครั้งอีก ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน วิธีนี้เป็นวิธีที่คุณหมอนิยมใช้ เพราะช่วงเวลาหลังมื้ออาหาร แม่ท้องจะได้พักผ่อนและผ่อนคลาย ทำให้สะดวกในการสังเกตุลูกดิ้น
- ให้นับลูกดิ้นหลังมื้ออาหารเช่นกัน แต่จะต้องดิ้นอย่างน้อย 4 ครั้งต่อมื้อ (ไม่น้อยกว่า 12 ครั้งต่อวัน) หากลูกดิ้นน้อยกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมงหลังมื้ออาหารมื้อใด ให้นับต่อไปจนครบ 6 ชั่วโมง หากยังน้อยกว่า 4 ครั้งใน 6 ชั่วโมงอีก หรือรวมแล้วลูกดิ้นน้อยกว่า 12 ครั้งต่อวัน ให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วนเช่นกัน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ ลูกดิ้นตอนกี่เดือน 6 วิธีดี๊ดีในการนับลูกดิ้น