เชื่อว่ามีคุณแม่ท้องหลายคนสงสัยว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องของเราหนักเท่าไหร่ ตัวใหญ่ หรือตัวเล็ก ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่จะเช็กน้ำหนักตัวของลูกน้อยได้คือดูจาก ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ อีกทั้งยังมีวิธีการตรวจแบบต่างๆ มากมายจากคุณหมอ
ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์ สำหรับเช็กขนาดของลูกน้อย
สำหรับเรื่องการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ หากคุณแม่ท้องสงสัยว่าลูกของเราจะแข็งแรงสมบูรณ์ และตัวเล็กหรือตัวใหญ่ มีน้ำหนักเท่าไหร่นั้น คุณหมอจะสามารถตรวจสุขภาพของทารกในครรภ์ได้หลายวิธี ได้แก่
1. การวัดความสูงของยอดมดลูก
เมื่อคุณแม่มาฝากครรภ์ทุกครั้ง คุณหมอจะทำการตรวจการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ทางอ้อม เพราะถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงจะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดมดลูกสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงระยะตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34
2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์
ซึ่งคุณแม่รับรู้การดิ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 16-20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่เด็กดิ้นน้อยลงมักพบร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย ทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นประมาณ 12-48 ชั่วโมง ก่อนตาย การที่ลูกดิ้นน้อยลงจึงเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ ขึ้นไป
3. การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง หรืออัลตร้าซาวด์
เป็นการตรวจโครงสร้างและอวัยวะต่างๆ ของทารกในครรภ์ ว่าเจริญเติบโตปกติหรือไม่ และใช้ค้นหาความพิการแต่กำเนิด นอกจากนี้ยังสามารถตรวจเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของทารก ปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรกและตำแหน่งที่รกเกาะและสายสะดือ
การตรวจสามารถทำได้ 2 ทาง คือ การตรวจผ่านทางช่องคลอด และการตรวจผ่านหน้าท้องมารดา เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก มีทั้งแบบ 2 มิติ 3 มิติ และ 4 มิติ ซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถเห็นและตรวจทารกในครรภ์ได้ชัดเจนขึ้น
4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์
เพื่อนำมาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น วิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจ ได้แก่ การเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดเลือดทารกโดยตรง
5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก
โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยหลักการว่า ถ้าทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงไม่ขาดออกซิเจน เมื่ออายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ขึ้นไป เมื่อทารกดิ้นจะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้น
คลิกหน้า 2 “เพื่อเช็กดูน้ำหนักของลูกน้อย จากตารางการเปรียบเทียบน้ำหนักและส่วนสูงของทารกในครรภ์”
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.rcpsycht.org
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่