“ลูกน้อยตัวเล็ก” ไม่ใช่เพราะ “ลูกผิดปกติ” เสมอไป
อย่างไรก็ตาม ทารกในครรภ์ที่ตัวเล็ก ก็ไม่ใช่ทารกที่ผิดปกติเสมอไปนะครับ โดยทารกในครรภ์ที่ตัวเล็ก ก็สามารถเป็นทารกที่ปกติ มีการพัฒนาของร่างกายและระบบประสาทและสมองที่ปกติได้ แต่สาเหตุที่ตัวเล็กนั้นอาจมาจากเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ ที่มีขนาดของร่างกายที่เล็กเหมือนกัน แต่ที่คุณหมอและพ่อแม่จะกังวลคือ ทารกตัวเล็ก เป็นทารกที่ผิดปกติ และจะส่งผลต่อสุขภาพของทารกเอง ซึ่งมีสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เช่น
สาเหตุจากแม่
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะซีด โรคหัวใจทำงานผิดปกติ ทำให้การส่งออกซิเจนไปยังลูกไม่เพียงพอ
- ดื่มเหล้าระหว่างตั้งครรภ์ ทำให้ทารกผิดปกติ พิการ ปัญญาอ่อนได้ (Fetal alcohol syndrome)
- สูบบุหรี่ ซึ่งจะมีผลทำให้รกเสื่อมเร็ว
- ขาดอาหาร
- น้ำหนักตัวน้อย
สาเหตุจากลูก
- โครโมรโซมผิดปกติ เช่น กลุ่ม ดาวน์ซินโดรม (Down’s syndrome, Trisomy 21) นอกจากนั้นพวกผิดปกติชนิด Trisomy 13 หรือชนิด Trisomy 18 ทารกก็มีการเจริญเติบโตช้าเช่นกัน
- มีความพิการแต่กำเนิด ทำให้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่
- ครรภ์แฝด โดยเฉพาะแฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียว ที่มีการเชื่อมต่อผิดปกติของหลอด เลือด ทำให้มีการถ่ายเทเลือดระหว่างเด็กแฝดผิดปกติ ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กแฝดผิดปกติ
- มีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมัน ส่งผลให้เซลล์ของร่าง กายถูกทำลาย ทารกจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ ทำให้ทารกตัวเล็ก
สาเหตุจากมดลูก รก และ/หรือ สายสะดือ
- มดลูกรูปร่างผิดปกติ เช่น มีผนังกั้นในโพรงมดลูก (ปกติจะไม่มีผนังกั้นในโพรงมด ลูก) ขนาดโพรงมดลูกจึงแคบผิดปกติ ทารกจึงเจริญเติบโตได้ไม่ดี, มีเนื้องอกมดลูกทำให้โพรงมดลูกบิดเบี้ยว รกฝังตัวไม่ดี
- รกเสื่อม
- รกลอกตัวบางส่วน
- รกเกาะต่ำ
- มีเนื้องอกของรก
- สายสะดือพันกัน หรือผูกเป็นปม
ทั้งนี้ในเรื่องของความผิดปกติทั้งหมดเหล่านี้ ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ ทารกจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่
วิธีเพิ่มน้ำหนักเจ้าตัวน้อยในครรภ์เติบโตให้ได้มาตรฐาน
สำหรับแนวทางในการรักษา หากพบว่าปัญหาลูกน้อยมีน้ำหนักตัวต่ำมากเกินไป ทำให้เด็กทารกในครรภ์ตัวเล็กมากกว่าปกติ สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถทำได้อย่างง่ายที่สุด นั่นก็คือการเลือกเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่งแตกต่างจากการกินอาหารเพื่อเน้นพลังงาน กินอาหารให้หลากหลายครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ นม เนื้อสัตว์ โดยทั้งหมดควรเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป
ในระหว่างวันคุณแม่ตั้งครรภ์ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด เพราะอาการเหล่านี้จะไปส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยให้หยุดชะงัก เสี่ยงที่เด็กจะมีขนาดตัวเล็กกว่าเกณฑ์ได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยท่าที่เหมาะสม
หากมีโรคประจำตัวควรดูแลตัวเองให้ดี พบแพทย์และรักษาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด แต่หากความผิดปกติที่เกิดขึ้นมีภาวะอื่นที่น่าสงสัยแทรกซ้อนมาด้วย ควรรีบเข้ารับการตรวจจากแพทย์เพื่อหาสาเหตุ จะได้ดูแลรักษาภาวะผิดปกติที่อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยได้ทันนั่นเองค่ะ
อ่านต่อ “บทความดีๆน่าสนใจ” คลิก!
- ขนาดของทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์
- เพิ่มน้ำหนักให้ลูกในท้อง แม่ทำได้ด้วย 5 วิธี
- ไขข้อสงสัย! ทารกแรกเกิดควรมีน้ำหนักเท่าไหร่?
- ตัวย่ออัลตร้าซาวด์ มีความหมายและบอกอะไรเกี่ยวกับทารกในครรภ์ได้บ้าง?
ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com , women.sanook.com