แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าก็คือ การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับยีนสติปัญญาของหนูทดลอง โดยทีมวิจัยได้ค้นพบว่าหนูที่มียีนตกทอดจากแม่มากกว่า จะมีขนาดสมองที่ใหญ่กว่า แต่ลำตัวจะเล็กกว่า ตรงกันข้ามกับหนูที่มียีนจากพ่อมากกว่า ซึ่งจะมีขนาดสมองที่เล็กกว่า แต่ลำตัวจะใหญ่กว่า
และยีนความฉลาดที่ตกทอดจากแม่มาสู่ลูกจะพบได้มากในบริเวณ Cerebral Cortex (เปลือกสมอง) ซึ่งเป็นส่วนที่คอยสั่งการใช้ความคิดเชิงตรรกะ เช่น การเรียนรู้ภาษาหรือการวางแผน
และเมื่อเปรียบเทียบกับ ยีนที่ตกทอดมาจากรุ่นพ่อแล้ว นักวิจัยพบว่ายีนชนิดนี้จะพบได้มากในบริเวณระบบลิมบิค (Lymbic System) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำงานเกี่ยวกับกลไกการสืบพันธุ์ อาหาร และความโกรธเกรี้ยว
จากการค้นพบดังกล่าวทำให้ทฤษฏีที่ว่า ลูกได้รับความฉลาดจากแม่มากกว่าพ่อ ก็ดูว่าจะเป็นเรื่องจริง ที่ไปในทางเดียวกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.catdumb.com
ที่มา: Independent, psychology-spot
ยีนการเรียนรู้ถูกเปิด ถูกปิด ตอนไหน?
มีการวิจัยระบุว่ายีนแห่งการเรียนรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิดนั้น มีโอกาสที่จะถูกปิดลงได้ ซึ่งเกิดขึ้นได้ถ้าช่วงระหว่างตั้งครรภ์ 3 เดือนก่อนคลอด แม่มีภาวะเครียดมีระดับฮอร์โมนความเครียดมาก จะส่งผลให้ยีนที่สร้างอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง และยีนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ของลูกถูกปิดลง และยีนหลายตัวจะถูกเปิดออก เช่น ยีนทำให้เด็กมีความอ่อนไหวด้านอารมณ์ของความเครียดสูง กลายเป็นเด็กที่ไวต่อความเครียดได้ง่าย แต่ถ้าเด็กๆ ได้รับการดูแลที่ดี ส่งเสริมพัฒนาการดีได้รับความรัก ความอบอุ่น และ ให้โภชนาการที่ดี
ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมที่จะทำให้เกิดยีนการเรียนรู้ หรือยีนความฉลาด ขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลไม่ว่าลูกของเราจะมียีนการเรียนรู้อยู่ในตัวหรือไม่ถ้าพ่อแม่ส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะตามวัย กระตุ้นในสิ่งที่ลูกชอบ ก็จะเกิดการพัฒนา และนำไปสู่การเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี เป็นเด็กฉลาดสมวัยได้
กระตุ้นพัฒนาการสมองเมื่อไรดี?
นับตั้งแต่ไข่จากแม่และตัวอสุจิจากพ่อมาผสมกัน เกิดเป็นหน่วยชีวิตเล็กๆที่เรียกว่า เซลล์ จากเซลล์เพียงเซลล์เดียวก็จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและพัฒนาต่อเนื่องไปเรื่อยเกิดเป็นเซลล์ที่สร้างระบบอวัยวะต่างมากมายจนเกิดเป็นลูกน้อยอยู่ในท้องของคุณแม่ เซลล์สมองก็เช่นเดียวกับเซลล์ของระบบอวัยวะอื่น กล่าวคือจะเริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์เช่นเดียวกันและจะมีการเพิ่มทั้งจำนวนและขนาด เกิดเป็นเนื้อสมองและเส้นใยประสาทที่เชื่อมโยงกับสมองและเชื่อมโยงกันเองเกิดเป็นข่ายใยเส้นประสาทอย่างมากและรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ต่างๆ ตั้งแต่ลูกน้อยมีอายุประมาณ 8 สัปดาห์ เรื่อยไปจนถึงคลอดออกมาแล้วมีอายุ 2 ขวบ หลังจากนั้นพัฒนาการของสมองก็จะลดลง ดังนั้นช่วงทองที่ควรจะกระตุ้นพัฒนาลูกน้อยจึงควรเป็นช่วงเวลาดังกล่าว
√ ทางลัดวิธีกระตุ้นลูกน้อยให้สมองดีตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
การที่คนเราจะมีสมองดีหรือมีความเฉลียวฉลาดมีปัจจัยที่มาเกี่ยวข้องหลายประการ ปัจจัยที่สำคัญมี 3 ประการ คือ กรรมพันธุ์ อาหารการกินของแม่ขณะตั้งครรภ์และของลูกภายหลังคลอด และประการสุดท้ายคือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวเด็กทั้งขณะที่อยู่ในท้องและภายหลังคลอด
ปัจจัยทางกรรมพันธุ์เป็นเรื่องที่ติดตัวมาตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ พ่อแม่ที่เฉลียวฉลาดก็จะถ่ายทอดลักษณะที่ดีนี้มาให้ลูกได้ เหมือนกับโรงงานไหนที่ผลิตสินค้าที่คุณภาพดี ก็จะผลิตแต่สินค้าคุณภาพดี แต่บางโรงงานที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าได้แค่เพียงสินค้าคุณภาพต่ำ ผลิตอย่างไรสินค้าก็คุณภาพดียาก คุณแม่คงจะเห็นได้ว่าเด็กบางคนพ่อแม่ไม่ได้ให้การดูแลอะไรเป็นพิเศษทั้งขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอดแล้ว ก็ยังฉลาดได้เลย
พ่อแม่ที่คิดว่าตัวเองสมองไม่ค่อยดีก็อย่าเพิ่งสิ้นหวังเสียทีเดียว เพราะความเฉลียวฉลาดของคนเรายังขึ้นกับ อาหารการกินและสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้วอีกด้วย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้นำมาซึ่งแนวคิดในการกระตุ้นพัฒนาการสมองของลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั่นเอง
อ่านต่อ >> 5 ทางลัดวิธีกระตุ้นลูกน้อยให้สมองดี แบบง่ายๆ คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่