กลัวลูกออกมาไม่สมบูรณ์ …การตั้งครรภ์เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทั้งความสุข ความตื่นเต้นให้กับสมาชิกในครอบครัวและสิ่งหนึ่งที่เป็นความคาดหวังของผู้เป็นพ่อแม่ก็คือ ลูกน้อยในครรภ์จะเติบโตด้วยความสมบูรณ์แข็งแรง มีอวัยวะครบ 32 ประการ
แต่การขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองของผู้เป็นแม่ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์จนถึงระยะครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 1 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาสมองและระบบประสาทของทารก ซึ่งหากแม่ท้องได้รับสารอาหารหรือการดูแลที่ไม่เพียงพอ ทารกจะเสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิดและจะมีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่และเชาว์ปัญญาต่ำ
เรื่องสำคัญแม่ท้องต้องทำ! หาก กลัวลูกออกมาไม่สมบูรณ์ ครบ 32
ความผิดปกติของทารกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์แม่ เป็นภาวะที่พบได้ตามธรรมชาติ เช่น ฝาแฝดตัวติดกัน คนมีแขนขาสั้น คนแคระ เด็กหัวบาตร ที่ถูกพามาแสดงในงานวัด ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่เรียกว่าเป็นความพิการแต่กำเนิด
โดยเมื่อแรกคลอดพบว่าเด็กพิการอย่างใดอย่างหนึ่งร้อยละ 3.5 เมื่อได้ติดตามต่อไปจนถึงอายุ 5 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.5 เพราะความพิการบางอย่างซ่อนอยู่และแสดงออกภายหลัง
เด็กบางคนคลอดออกมาลืมตาแป๋วแต่ความจริงตาบอดมองไม่เห็น พ่อแม่จะทราบในภายหลัง บางคน 2 ขวบแล้วยังไม่พูดสักทีพบว่าหูไม่ได้ยิน เป็นต้น ซึ่งความรุนแรงก็มีความแตกต่างกันตั้งแต่อาการน้อยมากจนถึงตาย ซึ่งเด็กที่เกิดมามีความพิการมากจำนวนร้อยละ 10 ตายตั้งแต่อายุ 1 เดือนแรก
- ทั้งนี้ความพิการแต่กำเนิดมีหลายอย่าง อาจเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ความผิดปกติของยีนสิ่งแวดล้อม ซึ่งความพิการทางกาย บางอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่แต่ก็สามารถป้องปันไม่ให้เกิดกับทารกได้เช่นกัน
- รวมไปถึงความพิการบางอย่างอาจมาจากการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งมักไม่รู้ว่าตนเองตั้งครรภ์อาจเป็นเพราะไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะมีลูก จึงไม่ได้เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย ก็ทำให้เด็กในครรภ์เสี่ยงต่อความพิการแต่กำเนิดได้ เช่นกัน
Good to know : โรคพิการแต่กำเนิดมีมากกว่า 7,000 โรค ปัจจุบันมีทารกพิการแต่กำเนิดทั่วโลกกว่า 8 ล้านคน ประเทศไทยมีทารกแรกเกิด 800,000 คน /ปี พบพิการแต่กำเนิด 3-5 % หรือ 24,000-40,000 คน/ปี ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการจดทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ
1. เตรียมฝากครรภ์ และตรวจหาความผิดปกติของทารก
สำหรับว่าที่คุณแม่ ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ สิ่งสำคัญคือเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ ควรรีบไปฝากครรภ์ทันที การตรวจว่าทารกในครรภ์สมบูรณ์ดีหรือไม่ เริ่มตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่มาฝากครรภ์ แพทย์จะตรวจเลือดและปัสสาวะเพื่อดูความพร้อมของสุขภาพแม่ และนัดติดตามดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์เป็นระยะๆ หากตรวจพบว่าเป็นปกติ ทารกก็น่าจะสมบูรณ์ดี แต่อย่างไรก็ตามต้องเน้นย้ำว่า “การตั้งครรภ์เป็นความเสี่ยงของคุณแม่และทารกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์และการคลอด” เพราะทางการแพทย์ยังไม่สามารถติดตามดูทารกได้ตลอดเวลา ยังต้องอาศัยความร่วมมือในการนับการดิ้นของทารกในครรภ์แม่ เพื่อช่วยบอกความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งความรู้ ความเข้าใจและร่วมมือกันระหว่างแพทย์และครอบครัวก็จะลดปัญหาและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้
Must read : นัดตรวจครรภ์ครั้งแรก เตรียมตัวอย่างไรดี
Must read : 4 ทางเลือกในการตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรม แบบไหนดีที่สุด?
โดยสูติแพทย์จะทำการตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เช็กประวัติคุณพ่อและคุณแม่ เพื่อดูความเสี่ยงของการเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรม การอัลตราซาวด์ การตรวจเลือด การเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจดูโครโมโซมว่า ผิดปกติหรือไม่ และเมื่ออายุครรภ์อยู่ในช่วงระยะตตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ก็จะมีการวัดความสูงยอดมดลูก ซึ่งจะแสดงได้ถึงทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และการตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจทั้งหมดนี้จะช่วยให้คุณแม่ท้อง รู้ได้ว่าลูกในท้องมีภาวะที่เป็นปกติหรือไม่
อ่านต่อ >> “สารอาหารสำคัญเพื่อลูกครบ 32 และมีสมองดี” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่