ตรวจโรคทางพันธุกรรม ก่อนตั้งครรภ์ จำเป็นไหม? - Amarin Baby & Kids
ตรวจโรคทางพันธุกรรม

ตรวจโรคทางพันธุกรรม ก่อนตั้งครรภ์ จำเป็นไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
ตรวจโรคทางพันธุกรรม
ตรวจโรคทางพันธุกรรม

เมื่อตัดสินใจที่จะมีลูกแล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ การตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมตัวตั้งครรภ์ การ ตรวจโรคทางพันธุกรรม ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ว่าที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องตรวจเพื่อให้การตั้งครรภ์มีคุณภาพ และเพื่อป้องกันโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของลูกได้

ตรวจโรคทางพันธุกรรม ก่อนตั้งครรภ์ จำเป็นไหม?

โรคทางพันธุกรรมคืออะไร?

โรคทางพันธุกรรม (Genetic Disorders) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในพันธุกรรม หรือเกิดขึ้นในโครโมโซม ซึ่งสามารถถ่ายทอดภายในครอบครัวจากรุ่นสู่รุ่นได้ และก่อให้เกิดความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ ทำได้เพียงรักษาตามอาการและติดตามผลเป็นระยะเท่านั้น โรคทางพันธุกรรม คือการผิดปกติของ ยีน โครโมโซม และดีเอ็นเอ ซึ่ง 3 ตัวนี้ เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างสิ่งมีชีวิต เป็นสิ่งหรือขั้นตอนที่บอกร่างกายของเราว่าต้องทำงานอย่างไร เซลล์แต่ละเซลล์ทำหน้าที่อะไร ต้องผลิตอะไร เป็นส่วนหนึ่งของระบบ หรืออวัยวะไหน โดยหน่วยที่เล็กที่สุดทางพันธุกรรม คือ ยีน (Gene) เมื่อมียีนหลาย ๆ ยีนรวมกัน ก็จะกลายเป็นสายดีเอ็นเอที่มีลักษณะเป็นแท่งเกลียว และเมื่อสายดีเอ็นเออยู่รวมกันมาก ๆ ก็จะกลายเป็นโครโมโซม

โรคทางพันธุกรรม
โรคทางพันธุกรรม เกิดขึ้นจากยีนที่เป็นพาหะของพ่อหรือแม่ ส่งผลให้เกิดโรคกับลูกได้

โครโมโซม เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ในแต่ละเซลล์ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยในแต่ละนิวเคลียสจะมีโครโมโซมทั้งหมด 23 คู่ หรือทั้งหมด 46 แท่ง โครโมโซม 22 คู่แรกจะทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ในร่างกายยกเว้นเรื่องเพศ ส่วนโครโมโซมคู่ที่ 23 จะควบคุมลักษณะความแตกต่างกันในเรื่องเพศ ทำให้เกิดเป็นเพศชายและหญิง หากเป็นเพศหญิง จะมีโครโมโซม X 2 ตัว ส่วนเพศชายจะมีโครโมโซม X และ Y อย่างละ 1 ตัว ทั้งนี้การถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะถูกส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นผ่านการปฏิสนธิ ซึ่งโครโมโซมจะถูกถ่ายทอดมาจากทางอสุจิของเพศชาย 23 แท่ง และทางไข่ของเพศหญิง 23 แท่ง รวมกันเป็น 46 แท่ง

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ ตรวจโรคทางพันธุกรรม ก่อนตั้งครรภ์ ควรตรวจหาโรคอะไรบ้าง?

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up