“สมัยนี้คุณแม่มีลูกกันเมื่ออายุมากขึ้น แต่ขอเพียงตรวจพบได้เร็ว ในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณแม่ท้องที่อายุมากและครอบครัวสบายใจได้ค่ะ” คุณหมอณัฐฐิณี ศรีสันติโรจน์ สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ เปิดประเด็นที่อยากฝากถึงคุณแม่ท้องที่อายุมาก พร้อมข้อควรรู้การ ตรวจครรภ์ ที่น่าสนใจมาฝากกันค่ะ
ถึง 35 UP แต่ท้องได้ แค่..ตรวจครรภ์..ช่วยลดความเสี่ยง
ไตรมาสแรก ตรวจครรภ์ ลดความกังวล ภาวะดาวน์ซินโดรม
ขอเริ่มต้นที่ การตรวจภาวะดาวน์ซินโดรม* เพราะเป็นเรื่องที่คุณแม่อายุมากส่วนใหญ่ไม่อยากให้เกิดกับลูกน้อย และคุณแม่ก็มักกังวลกับการตรวจ แต่คุณหมอกระซิบว่า ทุกวันนี้คุณแม่สบายใจได้มากขึ้น เพราะมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการตรวจหาภาวะดาวน์ซินโดรม ให้เป็นทางเลือกของคุณแม่ได้ ตรวจครรภ์ ในวิธีที่หลากหลายขึ้นค่ะ
• เจาะเลือดแม่ตรวจฮอร์โมนจากรก
ใช้วิธีเจาะเลือดคุณแม่เพื่อคำนวณหาปริมาณซีรั่มหรือฮอร์โมนในเลือดแม่ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่อยู่ด้านหลังต้นคอของทารกในครรภ์จากการตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ ผลของการหาปริมาณฮอร์โมนต่างๆ ร่วมกับการวัดความหนาของของเหลวที่ต้นคอทารกในครรภ์ จะบอกความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะเป็นดาวน์ซินโดรมว่ามีความเสี่ยง 1:xxx คือมีจำนวนเด็ก 1 คน ต่อเด็กจำนวน xxx คน ที่จะเป็นดาวน์ซินโดรม สำหรับคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป เรามีตารางให้เปรียบเทียบว่าอายุของคุณแม่มีผลต่อความเสี่ยงของลูกที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมเท่าไร ดังนี้
Maternal age at term | Risk of Down’s syndrome | Maternal age at term | Risk of Down’s syndrome | Maternal age at term | Risk of Down’s syndrome |
20 | 1:1450 | 30 | 1:940 | 40 | 1:85 |
21 | 1:1450 | 31 | 1:820 | 41 | 1:70 |
22 | 1:1450 | 32 | 1:700 | 42 | 1:55 |
23 | 1:1400 | 33 | 1:570 | 43 | 1:45 |
24 | 1:1400 | 34 | 1:460 | 44 | 1:40 |
25 | 1:1350 | 35 | 1:350 | 45 | 1:35 |
26 | 1:1300 | 36 | 1:270 | 46 | 1:30 |
27 | 1:1200 | 37 | 1:200 | 47 | 1:30 |
28 | 1:1150 | 38 | 1:150 | 48 | 1:30 |
29 | 1:1050 | 39 | 1:110 | 49 | 1:25 |
ข้อมูลในตารางจาก : https://www.qmul.ac.uk/wolfson/services/antenatal-screening/screening-tests/calculating-the-risk-of-downs-syndrome/
คุณแม่สามารถใช้ผลของการเจาะเลือดนี้มาประกอบการตัดสินใจว่าผลความเสี่ยงจากการเจาะเลือดที่คุณแม่ได้รับเทียบเท่ากับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในอายุเท่าไร ข้อดีของการตรวจแบบนี้คือ ความปลอดภัย เนื่องจากใช้เลือดแม่ในการตรวจ ไม่มีความเสี่ยงกับลูกน้อยในครรภ์ แต่มีข้อจำกัดก็คือความแม่นยำในการแปลผลยังต่ำมาก คือถูกต้องประมาณ 60% – 90% เท่านั้น และบอกผลได้แค่ว่าลูกในครรภ์ เสี่ยงที่จะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เท่าไรเท่านั้น ไม่ได้บอกว่าลูกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมหรือไม่เป็นโดยตรง และที่สำคัญบางครั้งยังให้ผลการตรวจที่เป็นผลบวกลวงได้ด้วย เช่น คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ผลการตรวจออกมาว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะมีดาวน์ซินโดรมจำนวน 100 คน คุณแม่เหล่านี้จะถูกแนะนำโดยคุณหมอให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อยืนยันผลให้แน่ชัด แต่ปรากฏว่ามีคุณแม่เพียงแค่ 5 คนเท่านั้นที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมจริงๆ ส่วนคุณแม่อีก 95 คนที่เหลือมีลูกที่ปกติดี แต่ก็ต้องถูกเจาะน้ำคร่ำ และที่แย่ไปกว่านั้นคือพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ลูกในครรภ์เป็นดาวน์ซินโดรมจริง แต่การทดสอบด้วยวิธีนี้ก็บอกได้ไม่ทั้งหมด เช่น คุณแม่ที่มีลูกเป็นดาวน์ซินโดรมจริงๆ 20 คน อาจจะผ่านการตรวจด้วยวิธีนี้ในคุณแม่แล้วพบว่าผิดปกติเพียงแค่ 17 คนเท่านั้น โดยอีก 3 คนที่เหลือจะทราบว่าลูกเป็นดาวน์ซินโดรมก็ต่อเมื่อคลอดออกมาแล้ว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่