แท้ง ในช่วงไตรมาสที่ 2
ปัจจัยเสี่ยงจากมารดา
- ปัญหาสุขภาพระยะยาว โรคเรื้อรังที่มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งช่วงอายุครรภ์ 3-6 เดือน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูงรุนแรง โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคไต โรคไฮเปอร์ไทรอยด์ และไฮโปไทรอยด์ เป็นต้น
- การติดเชื้อต่าง ๆ ระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ หัดเยอรมัน เอชไอวี ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส มาลาเรีย และเชื้อไวรัสซีเอ็มวี
- อาหารเป็นพิษ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนทั้งหลายเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งได้เช่นกัน เช่น อาหารจากนมที่ไม่ได้ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ อาหารดิบ หรือปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะเนื้อหมู รวมถึงไข่ดิบหรือไข่ที่ปรุงกึ่งสุกกึ่งดิบ
- การใช้ยาบางชนิด ได้แก่ ยาเคมีบำบัด ยาเมโธรเทรกเซตและไมโซพรอสทอลที่มักใช้รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ยาเรตินอยด์สำหรับรักษาสิวและโรคผื่นผิวหนังอักเสบ และกลุ่มยาลดการอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน
นอกจากปัจจัยที่กล่าวข้างต้น การแท้งบุตรในช่วงไตรมาสที่ 2 ยังอาจเกิดขึ้นได้จากความผิดปกติของมดลูกหรือระบบสืบพันธุ์ของผู้เป็นแม่ ดังนี้
- ปัญหาจากโครงสร้างมดลูกที่อาจเกิดจาก มีเนื้องอกมดลูกเติบโตขึ้นในครรภ์ หรือครรภ์ที่เกิดขึ้นมีรูปร่างผิดปกติ
- ปากมดลูกไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อปากมดลูกที่อ่อนแอกว่าปกติอาจเกิดจากเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณนี้มาก่อน และเป็นสาเหตุให้ปากมดลูกเปิดตัวก่อนกำหนดจนเกิดการแท้งตามมาได้
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) ภาวะที่รังไข่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในรังไข่ สาเหตุของการมีบุตรยากเนื่องจากจะไปทำให้การผลิตไข่น้อยลง ภาวะนี้อาจมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งของหญิงที่มีบุตรยาก แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ยืนยันได้แน่ชัด
อย่างไรก็ตาม ยังมีความเชื่อหลายประการที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการแท้ง ทั้งที่ปัจจัยต่อไปนี้ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงใด ๆ ต่อการแท้ง
- อารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์ การตกใจหรือสะเทือนใจขณะตั้งครรภ์
- การออกกำลังกาย สามารถออกได้ และควรปรึกษาแพทย์ถึงการออกกำลังกายที่เหมาะสม
- การยกของหนักหรือการทำงานขณะตั้งครรภ์อย่างงานที่ต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน
- การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์
- การเดินทางโดยเครื่องบิน
- การรับประทานอาหารรสเผ็ด
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่