สำหรับคู่รักที่แต่งงานแล้ววางแผนจะมีลูก … แต่ มีลูกยาก ต้องดู!! ทีมแม่ ABK ได้รวบรวม โรงพยาบาล คลินิก ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ทั่วกรุงเทพฯ มาให้แล้วตรงนี้! จัดเต็มด้วยผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทางการแพทย์สำหรับคุณผู้หญิง พร้อมให้บริการรักษาอาการมีบุตรยากด้วยนวัตกรรมที่ดีที่สุด จะมีที่ไหนบ้าง มาดูกัน
ภาวะมีบุตรยาก มีลูกยาก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ และพบได้บ่อยจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงปัญหาในร่างกายของฝ่ายหญิง พวกระบบสืบพันธุ์ต่างๆ ประมาณ 40-55% ฝ่ายชายประมาณ 20-30% ทั้งสองฝ่ายร่วมกันประมาณ 20-30% และที่ไม่ทราบสาเหตุอีกประมาณ 10-20% โดยจะเริ่มพบความเสี่ยงของการมีลูกยากเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ติดแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ สาเหตุเหล่านี้มีผลทำให้การสร้างตัวอสุจิน้อยลง หรือความเครียดก็ส่งผลให้การทำงานของรังไข่ในผู้หญิงผิดปกติได้ ส่งผลให้มีลูกยาก
นอกจากนั้นในปัจจุบัน ภาวะมีบุตรยากยังเกิดขึ้นกับคู่สมรสที่วางแผนมีบุตรช้า อายุที่มากแล้วก็ส่งผลให้ฝ่ายหญิงมีลูกยากอีกด้วย คู่สมรสที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคตควรเข้ารับการฝากไข่ ในขณะที่อายุยังน้อยเพื่อรักษาไข่ที่ยังสมบูรณ์ไว้
ทั้งนี้เพื่อหาสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก คู่สมรสที่อยากมีลูกควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินหาสาเหตุและให้การรักษาอย่างถูกต้อง กับทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย
สำหรับการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากได้มีการนำเอาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เข้ามาช่วยรักษาภาวะมีลูกยากและเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว IUI IVF ICSI อีกทั้งการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ได้มีการพัฒนาเพื่อหาสาเหตุความผิดปกติของพันธุกรรมก่อนการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก เช่น การตรวจคัดกรองโครโมโซม NGS PGD PGS เพื่อป้องกันการเกิดความผิดปกติของพันธุกรรม
IVF : IVF (In Vitro Fertilization) คือการนำเอาเซลล์ไข่และอสุจิมาปฏิสนธินอกร่างกาย เพื่อให้ได้เซลล์ตัวอ่อน โดยในปัจจุบันมีการเลี้ยงตัวอ่อนได้ถึงระยะที่ 5 บลาสโตซิส (Blastocyst) จากนั้นจึงย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
ICSI : ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) คือกระบวนการช่วยปฏิสนธิภายนอกร่างกาย โดยใช้เชื้ออสุจิ 1 ตัว ฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ เพื่อเพิ่มอัตราในการปฏิสนธิและการตั้งครรภ์ นิยมใช้ในกรณีที่ฝ่ายชายมีจำนวนอสุจิน้อย
IUI : IUI (Intrauterine insemination) เป็นการรักษาภาวะมีลูกยาก โดยการฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ใช้ในกรณีที่คู่สมรสมีบุตรยากแบบหาสาเหตุไม่ได้ หรือคุณภาพอสุจิอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือมีความผิดปกติเล็กน้อย
NGS : NGS (Next Generation Sequencing) การตรวจคัดกรองวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน เพื่อลดปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัว และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์
PGD : PGD (Preimplantation Genetic Diagnosis) คือการตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมในตัวอ่อน สำหรับคู่สมรสที่มีพาหะของโรคทางพันธุกรรม ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการมีลูกที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) เป็นต้น
PGS : PGS (PreimplantationGeneticScreening) เป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติของพันธุกรรมของตัวอ่อน และคัดเลือกตัวอ่อนที่มีโครโมโซมปกติเพื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูก
ปัจจุบันมีศูนย์การรักษา มีลูกยาก อยู่หลายที่ทั้งโรงพยาบาลและคลินิกที่พร้อมจะให้คำแนะนำ และเป็นผู้ช่วยในการพิจารณาว่าควรเลือกใช้วิธีใดรักษา เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ให้เป็นพ่อแม่สมใจ และคุ้มค่ากับเวลา และค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด มีที่ไหนบ้างมาดูกันเลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) เกิดจากอะไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงมีลูกยาก (wellnesshealth.club)
รวม 10 โรงพยาบาล คลินิก ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ทั่วกรุงเทพฯ สำหรับคู่รัก มีลูกยาก
1. คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช IVF & Women Clinic
IWC ดูแลรักษาโรคทางสูตินรีเวชด้วยมาตรฐานทางการแพทย์ที่ปลอดภัยและครบวงจร โดยมีผู้เชี่ยวชาญในการดูแลทางการแพทย์สำหรับสตรี พร้อมทั้งให้บริการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยนวัตกรรมที่ดีที่สุด มีห้องปฏิบัติการได้มาตรฐานระดับสากล สะดวก สะอาด และปลอดเชื้อ ควบคุมและดูแลในทุกเคสของการ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้การรักษากับผู้เข้ารับบริการทุกท่าน และรับฟังความต้องการเฉพาะของผู้เข้ารับบริการ พร้อมปรับกระบวนการรักษาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล ทั้งยังได้รับการรับรองจากราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยและกระทรวงสาธารณสุข
สถานที่ตั้ง คลินิกเวชกรรมเฉพาะทางสูตินรีเวช IVF & Women Clinic
16 fl.Times Square Building, Sukhumvit 12-14 Rd.,
Bangkok, Thailand, Bangkok
T: +66 653 3331 / 097 250 9331
E: [email protected]
IVF & WOMEN CLINIC (iwclinic.com)
2. คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และหน่วยชีววิทยาการเจริญพันธุ์ (Chula IVF)
โรงพยาบาลของรัฐบาลที่ขึ้นด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จากผลงานที่สร้างเด็กหลอดแก้วเป็นรายแรกของไทยได้สำเร็จ ทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายที่จ่ายน้อยกว่าเอกชน ช่วยสานฝันให้คู่สมรสที่มีปัญหาภาวะมีบุตรยากได้เป็นอย่างดี
สถานที่ตั้ง
คลินิกมีบุตรยากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ตึก ภปร.) ชั้น 8 ถนนพระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
เวลาทำการ : วันธรรมดา 08.00-16.00 น. วันหยุด 08.00-12.00 น.
โทรศัพท์ : 0 2256 5282
หน่วยชีววิทยาการเจริญพันธุ์ ตึกนวมินทราชูทิศ ชั้น 11 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ : 02 256 4826
www.facebook.com/Chula-IVF
3. คลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
คลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ เป็นสถานที่รวมบุคลาการทางการแพทย์ที่มีฝีมือมากมาย ที่ช่วยให้คู่สมรสที่อยากมีลูกได้เป็นคุณพ่อคุณแม่สมหวัง ทั้งยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายซึ่งถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน แต่ข้อจำกัดคือ เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาล ทำให้มีขั้นตอนต่าง ๆ และมีคนใช้บริการจำนวนมาก สำหรับผู้ป่วยนอกใหม่ที่ไม่อยากเสียเวลารอคิว สามารถลงทะเบียนออนไลน์ด้วยตัวเองก่อนเข้ารับการรักษาได้ที่เว็บไซต์ของโรงพยาบาล คลิก และสำหรับว่าที่คุณพ่อคุณแม่ที่สนใจจะปรึกษาเรื่องวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก สามารถใช้บริการถามตอบปัญหาสุขภาพผ่านเว็บไซต์ www.sirirajonline.net คุยกับคุณหมอก่อนได้ไม่ต้องรอนาน
สถานที่ตั้ง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
เวลาทำการ : 06.30-15.00 น.
โทรศัพท์ : ประชาสัมพันธ์ ตึกผู้ป่วยนอก 0 2 419 7000
www.si.mahidol.ac.th
4. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ให้บริการตรวจรักษาคู่สมรสที่มีบุตรยากด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งกระบวนการปฏิสนธินอกร่างกายและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง โดยอาจารย์แพทย์และนักวิทยาศาสตร์สาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ด้วยห้องปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ที่ทันสมัย เป็นอีกหนึ่งที่ที่ช่วยตอบโจทย์ให้กับว่าที่พ่อแม่ที่มีบุตรยากได้เช่นกัน
สถานที่ตั้ง
ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์
ชั้น 3 อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เวลาทำการ : 08.00-20.00 น.
โทรศัพท์ : 0 2200 3000
www.med.mahidol.ac.th
5. ศูนย์ผู้มีบุตรยากเจ้าพระยา-จินตบุตร โรงพยาบาลเจ้าพระยา
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก เจ้าพระยา-จินตบุตรในเครือโรงพยาบาลเจ้าพระยา ก่อตั้งโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากซึ่งผ่านการอบรมศึกษามาจากต่างประเทศ พร้อมทั้งมีอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำที่สุดในระดับสากล พร้อมด้วยนวัตกรรม EmbryoScope ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด ที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ที่ประสบปัญหามีบุตรยาก มีศักยภาพสูงในการช่วยคัดเลือกตัวอ่อนที่สมบูรณ์ เพื่อนำตัวอ่อนนั้นใส่กลับไปยังผู้รับการรักษา ช่วยเสริมประสิทธิภาพขั้นตอนของการรักษาให้มีความง่ายและดียิ่งขึ้น และทีมนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องปฏิบัติการที่มีความชำนาญด้านการเพาะเลี้ยงตัวอ่อนกระทั่งใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูก ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าการคัดเลือกตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยีนี้ จะช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้มากขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ จากวิธีการทำเด็กหลอดแก้วตามปกติ รวมทั้งยังคอยเอาใจใส่ ดูแล ให้คำแนะนำ และตอบข้อสงสัยต่างๆ ในทุกช่วงระยะของการรักษา
สถานที่ตั้ง
ศูนย์ผู้มีบุตรยากเจ้าพระยา-จินตบุตร โรงพยาบาลเจ้าพระยา
ชั้น 2 โรงพยาบาลเจ้าพระยา เลขที่ 113/44 ถนนบรมราชชนนี แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
เวลาทำการ : 08.00-17.00 น.
โทรศัพท์ : โทร. 0-2433-8222, 0-2433-5666
www.chaophya.com
6. ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 2
ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 2 มีทีมแพทย์ พยาบาล และนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้วยเทคนิคและเทคโนโลยีที่ทันสมัยครบวงจร รวมถึงห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนและห้องผ่าตัดซึ่งได้รับการติดตั้งด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยอย่างครบถ้วนในการช่วยให้การรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นเป็นไปอย่างสมบูรณ์ ให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากด้วยเทคนิคการช่วยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีทั้งวิธีธรรมชาติและการใช้เทคโนโลยีชั้นสูง เช่น การฉีดเขื้อผสมเทียม,IVF , ICSI, Blastocyst culture, การตรวจคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการฝังตัวด้วย เทคนิค NGS (Next Generation Sequencing) และ CGH (Array Comparative Genomic Hybridization)และการแช่แข็งไข่ เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
โปรแกรมทำเด็กหลอดแก้ว ICSI (รวมการกระตุ้นไข้+การเก็บไข่+ย้ายตัวอ่อน) : ราคา 167,000 บาท (ราคานี้สามารถเข้ารับบริการ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น)
สถานที่ตั้ง
ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 2 อาคาร B ชั้น 10
เวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00-17.00น.
โทรศัพท์ : กรุณาทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับการตรวจทุกครั้งได้ที่ 1772 หรือโทร 02-617-2444 ต่อ 1057, 1058
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.phyathai.com
7. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH)
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบีเอ็นเอช มีทีมผู้เชี่ยวชาญซึ่งเปี่ยมด้วยประสบการณ์อันยาวนานในศาสตร์การแพทย์แขนงนี้และพร้อมให้บริการที่ครบวงจรและมีประสิทธิภาพในการดูแลรักษาคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ทั้งคู่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยสาเหตุของปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ โดยขึ้นอยู่กับประวัติทางการแพทย์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วยวิธีการเหล่านี้ :
- การตรวจเชื้ออสุจิ
- การตรวจอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอด
- การตรวจระดับฮอร์โมนในเลือด
- การส่องกล้องทางหน้าท้องเพื่อการวินิจฉัย
- การส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
ภายหลังจากการตรวจวินิจฉัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอาจเสนอทางเลือกในการรักษาที่ทางศูนย์แห่งนี้มีให้บริการเช่น
- การผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อของสามี
- IVF, ICSI & ET (การปฏิสนธินอกร่างกาย, การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในเซลล์ไข่และการถ่ายฝากตัวอ่อน)
- PESA หรือ TESE (การใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเข้าไปในท่อพักน้ำเชื้อแล้วดูดตัวอสุจิ
- ออกมาหรือการดูดตัวอสุจิจากอัณฑะ)
- PGD (การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนย้ายเข้าสู่โพรงมดลูก
สถานที่ตั้ง
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH)
เลขที่ 9/1 ถนนคอนแวนต์ สีลม กรุงเทพมหานคร 10500
เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ 08.00-16.00 น. / วันอาทิตย์ 09.00-12.00 น.
โทรศัพท์ : 02 868 2700 ต่อ 2885, 2886
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.bnhhospital.com
8. ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสมิติเวช
ศูนย์ผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลสมิติเวช เป็นศูนย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ครบวงจร ด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology: ART) มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยาก พร้อมพยาบาลและเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์โดยเฉพาะ ที่พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือในการมีบุตรเพื่อให้ชีวิตคู่มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และความเชี่ยวชาญของทีมแพทย์ ทำให้ได้การตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำ เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น อัตราการประสบผลสำเร็จสูงขึ้น
ให้บริการรักษาผู้มีบุตรยาก ได้แก่
- ตรวจวินิจฉัย ตรวจอวัยวะในอุ้งเชิงกรานด้วยอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด การฉีดสีเอกซเรย์ การวิเคราะห์น้ำอสุจิ การคัดเชื้อตัวอสุจิ การตรวจวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนในร่างกาย,
- การใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ : IVM, IVF, E.T., ICSI, GIFT, PGD
- การผ่าตัดต่อท่อนำไข่ (ผ่าตัดแก้หมันหญิง)
- การผ่าตัดเนื้ออัณฑะเพื่อดูดตัวอสุจิออกมา (Sperm Retriveal) : TESE
- การตรวจวิเคราะห์โรคทางพันธุกรรม PGD, PCR
- การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
สถานที่ตั้ง
สาขาสุขุมวิท : สุขุมวิท วิง ( อาคาร2) ชั้น 1 สุขุมวิท 49 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
เวลาทำการ : ทุกวัน 07.00-22.00 น.
โทรศัพท์ : 0 2022 2555-6
สาขาศรีนครินทร์ : ศูนย์ผู้มีบุตรยาก ชั้น 4 ถนนศรีนครินทร์ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250
เวลาทำการ : ทุกวัน 08.00-17.00 น.
โทรศัพท์ : 0 2378 9129-30
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.samitivejhospitals.com
9. ศูนย์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ศูนย์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ พร้อมช่วยให้คู่สามีภรรยาสามารถเอาชนะอุปสรรคอันเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการมีบุตรยาก โดยทีมแพทย์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของศูนย์กว่า 20 ท่านพร้อมจะให้คำแนะนำและการรักษา โดยพิจารณาวิธีที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ประสบปัญหาการมีบุตรยากแต่ละราย และเน้นการให้คู่สมรสมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการรักษา
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
โปรแกรมการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยใช้การปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) : ราคา 350,000 บาท (ราคานี้สงวนสิทธ์เฉพาะผู้มารับบริการ ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ถึง 31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น)
โปรแกรมการแช่แข็งเก็บรักษาเซลล์ไข่ (Egg Freezing) : ราคา 200,000 บาท (ราคานี้สงวนสิทธิ์เฉพาะผู้มารับบริการ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ถึง 31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น)
สถานที่ตั้ง
ศูนย์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
เลขที่ 33 สุขุมวิท ซอย 3 เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
อาคารโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ชั้น 2 ฝั่งทิศเหนือ
เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ 07.00-20.00 น. วันอาทิตย์ 07.00-17.00 น.
โทรศัพท์ : 090 972 2608/ 02 066 8888 และ 1378
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.bumrungrad.com
10. ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพ
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพ มีแพทย์ที่ช่วยตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุภาวะมีบุตรยาก และรักษาตามสาเหตุ อาทิ การให้ยากระตุ้นการตกไข่ การส่องกล้องผ่าตัด หรือคัดเชื้อฉีดเข้าโพรงมดลูก เมื่อรักษาเต็มที่แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่เหมาะสม อาทิ เด็กหลอดแก้ว ในลำดับต่อไป
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ
- การกระตุ้นรังไข่เพื่อทำเด็กหลอดแก้ว ราคา 100,000 บาท
- การเจาะเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอด ราคา 110,000 บาท
- การตรวจโครโมโซมและแช่แข็งตัวอ่อน (3 Embryo) ราคา 75,000 บาท
- การย้ายกลับตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก ราคา 38,000 บาท
- การย้ายกลับตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก รอบละลายตัวอ่อนและยาหลังการย้ายกลับตัวอ่อน ราคา 57,000 บาท
(ราคานี้สามารถใช้บริการได้ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 ธันวาคม 2563 เท่านั้น)
**โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาโดยมิต้องแจ้งล่วงหน้า**
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.bangkokhospital.com
สถานที่ตั้ง
ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพ
2 ซ.ศูนย์วิจัย 7 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 ประเทศไทย
โทรศัพท์ : 02 3100 3014-15
อย่างไรก็ตาม สำหรับคู่รักที่แต่งงานแล้ว แต่ต้องมาประสบภาวะมีบุตรยากอาจเป็นเรื่องที่ยาก แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยนี้ก็มีส่วนช่วยเหลือให้การเป็นคุณพ่อคุณแม่ไม่ไกลเกินความฝัน ทั้งนี้ทุกการรักษาในแต่ละสถานที่อาจมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ สำหรับผู้มีประสบปัญหาภาวะผู้มีบุตรยากสนใจจะเข้ารับการรักษาควรสอบถามข้อมูล หาสาเหตุ และเมื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุไม่ได้ผล แพทย์ที่ดูแลรักษาจะช่วยพิจารณาเลือกวิธีการตั้งครรภ์ที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยหลักคือ อัตราความสำเร็จ ค่าใช้จ่าย ผลแทรกซ้อน และการเจ็บตัวที่น้อยที่สุด ให้เป็นข้อมูลก่อนการตัดสินใจเข้ารับการรักษานะคะ
ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.tmbbank.com, www.vichaiyut.com
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ