อยากมีลูก มีลูกยาก เด็ก หลอดแก้ว &อิ๊กซี่ เลือกแบบไหนดี - Amarin Baby & Kids
เด็กหลอดแก้ว มีลูกยาก

อยากมีลูก มีลูกยาก เด็ก หลอดแก้ว &อิ๊กซี่ เลือกแบบไหนดี??

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กหลอดแก้ว มีลูกยาก
เด็กหลอดแก้ว มีลูกยาก

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำเด็กหลอดแก้ว

แม้การทำ IVF เป็นนวัตกรรมที่เพิ่มโอกาสให้สามีภรรยามีลูกได้ แต่ก็อาจมีผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับว่าที่คุณแม่หลังจากถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว โดยความเสี่ยงที่มักจะเกิดขึ้นมากที่สุด อาทิเช่น

  • รังไข่บวม เนื่องจากได้รับฮอร์โมนกระตุ้นที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง หายใจลำบาก และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงได้
  • เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกเนื่องจากไข่ที่ได้รับการผสมอาจเข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะฝังตัวและเจริญเติบโตภายในมดลูก ซึ่งภาวะนี้ตัวอ่อนในครรภ์ไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ ทั้งนี้ความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์ในลักษณะนี้มีเพียง 2-5% เท่านั้น
  • เกิดความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง อาจมีปัญหาจากการปรับตัวเพื่อมีลูกจากการทำเด็กหลอดแก้ว ส่งผลให้เกิดความเครียดได้ ซึ่งผู้ป่วยควรพูดคุยและได้รับกำลังใจจากคนในครอบครัว บุคคลใกล้ชิด หรือสามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัด เป็นต้น
  • ได้รับผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาในในระหว่างกระบวนการทำเด็กหลอดแก้วและการถ่ายฝากตัวอ่อน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดได้
  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด หากสุขภาพของแม่ไม่แข็งแรง อาจมีความเสี่ยงสำหรับทารกที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยได้ และอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เพราะปอดทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่
  • เสี่ยงภาวะแทรกซ้อน อาจมีภาวะแทรกซ้อนในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น จากการการใช้ยาสลบ ยาชา  การติดเชื้อ การเกิดแผลในมดลูก และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ หรือเส้นเลือดในบริเวณใกล้เคียงได้
  • มีโอกาสตั้งครรภ์ลูกแฝด ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีการถ่ายฝากตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว ตัวอ่อนทั้งหมดอาจฝังตัวที่ผนังมดลูกและตั้งครรภ์ลูกแฝดได้ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อคุณแม่ที่ต้องอุ้มท้องลูก 2 คน และเสี่ยงต่อภาวะที่เด็กเกิดมามีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยไปด้วย
  • เสี่ยงแท้ง อัตราการแท้งลูกของแม่ที่ตั้งครรภ์เด็กหลอดแก้วอยู่ที่ 15-25% โดยอัตราจะแปรผันเพิ่มมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้นของผู้ที่ตั้งครรภ์
อยากมีลูก เทคโนโลยีช่วยได้ เด็ก หลอดแก้ว อิ๊กซี่
อยากมีลูก เทคโนโลยีช่วยได้ เด็ก หลอดแก้ว อิ๊กซี่

ทั้งนี้สิ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าที่คุณพ่อคุณแม่คิดทำเด็กหลอดแก้ว คือ การไม่ประสบผลสำเร็จในการทำครั้งแรก และมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงในการทำแต่ละครั้ง ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธีเด็กหลอดแก้ว และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ดีที่สุดนะคะ.

ราคาค่าใช้จ่ายในการทำเด็กหลอดแก้ว

ราคาการทำเด็กหลอดแก้วค่อนข้างสูง แต่จะเป็นราคาที่คุ้มสำหรับคุณผู้หญิงคุณผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยาก และต้องการจะมีบุตรเป็นของตนเอง ซึ่งราคามีเริ่มตั้งแต่หลัก 200,000 ไปจนถึง 500,000 แล้วแต่สถานที่ ที่ท่านไป จนบางคนอาจสงสัยว่า ทำไมทำ ICSI ราคาแพง ราคาสูงกว่าการทำ IUI

เนื่องจากการทำ IVF นั้นมีขั้นตอนและตัวยาที่ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น การกระตุ้นไข่ การป้องกันไข่ตก การเร่งให้ไข่สุก ค่าอัลตราซาวน์ ค่าเก็บเชื้อ เก็บไข่ หรือแม้แต่การทำ ICSI เองก็มีราคาค่าใช้จ่ายในนั้น

อิ๊กซี่ ICSI : เทคโนโลยีใหม่ ช่วยลดความผิดพลาด

การทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection) จากปัญหาตัวอสุจิของคุณผู้ชายบางคนมีความผิดปกติจนไม่สามารถเจาะผ่านเปลือกไข่ได้ จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีใช้เข็มเจาะและส่งตัวสุจิที่ดีที่สุดผ่านเปลือกไข่เข้าไปภายในเนื้อไข่โดยตรงในเวลาต่อมา โดยจะมียาฮอร์โมนช่วยกระตุ้นให้ได้ไข่หลายใบ วิธีนี้มีขั้นตอนคล้ายการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) แต่แตกต่างตรงที่ IVF ไข่และอสุจิหลายตัวจะถูกนำไปผสมในจานเพาะเลี้ยง ซึ่งอสุจิจะว่ายเข้ามาผสมกับเซลล์ไข่ตามธรรมชาติ แต่ ICSI จะคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงที่สุดตัวเดียว แล้วใช้เข็มฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง

ดังนั้นหากคู่สมรสสามารถกระตุ้นและเก็บไข่ได้ 10 ใบ แต่เมื่อส่งสเปิร์มเข้าไปปฏิสนธิด้วยวิธี IVF พบว่าได้ตัวอ่อนเพียง 1 หรือ 2 ใบ หรืออาจไม่ได้เลย การแก้ไขโดยใช้การปฏิสนธิโดยวิธี ICSI มักจะช่วยในการปฏิสนธิให้ได้ตัวอ่อนขึ้นมาเป็น 7 – 9 ตัว แต่อย่างไรก็ตามการเลือกตัวอสุจิที่จะยิงเข้าไปในไข่จะเลือกจากรูปร่างและการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุด โดยหัวอสุจิจะมีขนาดเพียง 7 ไมครอน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมองเห็นโครโมโซมที่อยู่ภายในนั้น และในขณะเดียวกันก็ไม่สามารถเห็นโครโมโซมที่อยู่ภายในไข่ตอนที่จะยิงตัวอสุจิเข้าไปด้วย ดังนั้นการทำ ICSI จึงไม่ใช่การสร้างตัวอ่อนที่สมบูรณ์แบบ แต่เป็นการเปิดโอกาสให้มีการปฏิสนธิและเกิดตัวอ่อนขึ้นมาจำนวนมาก เพื่อให้ได้มีโอกาสคัดเลือกที่ดีที่สุด

กระบวนการทำอิ๊กซี่ (ICSI – Intracytoplasmic Sperm Injection)

แพทย์จะกระตุ้นไข่ในวันที่ 2 ของการมีประจำเดือน โดยจะฉีดต่อเนื่องประมาณ 8 – 14 วัน จากนั้นเมื่อไข่พร้อมจะฉีดยากระตุ้นการตกไข่ ทำการตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจขนาดและจำนวนถุงไข่ แล้วจึงฉีดฮอร์โมนก่อนที่จะเก็บไข่ด้วยการใช้เข็มเจาะดูดออกจากรังไข่ผ่านทางช่องคลอด จากนั้นแพทย์จะนำไข่และอสุจิไปปฏิสนธิในห้องปฏิบัติการพร้อมกับการให้ยาฮอร์โมนเพื่อเตรียมมดลูกคุณผู้หญิงให้พร้อมตั้งครรภ์ หลังจากตัวอ่อนเติบโตแข็งแรง แพทย์จะนัดฉีดตัวอ่อนให้เข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูกผ่านทางช่องคลอด

ICSI มีความเสี่ยงหรือไม่?

ในปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่า อัตราการเกิดข้อบกพร่องในเด็กที่เกิดจากกระบวนการ ICSI นั้นแตกต่างจากประชากรทั่วไป อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่เด็กผู้ชายที่เกิดจากกระบวนการ ICSI จะมีปัญหาการเจริญพันธุ์ของผู้ชายด้วย

อิ๊กซี่ เทคโนโลยีใหม่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์
อิ๊กซี่ เทคโนโลยีใหม่ช่วยเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

การดูแลตัวเองหลังทำ ICSI

หลังทำ ICSI ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น

  • ฝ่ายหญิงควรพักผ่อนมากๆ ไม่ควรทำงานหนัก เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายหนักๆ หรือการเดินทางไกล
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด
  • ไม่รับประทานยานอกเหนือจากแพทย์สั่ง และควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก หรือมีตกขาวมากผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ที่ดูแลทันที

ราคาค่าใช้จ่ายในการทำ ICSI 

การทำเด็กหลอดแก้วด้วยเทคนิคพิเศษ ICSI ราคาเริ่มต้นประมาณ 160,000-200,000 บาท แล้วแต่สถานที่ ที่ท่านเลือกใช้บริการ

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : www.pobpad.comwww.honestdocs.cowww.phyathai.com,www.bangkokhospital.com,beyondivf.com

อ่านบทความน่าสนใจอื่น ๆ คลิก :

อยากมีลูกต้องทำไง ? ลอง 9 วิธีแบบธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ ลูกมาแน่

อยากมีลูกต้องกินอะไร? 6 อาหารโด๊ปนี้…ช่วยได้

ทารกอุจจาระมีมูก จะเป็นอันตรายไหม?

enterovirus คือ เชื้อ โรคมือเท้าปาก ชนิดรุนแรงข่าวดีมีวัคซีนป้องกันแล้ว!!

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up