แต่ก่อนตั้งครรภ์คุณแม่ต้องทราบว่าภาวะซึมเศร้าอาจจะส่งต่อมาถึงลูกได้แต่ไม่ใช่ 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากเทียบกับผู้หญิงที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน นอกจากนี้ต้องมาดูว่ายาที่กินมีผลต่อความพิการของเด็กหรือไม่ความเสี่ยงประมาณเท่าไรและช่วงตั้งครรภ์ที่มีโอกาสเกิดอาการของโรคซึมเศร้าซึ่งคุณแม่และครอบครัวต้องระวังเป็นพิเศษ คือ ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกและช่วงหลังคลอด
หากซึมเศร้าบ่อยมาก ไม่ควรตั้งครรภ์
ในทางกลับกันหากอาการของโรคซึมเศร้าเกิดบ่อยมีความคิดอยากทําร้ายตัวเองเกิดขึ้นได้ไม่นานกลุ่มนี้ยังไม่อนุญาตให้มีการตั้งครรภ์เพราะโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนทางอารมณ์ของคุณแม่จะสูงมาก ซึ่งบางครั้งการพยายามดูแลและควบคุมพฤติกรรมจากคนในครอบครัวกลับจะยิ่งเพิ่มความเครียดให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์อีกด้วย
นอกจากนี้หากอาการของโรคซึมเศร้ายังไม่อยู่ช่วงสงบเกินสองปีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนของคุณแม่จะเยอะขึ้น เช่น เกิดอารมณ์ซึมเศร้าทําให้ได้รับสารอาหารและการพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ลูกน้อยในครรภ์ขาดอาหาร อารมณ์ที่ซึมเศร้าก็ส่งผลไปยังลูกน้อย และมีโอกาสคลอดก่อนกําหนด ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงที่ลูกน้อยในครรภ์จะได้รับยีนซึมเศร้าติดไปในตัวอีกด้วย
ดังนั้นการประเมินสภาพจิตใจ สภาพอารมณ์ชนิดของยาที่ใช้ช่วงเวลาที่โรคสงบไม่แสดงอาการมีความสําคัญอย่างมากต่อการตัดสินใจว่าคุณแม่สมควรตั้งครรภ์หรือไม่ ที่สำคัญคือควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลอาการซึมเศร้าอยู่เสมอเพื่อพิจารณาและตัดสินใจก่อนที่คุณแม่จะตั้งครรภ์ค่ะ
ข้อมูลโดย :นาวาตรีพญ.ณัฐยารัชตะวรรณสูตินรีแพทย์ประจําศูนย์สุขภาพสตรีโรงพยาบาลสมิติเวชศรีนครินทร์
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
วางแผนมีลูก กับ 10 เรื่องที่ต้องเจอ
ฝากครรภ์ช้า ไม่กินยาบำรุง อันตราย! เสี่ยงลูกพิการ
รู้แล้วรีบแก้ไข! พ่อแม่ยุคใหม่ ทำไมจึง มีลูกยาก ?
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่