ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง เช็กอาการบ่งบอกว่าคุณท้องแน่ๆ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง

ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง เช็กอาการบ่งบอกว่าคุณท้องแน่ๆ

Alternative Textaccount_circle
event
ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง
ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง

สาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้ประจำเดือนไม่มา

นอกจากการตั้งครรภ์อาจมีหลายสาเหตุที่ส่งผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือเมนไม่มาได้ สาเหตุที่อาจพบได้บ่อยมีดังนี้

  • ความเครียด อาจส่งผลให้ประจำเดือนมานานขึ้นหรือสั้นลง และอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือขาดหายไป เนื่องจากความเครียดอาจเปลี่ยนแปลงการทำงานของไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งอยู่ด้านล่างของสมองส่วนหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน และหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดที่อาจเกี่ยวข้องกับการมาของประจำเดือน การทำงานของไฮโปทาลามัสที่เปลี่ยนแปลงไปเพราะความเครียดอาจส่งผลให้การตกไข่ และการมีประจำเดือนอาจคลาดเคลื่อน ทั้งนี้ หากความเครียดลดลงประจำเดือนก็อาจกลับมาเป็นปกติ
  • การออกกำลังกายมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายอ่อนล้าและเกิดความเครียด อาจไปรบกวนการทำงานของต่อมใต้สมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการตกไข่และประจำเดือน ซึ่งอาจส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนที่ผิดปกติทำให้หยุดการตกไข่ และส่งผลต่อการมีประจำเดือน

    อาการแบบนี้ หรือว่าเรากำลังจะมีน้องหรือเปล่านะ
    อาการแบบนี้ หรือว่าเรากำลังจะมีน้องหรือเปล่านะ
  • การลดหรือการเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เช่น การอดอาหาร การรับประทานยาลดน้ำหนัก อาจยับยั้งการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตกไข่ และน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมากเกินไปอาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาดได้
  • การรับประทานยาคุมกำเนิดบางชนิด อาจส่งผลให้ประจำเดือนหยุด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดียว ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม การฉีดยาคุมกำเนิด ห่วงคุมกำเนิด ผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิดอาจส่งผลให้ประจำเดือนไม่มา แม้จะหยุดรับประทานแล้วก็ตาม ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะที่ประจำเดือนจะกลับมาเป็นปกติ เนื่องจากร่างกายมีการปรับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
  • กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือระบบฮอร์โมนมีลักษณะถุงน้ำหลายใบภายในรังไข่ อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่งผลให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถปล่อยไข่ได้ ส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคนี้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนขาด
  • วัยหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุ 40-55 ปี เนื่องจากระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงส่งผลให้การตกไข่น้อยลงและหยุดลงในที่สุด ทำให้ไม่มีประจำเดือน
  • การให้นมบุตร เนื่องจากโพรแลคติน (Prolactin) ที่เป็นฮอร์โมนสำหรับการผลิตน้ำนมอาจส่งผลยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนสืบพันธุ์ ทำให้ช่วงให้นมบุตรอาจยังไม่มีการตกไข่
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยารักษาจิตเวท ยาต้านซึมเศร้า ยารักษาโรคภูมิแพ้ ยาลดความดันโลหิต เนื่องจากตัวยาอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน

เมื่อไหร่ควรพบคุณหมอ??

หากประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาดร่วมกับปัจจัยเหล่านี้ควรเข้าพบคุณหมอ

  • ประจำเดือนมานานถึง 7 วัน หรือมากกว่านั้น
  • ประจำเดือนมาบ่อยในทุก ๆ 21 วัน หรือมาน้อยในทุก ๆ 35 วัน นับจากประจำเดือนวันสุดท้าย
  • บางเดือนประจำเดือนมาน้อยมาก หรือบางเดือนประจำเดือนมามากกว่าปกติสลับกันไป
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ และทำให้ตั้งครรภ์ได้ยาก
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติในขณะที่คุณผู้หญิงอายุ 45 ปี

    ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง อย่าเพิ่งกลุ้มใจฟังทางนี้ก่อน
    ประจำเดือนไม่มากี่วันท้อง อย่าเพิ่งกลุ้มใจฟังทางนี้ก่อน

ข้อแนะนำเมื่อประจำเดือนไม่มา 3 เดือน !!

  • ตรวจการตั้งครรภ์ หากประจำเดือนขาด อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรตรวจครรภ์ให้ทราบแน่ชัดว่าตั้งครรภ์หรือไม่ โดยสามารถหาซื้อที่ตรวจครรภ์ได้ตามร้านขายยาทั่วไป หรือเข้ารับการตรวจครรภ์โดยคุณหมอ ผู้ที่สงสัยว่าตัวเองอาจตั้งครรภ์ สามารถตรวจการตั้งครรภ์ได้หลังประจำเดือนขาด 1 สัปดาห์ โดยอาจไปตรวจการตั้งครรภ์ที่สถานพยาบาล หรือซื้อชุดตรวจการตั้งครรภ์จากร้านขายยามาตรวจเบื้องต้นเองก็ได้ ชุดตรวจการตั้งครรภ์จะตรวจหาฮอร์โมน hCG ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบได้ในปัสสาวะของสตรีมีครรภ์ หากตรวจไม่พบควรเว้นไปอีก 1 สัปดาห์แล้วตรวจซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากปริมาณฮอร์โมน hCG ในครั้งแรกอาจยังไม่เพียงพอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเครียด อาจหาเวลาว่างไปเที่ยว ดูหนัง ฟังเพลง หางานอดิเรกทำ เป็นต้น รวมถึงการนอนหลับพักผ่อน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่หักโหมจนเกินไป เพราะอาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลและประจำเดือนอาจมาผิดปกติได้ ซึ่งอาจออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วันด้วยการ วิ่ง เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ แอโรบิค เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.thaiinterhospital.com/https://hellokhunmor.com

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

ยาคุมฉุกเฉิน ผู้หญิงรู้ไว้ใช้บ่อยไปผลร้ายตกอยู่กับคุณ!

เตือนแม่! ยาคุมฉุกเฉิน กินบ่อย ๆ เสี่ยงท้องนอกมดลูก!

ตรวจตั้งครรภ์ เร็วสุดกี่วัน ท้องไม่ท้อง เช็คเลย!!!

ที่ตรวจครรภ์ มีกี่แบบ? พร้อมวิธีใช้และวิธีอ่านผล

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up