ผลนอกจากนี้ยังพบว่า…
- แม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรค SLE เสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินเพราะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด เช่น ทารกขาดออกซิเจน หัวใจทารกเต้นอ่อนกะทันหัน
- เสี่ยงต่อยาชา หรือ การดมยาสลบ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อของแผลและมดลูก เนื่องจากภูมิต้านทานไม่แข็งแรง
- เสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอดจากมดลูกไม่หดรัดตัว หรือ การอักเสบติดเชื้อในภายหลัง
- เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือด หัวใจ หรือ สมอง
ผลกระทบของโรค SLE ที่มีต่อทารกในครรภ์
ระยะสั้น เกิดการแท้ง คลอดก่อนกำหนด ขาดอาหาร ทารกตายในครรภ์ โดยในคนไข้ตั้งครรภ์ที่เอสแอลอีกำเริบ มีโอกาสที่ทารกจะเสียชีวิตในครรภ์สูงถึงร้อยละ 50
ระยะยาว ลูกที่คลอดมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ด้วย สำหรับในรายที่แม่มีภูมิต้านทานผิดปกติ คือมี Anti-Ro/SSA, และ/หรือ Anti-La/SSB เพราะภูมิต้านทานผิดปกติดังกล่าวสามารถส่งผ่านไปยังลูกได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ภูมิต้านทานผิดปกติลักษณะนี้ ไม่ได้มีในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเอสแอลอีทุกรายไป
สำหรับอาการรุนแรงของลูก ที่ติดโรค SLE เอสแอลอีจากภูมิต้านทานผิดปกติของแม่ ได้แก่ หัวใจลูกเต้นผิดปกติ ซึ่งต้องได้รับการรักษา เพราะไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้ ในแม่ที่ได้รับยากดภูมิต้านทานตัวอื่นๆ ยกเว้นสารสเตียรอยด์อาจต้องงดให้นมลูก มิฉะนั้นยาอาจส่งผลเสียต่อลูกได้
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
ช็อกโกแลตซีสต์ โรคภายในผู้หญิง ที่ต้องระวัง!
โรคประจำตัว ที่ควรเฝ้าระวัง ขณะตั้งครรภ์
อย่าปล่อยให้ลูกเล่นดิน เสี่ยงโรคเมลิออยโดสิส
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่