เป็นเริม ตอนใกล้คลอด ลูกเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids

เป็นเริม ตอนใกล้คลอด ลูกเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง

Alternative Textaccount_circle
event

เป็นเริม ขณะใกล้คลอดลูกเสี่ยงติดเชื้อรุนแรง

อันตราย…เมื่อ เป็นเริมขณะใกล้คลอดหรือตอนคลอด

สิ่งสำคัญและเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรตระหนักคือ หากคุณแม่ตั้งครรภ์เกิดเป็นโรคเริมขณะใกล้คลอดจนถึงช่วงเจ็บท้องคลอดพอดี ต้องถือว่าโชคไม่ดีและมีความเสี่ยง เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาต่อลูกน้อยตอนที่คลอดออกมาได้

เพราะตอนคุณแม่จะคลอด ปากมดลูกมีการขยายตัว ถุงน้ำก็ต้องแตกเพื่อให้ลูกคลอดออกมา และเมื่อถุงน้ำคร่ำแตก น้ำคร่ำในท้องก็จะไหลออกมา ทำให้มีช่องทางการติดต่อระหว่างช่องคลอดของคุณแม่กับในมดลูก ซึ่งหากมีเชื้อโรคเริมอยู่บริเวณปากช่องคลอดหรือบริเวณช่องคลอดของคุณแม่ในช่วงนี้ เชื้อโรคเริมก็จะอาศัยน้ำเป็นตัวผ่านเข้าไปในมดลูก ทำให้เชื้อโรคไปสัมผัสกับลูกน้อยในครรภ์ทำให้ติดเชื้อโรคเริมได้นั่นเอง

ลูกน้อยติดเชื้อโรคเริม เสี่ยงตาบอด เสียชีวิต

ความรุนแรงของโรคต่างๆ ที่ลูกน้อยจะได้รับจากโรคเริมนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ลูกได้รับ ซึ่งหากลูกน้อยได้เชื้อเข้าไปมาก ความรุนแรงของโรคก็จะมากตามไปด้วย เช่น หากเชื้อโรคเข้าไปในตาก็อาจทำให้ลูกตาบอดได้ หากลูกติดเชื้อในสมองจะทำให้เยื่อหุ้มสมองและเนื้อสมองอักเสบ และหากเชื้อเข้าไปสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก จะทำให้เกิดอันตรายรุนแรงคือลูกน้อยจะเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด อาจทำให้ไตวาย ตับวาย และเสียชีวิตได้

ป้องกันเชื้อโรคเริมสู่ลูกน้อย

เนื่องจากการเกิดโรคเริมขณะคลอดเป็นปัญหาค่อนข้างรุนแรงสำหรับลูกหากสูติแพทย์ทราบว่าคุณแม่เป็นโรคเริม การดูแลคุณแม่ที่กำลังเจ็บท้องและถุงน้ำยังไม่แตกถือว่าเป็นเวลาวิกฤติ ที่จะต้องรีบทำการผ่าตัดคลอดอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยแรกเกิดต้องสัมผัสกับเชื้อโรคบริเวณปากช่องคลอด แต่หากถุงน้ำแตกไปแล้วและลูกยังไม่คลอด ลูกน้อยก็จะมีโอกาสติดเชื้อโรคเริมได้ ค่อนข้างสูง นอกจากนี้กรณีถุงน้ำคร่ำแตกแล้ว กุมารแพทย์จะรีบให้การดูแลรักษาลูกน้อยอย่างละเอียดและรวดเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

โดยคุณหมอจะรีบดูดน้ำมูกหรือน้ำเมือกออกจากปาก จมูก หู คอของลูกน้อย แล้วนำไปตรวจเพาะเชื้อดูว่ามีการติดเชื้อเริมหรือไม่ เพื่อจะได้รีบให้การรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

อาหารเป็นพิษ โรคหน้าร้อน ที่ทุกครอบครัวต้องระวัง

ลูกน้ำลายยืด แบบไหนผิดปกติ?

ลูกวัยเตาะแตะ น้ำหนักเกิน แก้ไขอย่างไรดี?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up