แม่เตรียมเฮ! ผลักดันสิทธิ์ รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี - Amarin Baby & Kids
รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี

แม่เตรียมเฮ! ผลักดันสิทธิ์ รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี

Alternative Textaccount_circle
event
รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี
รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี

คุณแม่ที่มีลูกยาก อยากมีลูกมานานแต่ไม่สมหวังสักที เตรียมเฮได้เลยค่ะ เพราะภาครัฐกำลังผลักดันการ รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี นับเป็นข่าวดีสำหรับหลายคนที่มีบุตรยากนะคะ

แม่เตรียมเฮ! ผลักดันสิทธิ์ รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี

เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่องมาหลายปี จนเมื่อปี 2564 จากผลสำรวจพบว่ามีเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 544,000 คน ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี  ซึ่งจะส่งผลเสียต่อประเทศในหลายด้าน หลายหน่วยงานจึงมีแนวทางเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา นั่นคือ ขับเคลื่อนเพื่อให้ ภาวะมีบุตรยาก เป็นสิทธิประโยชน์ในหลักประกันสุขภาพภาครัฐ โดยให้ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทยจัดทำแนวทางในครั้งนี้ นอกจากนี้  และอาจจะพิจารณาใช้พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558  หรือพ.ร.บ.อุ้มบุญ ในการสนับสนุนครอบครัวกลุ่มหลากหลายทางเพศในการมีบุตรหากมีความพร้อม

รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี
แม่เตรียมเฮ! ผลักดันสิทธิ์ รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี

รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี เพื่อลดปัญหาระดับชาติ

ศ.นพ.กำธร พฤกษนานนท์ ประธานคณะอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ราชวิทยาสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย  กล่าวว่า  การที่อัตราเกิดประชากรไทยลดต่ำ และต่ำลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะเกิดปัญหาระดับชาติขึ้น ได้แก่ ปัญหาเรื่องประชากรติดลบ ทำให้เกิดปัญหากรเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างรวดเร็ว  ปัญหาการหลั่งไหลเข้าของแรงงานข้ามชาติ เพราะไม่มีคนในประเทศทำงานต้องมีคนเข้ามาทำงานแทน ก็จะมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจและสังคมตามมา และปัญหาเรื่องไม่มีใครดูแลคนแก่แล้ว ซึ่งประเทศไทยก็กำลังเข้าสู่จุดนั้นเช่นกัน

WHO ระบุว่าภาวะมีบุตรยาก เป็นโรคชนิดหนึ่ง

ในปัจจุบัน 3 กองทุนประกันสุขภาพภาครัฐทั้งหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ยังไม่ครอบคลุมถึงสิทธิประโยชน์ในการรักษาผู้มีบุตรยากตามสิทธิหลักประกันสุขภาพภาครัฐ เพราะว่าที่ผ่านมามีความเข้าใจผิดว่าภาวะมีบุตรยาไม่ใช่โรค จึงไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้ โรงพยาบาลรัฐจึงไม่สามารถเปิดแผนกรักษาผู้มีบุตรยากได้ ทำให้คนไข้ต้องไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนแทน แต่ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า ภาวะมีบุตรยาก เป็นโรค ดังนั้น คนไข้ก็จะมีโอกาสเข้ารับการรักษาโรคได้ เป็นการเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงบริการ ถ้าหากโรงพยาบาลรัฐบาลสามารถที่จะให้บริการตรงนี้ได้ ค่าใช้จ่ายโดยรวมของคนไข้ก็จะถูกลง

ค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยาก

ค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น เรื่องของการติดตามการตกไข่ธรรมดา อยู่ที่ไม่กี่ร้อยบาท เรื่องการแก้ไขฮอร์โมนผิดปกติ หรือเนื้องอกหรือซีสต์ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น ถ้าจำเป็นต้องมีการผสมเทียม ไอยูไอ อยู่ระดับหลายพัน แต่หากจำเป็นต้องทำเด็กหลอดแก้ว อาจจะอยู่ที่หลักแสนบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นอัตราในโรงเรียนแพทย์ ไม่ใช่อัตราในโรงพยาบาลเอกชน นอกจากนี้ เนื่องจากปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีการยอมรับว่าภาวะมีบุตรยากเป็นโรค การเบิกค่ารักษาพยาบาลจึงยังเป็นปัญหา หากมีการเขียนไว้ในบัตรคนไข้นอก หรือเวชระเบียนว่าเป็นผู้มีบุตรยาก ก็ไม่สามารถเบิกค่ารักษาได้เลยค่ะ

การดำเนินการต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี

เรื่องแผนการแก้ไขเรื่องสิทธิในการรักษาผู้มีบุตรยากให้ฟรีนั้น ขณะนี้ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ฯ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมอนามัยได้ร่างแนวคิดต่าง ๆ แล้ว แต่เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องมากทั้งในแง่ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานหลักประกันสังคม (สปส.) และกรมบัญชีกลาง  จึงต้องใช้เวลาและอาจจะต้องดำเนินการเป็นช่วงระยะ ต้องวางเป็นระบบ คาดว่าต้องใช้เวลาในแก้ปัญหามากกว่า 1 ปี แผนงานนี้จึงจะสำเร็จ

เริ่มต้นสิทธิในการรักษาภาวะผู้มีบัตรยากฟรี ที่ สปสช.  

การดำเนินการในระยะแรกอาจจะเริ่มต้นที่ สปสช. สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือบัตรทองก่อน โดยจะระบุให้ชัดเจนว่า ภาวะมีบุตรยากเป็นโรคที่ต้องรับการรักษา และคนไข้คนนี้มีสิทธิที่จะเข้ารับการรักษาเหมือนกับการป่วยโรคอื่น ๆ และเมื่อมีการกำหนดในสิทธิแล้วว่าเป็นโรค โรงพยาบาลรัฐบาลจะได้เปิดหน่วย แนวทาง กระบวนการรักษาผู้มีบุตรยาก คนไข้ผู้มีบุตรยากก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงไม่ต้องไปรพ.เอกชนก็ เมื่อนำร่องในสิทธิบัตรทองแล้ว ก็จะขยายต่อไปยังสิทธิประกันสังคมและสวัสดิการข้าราชการต่อไปค่ะ

การรักษาผู้มีบุตรยากได้ฟรี ช่วยแก้ปัญหาเด็กไทยเกิดน้อยได้อย่างไร

จากตัวอย่างในต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย  พบว่าแก้ปัญหาได้จริงเพราะ

1.เป็นการสร้างความตระหนักรู้ว่ามีการให้ความสนใจและความสำคัญกับการเติบเต็มชีวิตคู่หรือครอบครัว

2.อายุเฉลี่ยของคนที่เข้าสู่กระบวนการรักษาลดลงประมาณ 5 ปี โดยอายุเฉลี่ยตอนนี้อยู่ที่ 32 ปี

ขณะที่ปัจจุบันคนไทยกว่าที่จะไปพบแพทย์เพื่อรักษาการมีบุตรยาก จะมีอายุเฉลี่ยที่ 38 ปี ซึ่งช้าไปแล้ว

ปัญหาที่ตามมาจากการพบแพทย์เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากช้า

ปัญหาที่ตามมาของการรักษาตอนอายุมาก คือ เด็กอาจจะเป็นโรคดาวน์ซินโดรม หรือผู้มีบุตรยากอาจมีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น ตกเลือด ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และท้องยาก  ซึ่งทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก แต่หากคนไข้รู้ว่ามีสิทธิที่จะรับการรักษาได้ ก็จะทำให้เข้ารับการรักษาเร็วขึ้น อายุเฉลี่ยที่จะเข้ารับการรักษาก็จะน้อยลง ปัญหาเรื่องเด็กผิดปกติ หรือพิการก็น้อยลง ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ก็น้อยลง ท้องได้ง่ายขึ้นด้วยค่ะ

รักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี
ภาวะการมีบุตรยาก

อุ้มบุญช่วยเพศหลากหลายมีลูก ต้องรอ กม. สมรสเท่าเทียม

กรณีการรักษาผู้มีบุตรยากนี้ ยังครอบคลุมแค่กับคนไข้ที่สามารถตั้งครรภ์เองได้อย่างมีคุณภาพ ในสถานพยาบาลที่ผ่านการตรวจสอบรับรองแล้ว และกรณีที่ไม่สามารถตั้งครรภ์เองได้ตามข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนทางการแพทย์ สามารถเข้าสู่ระบบเพื่อให้มีการตั้งครรภ์แทนได้

ส่วนกรณีครอบครัวหลากหลายทางเพศ ในพ.ร.บ.กำหนดไว้ว่า จะต้องดำเนินการในคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ขณะนี้เรื่องการสมรสของเพศเดียวกันในประเทศไทยยังไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จึงยังไม่เข้าตามข้อกำหนด แต่หากในอนาคตมีการปรับปรุงกฎหมายคู่สมรสว่าไม่จำเป็นต้องเป็นหญิงชายแล้ว คู่สมรสหลากหลายทางเพศก็สามารถใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ฉบับนี้ในการช่วยการมีบุตรได้

สิทธิในการรักษาผู้มีบุตรยาก ฟรี นี้ นับว่าเป็นเรื่องที่สมควรให้มีการผลักดัน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนประชากร ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อประเทศในหลาย ๆ ด้านนะคะ ท่านใดที่มีบุตรยาก อยากให้ติดตามเรื่องนี้ ทางทีมแม่ ABK จะนำข่าวคราวมาบอกหากมีความคืบหน้าค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรุงเทพธุรกิจ, MGR Online

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี ICSI

11 สาเหตุมีลูกยาก อยากมีลูก ทำไมไม่ท้องซักที?

มีบุตรยาก ชี้เป้า 15 ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก ช่วยสานฝันโอกาสให้ได้เป็นพ่อแม่สมปรารถนา

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up