ลูกในท้องโตช้า ป้องกันและรับมืออย่างไร? - Amarin Baby & Kids
ลูกในท้องโตช้า

ลูกในท้องโตช้า ป้องกันและรับมืออย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกในท้องโตช้า
ลูกในท้องโตช้า

ลูกในท้องโตช้า อันตรายแค่ไหน?

คุณแม่หลายๆ คนได้ทราบสาเหตุกันแล้วก็อาจเกิดความกังวลใจว่า ถ้าหากลูกไม่โตแบบนี้แล้ว จะส่งผลทำให้ลูกเสียชีวิตหรือไม่นั้น ก่อนอื่นเราต้องมาดูกันก่อนค่ะว่า การเจริญเติบโตช้าที่ว่านี้อยู่ในระดับใด หากไม่รุนแรงมากและแก้ไขได้ รู้ทัน รู้ไว ก็ไม่ส่งผลเสียถึงขั้นนั้นค่ะ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณแม่ทราบอยู่แล้วว่า ตัวเองมีโรคประจำตัว และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีละก็ ลูกน้อยในท้องของคุณแม่ก็สามารถกลับมาเจริญเติบโตได้ตามปกติค่ะ

แต่ถ้าหากเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้ ยกตัวอย่างเช่น ทารกมีความพิการตั้งแต่กำเนิด หรือเป็นโรคทางพันธุกรรมละก็ คงเป็นการยากที่จะทำให้ทารกมาเจริญเติบโตได้อย่างปกติ หรือในกรณีที่ลูกในท้องไม่ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ก็จะส่งผลต่ออวัยวะอื่นด้วยเช่นกัน ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ ทารกก็ผลิตปัสสาวะได้น้อย ทำให้ปริมาณปัสสาวะที่ขับออกมาเป็นน้ำคร่ำนั้นมีปริมาณน้อยลงตามไปด้วย ซึ่งหากรุนแรงมากก็อาจจะไม่มีน้ำคร่ำหลงเหลือเลยค่ะ จึงส่งผลทำให้สายสะดือถูกกดทับมากขึ้น

ลูกในท้องโตช้า
ลูกในท้องโตช้าหากรุนแรงอาจส่งผลให้ลูกน้อยพิการ ติดเชื้อ และถึงขั้นเสียชีวิตได้

นอกเหนือจากนี้ ในเวลาที่มีการหดรัดตัวของมดลูก ก็ยิ่งส่งผลทำให้ทารกขาดเลือดมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะถูกผ่าคลอดก่อนกำหนดสูงมากเลยละค่ะ เพราะหัวใจทารกนั้นเต้นผิดจังหวะ สำหรับการคลอดในอายุครรภ์ที่อ่อนมากๆ นั้น ระบบต่างๆ ในร่างกายของทารกยังไม่สามารถทำงานได้ดี จึงเสี่ยงต่อภาวะปอดไม่ขยายตัว ไม่สามารถหายใจเองได้ เมื่อคลอดออกมา ก็มีโอกาสเลือดออกในสมอง ลำไส้ขาดเลือด จะส่งผลทำให้ทารกพิการและติดเชื้อ หรือเสียชีวิตได้ค่ะ

ลูกในท้องโตช้าสังเกตอย่างไร?

เป็นเรื่องค่อนข้างยากที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะสังเกตได้ว่าลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตช้าหรือไม่ แต่ก็สามารถสังเกตได้จากขนาดท้องที่ไม่โตขึ้น ยอดของครรภ์ไม่สูงขึ้น หรือน้ำหนักตัวคุณแม่ไม่เพิ่มขึ้น

ลูกในท้องโตช้าควรคลอดธรรมชาติ หรือผ่าคลอด?

โดยทั่วไปการคลอดธรรมชาติ จะปลอดภัยกับคุณแม่มากกว่าการผ่าคลอด แต่อย่างไรก็ตามต้องดูจากลูกน้อยเป็นหลัก หากไม่มีอะไรผิดปกติก็ควรคลอดแบบธรรมชาติ เพราะเด็กทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อย จะคลอดง่าย แต่หากเด็กทารกขาดออกซิเจนเรื้อรัง หรือปริมาณน้ำคร่ำน้อย ควรใช้วิธีผ่าคลอดแบบรีบด่วนเพื่อช่วยชีวิตเด็กทารก

อ่านต่อ “ป้องกันและรับมือลูกในท้องโตช้า” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up