นับประจำเดือนบ่งบอก อาการของคนท้อง
ทีมงานจึงได้ถามต่ออีกว่า แล้วถ้าหากพบว่ามีความผิดปกติจริง จะสามารถเกิดโรคอะไรได้บ้าง เพื่อนที่เป็นหมอสูตินรีก็ได้อธิบายต่อว่า โรคที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือนที่ผิดปกตินั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1.กลุ่มที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์อันได้แก่
- การตั้งครรภ์ตามปกติ ซึ่งในระยะที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนอาจทำให้มีเลือดออกทางช่องคลอด จนทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนได้ แต่ปริมาณเลือดที่ออกมักจะน้อยกว่าปกติ
- การตั้งครรภ์นอกมดลูกจะมีอาการปวดท้องน้อยร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด หลังจากที่ประจำเดือนขาดไปแล้ว ทำให้มีโอกาสเข้าใจผิดว่าเป็นประจำเดือนได้เช่นกัน
- ภาวะแท้งทำให้มีชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ออกมาพร้อมกับเลือดออกทางช่องคลอด
2.กลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เช่น
- ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก และเนื้องอกมดลูก ส่วนใหญ่จะมีประจำเดือนตรงรอบ แต่มีเลือดออกมากและนานกว่าปกติ เนื่องจากก้อนเนื้อขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และก้อนเพิ่มพื้นที่ผิวของเยื่อบุโพรงมดลูก
- ภาวะไข่ตกผิดปกติ พบในวัยรุ่น ช่วงแรกของการเริ่มมีประจำเดือน และวัยใกล้หมดประจำเดือน โดยประจำเดือนมักมาไม่สม่ำเสมอ กะปริดกะปรอย ปริมาณแต่ละครั้งอาจน้อยหรือมากก็ได้ มักจะมีภาวะแวดล้อม อาทิ ภาวะอ้วน ความเครียด และการเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น
อายุครรภ์ นับอย่างไร?
โดยปกติแล้วการนับอายุครรภ์แบบเป็นเดือนๆ จะไม่มีความละเอียดเพียงพอ เนื่องจากในแต่ละเดือนจะมีจำนวนวันไม่เท่ากัน ดังนั้นการนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์จึงจะถูกต้องมากกว่า โดยระยะเวลาการตั้งครรภ์รวมแล้วประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน ซึ่งจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนครั้งสุดท้ายมาแล้วบวกไปอีก 280 วัน